ธอส.ท็อปฟอร์มคะแนนปรี๊ด อันดับหนึ่งในกลุ่มรัฐวิสาหกิจ 6 ปีรวด

0
523
kinyupen

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ประกาศผลประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565  ผลปรากฏว่า ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้ 99.92 คะแนน สูงสุดตั้งแต่เข้าร่วมประเมิน และ สูงที่สุดอันดับ 1 ในกลุ่มรัฐวิสาหกิจต่อเนื่องเป็นปีที่ 6

สะท้อนการเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐชั้นนำของประเทศไทยที่มีมาตรฐานการบริหารจัดการและการดำเนินงานในทุกมิติที่มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส และเป็นธรรม พัฒนาองค์กรให้มีความเข้มแข็ง และสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ประชาชน และบุคลากรภายในองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง

นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธอส. เปิดเผยว่า นับเป็นเกียรติและความภาคภูมิใจของธนาคาร ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่มีพันธกิจ “ทำให้คนไทยมีบ้าน” สะท้อนการเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินชั้นนำของประเทศไทยที่มีมาตรฐานการบริหารจัดการและการดำเนินงานในทุกมิติได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล มีความโปร่งใส และเป็นธรรม

ซึ่งเป็นผลมาจากการร่วมมือกันของคณะกรรมการธนาคาร ผู้บริหารระดับสูง พนักงานและผู้ปฏิบัติงานทั้งองค์กรมากกว่า 5,000 คน รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ทุกกลุ่ม

อาทิ ลูกค้า พันธมิตรทางธุรกิจ คู่ความร่วมมือ ผู้ให้บริการภายนอก สังคมและชุมชน สื่อมวลชน และหน่วยงานกำกับฯ ที่มีความมั่นใจและให้การยอมรับว่า ธอส. ดำเนินงานอย่างมีคุณธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ และถือเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน

สำหรับปัจจัยแห่งความสำเร็จของ ธอส. มีทั้งสิ้น 8 Key Success Factors ประกอบด้วย

1.Leadership ผู้นำมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน บริหารงานอย่างมีธรรมมาภิบาล เปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ

2.Employee Awareness &  Engagement สร้างการรับรู้ และเพิ่มขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดวัฒนธรรมการทำงานด้วยความทุ่มเท ด้วยความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีความรักและผูกพันต่อองค์กร เพื่อให้องค์กรเจริญก้าวหน้า

3.Digitized Communication การสื่อสารแบบดิจิทัลที่มีความรวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์ เหมาะกับสถานการณ์ COVID-19 โดยเน้นการสื่อสารแบบสองทาง เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบทิศทาง นโยบายต่าง ๆ ของธนาคาร และปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน

4.Participation ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มของธนาคารมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.Technology นำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนการการทำงาน รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ ให้สอดรับกับยุค New Normal ทำให้เกิดความรวดเร็ว คล่องตัว และลดขั้นตอนการทำงาน

6.Learning เรียนรู้จากผลการประเมินในปีที่ผ่านมา โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน และทันต่อสถานการณ์ โดยนำหลักการของ 3 Lines of Defense มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานที่ทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงาน มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้

7.Agility ปรับตัวและตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว สร้าง Mindset ใหม่เพื่อให้เกิดการทำงานที่รวดเร็ว และคล่องตัว ลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น ส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วม นำเสนอความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ เพื่อสร้างความตระหนักให้ทุกคนในองค์กรรู้ว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ธนาคารประสบความสำเร็จ

8.Resilience ความสามารถในการรับมือกับผลกระทบจากปัญหาหรือวิกฤติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การแพร่รระบาดของ COVID-19 แต่ธนาคารสามารถก้าวผ่านวิกฤติได้ดีและรวดเร็วด้วยผู้นำองค์กร ผู้บริหารระดับสูง และผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ ที่พร้อมรับมือกับปัญหา และหาโอกาสใหม่ในระหว่างเกิดวิกฤติ หรือหลังวิกฤติ รวมถึงความมีประสิทธิภาพของระบบการปฏิบัติงาน ที่ทำให้ธนาคารสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง

kinyupen

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here