“แน่นอกเหรอ กรี๊ดสิคะ” รู้หรือไม่กรีดร้องดังๆ แก้เครียดได้ดีมาก

0
1114
kinyupen

เคยไหม เครียด อึกอัด อยากกรี๊ดออกมาดังๆ แต่ทำไม่ได้ ต้องกดอารมณ์ตัวเองไว้ใจจะขาด

ไม่ผิดเลยถ้าคุณจะโกรธ ความโกรธเป็นเรื่องธรรมชาติ แม้แต่หิวข้าวก็ทำให้โกรธได้ วันนี้กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตมาชวนคนที่กำลังแน่นอกมากรี๊ดระบายอารมณ์กันค่ะ

ข้อดีบำบัดความเครียดด้วยการ “กรี๊ด”

รู้ไหม? การกรี๊ดมีข้อดีกว่าที่คิด เพราะการวิจัยเผยว่าการกรีดร้องสามารถลดความเครียดลงได้

1. แก้อาการเก็บกด อดทนอดกลั้นเอาความเจ็บปวดชอกช้ำในอดีตไว้ในจิตใจ ไม่แสดงออกให้ใครรู้

2. ช่วยให้คุณใจเย็นลง และไม่ทำอะไรให้เกิดเหตุแตกหักกับคนรอบข้าง ดีกว่าการทำลายข้าวของ หรือพาลใส่ผู้อื่น (พยายามอย่าให้คนรอบข้างตกใจ)

3. ช่วยปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึกที่อยู่ในใจได้ รวบรวมความหงุดหงิดทั้งหมดออกมา แล้วปล่อยมันไปด้วยเสียงกรีดร้องด้วยพลังเสียงอันดังไปเลย

4. Dr. Peter Calafiura กล่าวว่า “การตะโกนอาจทำให้สารเอนดอร์ฟินในร่างกายสูงขึ้นตามธรรมชาติ ทำให้ผู้ที่ได้ตะโกนออกมารู้สึกสงบลง (และอาจทำให้เสพติดได้เล็กน้อย) คล้ายกับการหลั่งสารเอนดอร์ฟินในนักกีฬา พวกเขาจะได้ผลลัพธ์เดียวกัน แต่ในลักษณะที่ต่างออกไป”

แต่ถ้าคุณตกอยู่ในสถานการณ์อยากกรี๊ดแต่กรี๊ดไม่ได้ เพราะไม่มีที่เหมาะและไม่อยากทำเสียงรบกวนชาวบ้าน แล้วจะหาทางปลดปล่อยอย่างไรดีล่ะ? แทนที่จะกรี๊ดจนสุดปอด แล้วโดนเพื่อนบ้านโจรแจ้งตำรวจมาจับข้อหาก่อกวนล่ะก็…เรามีทางออกมาฝากค่ะ

อยากกรี๊ดใจจะขาด แต่ทำไม่ได้ แก้ยังไง

1. ลอง “กรี๊ดใส่หมอน” หรือใช้สิ่งที่เรียกว่า “The Scream Box” มันคือกล่องที่มีโฟมดูดซับคลื่นเสียงและลดเสียงรบกวนได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์

2. ระงับโกรธด้วยการหายใจ-ออกช้าๆ โดยเวลาหายใจเข้าให้นับ 1 ถึง 4 เวลาหายใจออกให้นับ 1 ถึง 6 ค่อยๆ ทำแบบช้าๆ ความเดือดของอารมณ์ก็จะลดน้อยลง

3. อธิษฐานตามความเชื่อของศาสนาของแต่ละคน เพื่อหวังว่าให้เรื่องที่เกิดขึ้นผ่านไปได้ด้วยดี ได้รับเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้า

“การกรีดร้อง” เพียงเป็นการแก้ปัญหาทางจิตใจได้แค่ชั่วคราว เป็นการปลดปล่อยอารมณ์ในระยะสั้นเท่านั้น เพราะหากไม่ได้กำจัดตั้งแต่ต้นตอ คุณก็สามารถหัวร้อนอีกครั้งได้อยู่ดี ไม่จบไม่สิ้น

ฉะนั้น เมื่อคุณแน่นอกอยากระเบิดอารมณ์ขึ้นมา อย่าลังเลที่จะกรี๊ด หาที่เหมาะๆ แล้วว้ากกก ให้เรื่องราวแสนบัดซบนี้ไปเลย เมื่อรู้สึกสบายใจขึ้นแล้วค่อยไปเผชิญหน้ากับปัญหานั้นๆ แก้ต้นต่อที่ทำให้เราหัวร้อนกันดีกว่า อย่าปล่อยให้เครียดแล้วค่อยมาระบายซ้ำๆ ควรหาทางรับมือที่เหมาะสม เพื่อผลดีต่อสุขภาพระยะยาวค่ะ

ที่มา : Tonkit360

kinyupen

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here