รู้ยัง ผลวิจัยเผย กินน้ำมันปลาเยอะไป…ไม่ดี

0
818
kinyupen

ถ้าพูดถึงเรื่องการทาน “อาหารเสริม” ของคนรักสุขภาพแล้ว หนึ่งในไอเท็มที่หลายๆ คนขาดไม่ได้คือ น้ำมันปลาและน้ำมันตับปลาแน่นอน บางคนอาจคิดว่ามันเหมือนกัน แค่เรียกคล้ายๆ กัน แต่จริงๆ แล้ว น้ำมันปลาและน้ำมันตับปลาไม่เหมือนกัน วันนี้ กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต ขอชวนคนรักสุขภาพทุกท่านมาเจาะลึกถึงเรื่องนี้ด้วยกันค่ะ

ก่อนอื่นต้องมาทำความรู้จักน้ำมันปลา (Fish Oil)  และน้ำมันตับปลา Cod Liver Oil) กันก่อน

น้ำมันปลา (Fish Oil) คือ สารอาหารที่ได้รับการสกัดมาจากหนังปลา หัวปลา เนื้อปลา และหางปลา ส่วนใหญ่ได้จากปลาแมคเคอรอล ปลาแฮร์ริ่ง ปลาแอนโชวี่ ปลาทูน่า ซึ่งสารอาหารสำคัญที่ได้คือ โอเมก้า 3 (Omega-3)

ส่วนน้ำมันตับปลา (Cod Liver Oil) คือสารอาหารที่สกัดจากตับของปลาค็อด ปลาทูน่า ปลาเทราต์ ปลาแซลมอน ปลาแฮร์ริ่ง ปลาแมคเคอเรล โดยในน้ำมันตับปลาจะมี วิตามิน A และ วิตามิน D เป็นส่วนประกอบหลัก

เราคงอยากรู้ว่าประโยชน์จากการทานน้ำมันปลาและน้ำมันตับปลา จริงๆแล้ว มันช่วยอะไรเราบ้าง เราอาจจะได้คำตอบจากหมอ จากเภสัชกรที่แตกต่างกันออกไปหรืออ่านจากงานวิจัยที่มีอย่างมหาศาล ส่วนบางคนก็คงหนีไม่พ้น อากู๋ (Google) ถ้าถามอากู๋ อากู๋จะบอกว่า ประโยชน์จากการรับประทานสารจำพวก omega-3 ในน้ำมันปลา จะช่วยพัฒนาสมอง ลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ลดความดันโลหิต ป้องกันความเสี่ยงในการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดหัวใจ ลดการปวดข้อ เป็นต้น ส่วนประโยชน์จากวิตามิน A วิตามิน D จากการทานน้ำมันตับปลานั้น ช่วยบำรุงร่างกาย เสริมสร้างกระดูก บรรเทาการอักเสบและบำรุงสายตา  แต่……… !!!

ล่าสุด มีการเผยแพร่บทความผ่าน Facebook โดยนายแพทย์วรุตม์ พิสุทธินนทกุล ที่ได้ฟังการรีวิวในงาน CMCC (งานประชุมประจำปีของหมอหัวใจ) ระบุว่า…

“ก่อนอื่นให้เข้าใจก่อนว่าน้ำมันปลาที่เรากิน ๆ กันอยู่นั้นเป็นแบบ mix  คือ มีทั้ง DHA และ EPA และงานวิจัยก็มีทั้งศึกษาน้ำมันปลาแบบ mix นี้และแยกเฉพาะตัว โดยเฉพาะ EPA เราพบว่า

1.โรคหัวใจ การกินน้ำมันปลาแบบผสมไม่ช่วยอะไรเรื่องโรคหัวใจ ไม่ลดอัตราการเกิดโรคหัวใจยกเว้นกินเฉพาะ EPA ในขนาดสูงเท่านั้นถึงจะช่วย

2.ไขมันในเลือด ตามทฤษฎีแล้ว น้ำมันปลามันควรช่วยลด TG (ไขมันไตรกรีเซอไรด์) ทำให้ระดับไขมันในเลือดดีขึ้น แต่จากผลการศึกษาพบว่า เฉพาะการกิน EPA ในขนาดสูงเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่ช่วยลด TG การกินแบบ mix ไม่ช่วยอะไรเลย แถมการกินน้ำมันปลาแบบผสม คือ มีทั้ง DHA และ EPA ทำให้เกิดการเต้นผิดจังหวะของหัวใจซึ่งเป็น dose dependent คือยิ่งกินในขนาดสูง มีปริมาณสัดส่วน DHA และ EPA ยิ่งมากยิ่งเกิดการเต้นผิดจังหวะของหัวใจได้มากขึ้น

3.เรื่องโรคซึมเศร้า อันนี้ก็กลับกันกับอากู๋ คือการ suppliment น้ำมันปลาเหมือนจะเพิ่มความเสี่ยงเรื่องอารมณ์ซึมเศร้า และไม่ช่วยบำรุงสมองหรือความจำในคนสูงอายุ

4.ในหญิงมีครรภ์ นอกจากไม่ช่วยบำรุงแล้วยังเพิ่มความเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนดอีกด้วย โดยเฉพาะคนที่ไม่ขาดสารอาหารคือพอมี โอเมก้า 3 อยู่ในเลือดบ้างแล้วนั้นการกินเสริมเข้าไปอีกยิ่งเพิ่มโอกาสคลอดก่อนกำหนด

5.แต่น้ำมันปลาไม่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเลือดออกผิดปกติใด ๆ แม้ว่าจะกินคู่กับยาต้านเกล็ดเลือดหรือยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือกินเดี่ยว ๆ ก็ไม่เกี่ยวกับอาการเลือดออกผิดปกติ และหากทำการผ่าตัดคนไข้ที่กินน้ำมันปลา ก็ไม่มีความแตกต่างจากการผ่าตัดคนไข้ปกติ

6.ไม่ช่วยลดการอักเสบใด ๆ

สรุป

1.ไม่ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ แต่เพิ่มความเสี่ยงการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ

2.ไม่แก้ปัญหาเรื่องไขมันในเลือด และแทบไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ยกเว้นกินเฉพาะ EPA ในขนาดสูง

3.ไม่ช่วยเรื่องสุขภาพจิต แถมเพิ่มความเสี่ยงเรื่องซึมเศร้า

4.เพิ่มความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์

5.ไม่สัมพันธ์กับอาการเลือดออกผิดปกติใด ๆ

6.ไม่ช่วยเรื่องลดการอักเสบใด ๆ

รุปในสรุป

“จบยุค

ของการกินน้ำมันปลาเป็นอาหารเสริม”

ไม่พบประโยชน์ชัดเจน แต่มีโทษค่อนข้างชัดเจน

#ซีวีโทซอรัส #สุขภาพวันละนิด

 Note : ข้อมูลเพิ่มเติมจากหมอฝน FDA approve น้ำมันปลาใน Bipola บอกว่าลดอาการได้

ดังนั้นต้องบอกว่า ได้ประโยชน์ในคนเป็นโรค Bipola แต่ในคนปกติไม่ควรกินเพราะเพิ่มความเสี่ยงโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะคนเป็นซึมเศร้ายิ่งไม่ควรกิน ปล.topic นี้ ดราม่าชัวร์” นพ.วรุตม์ กล่าว

หลังจากที่ได้อ่านข้อมูลข้างต้นแล้ว หลายๆคนคงหันหลัง กลับไปเปิดตู้ดูกระปุกน้ำมันปลา น้ำมันตับปลาตัวเองกันบ้างแหละ สุดท้ายแล้วก็อยู่ที่ดุลยพินิจของแต่ละท่าน รวมถึงจากประสบการณ์ที่ผ่านมา อาจช่วยให้เราได้ตระหนักคิดมากขึ้นว่าได้กับเสียอะไรมีมากกว่ากัน สิ่งที่ผู้เขียนสามารถแนะนำได้ดีที่สุดคือ การบริโภคอาหารให้ครบ 5  หมู่ตามหลักโภชนาการ หรือเน้นทานปลาอย่างน้อยอาทิตย์ละ 2  ครั้ง รวมถึงการพักผ่อนแบบเพียงพอและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นี่แหละคือ “อายุวัฒนะ” ของแท้และแน่นอน

ขอบคุณข้อมูลจาก Facebook นพ.วรุตม์ พิสุทธินนทกุล : https://bit.ly/3qSl3rh

kinyupen

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here