7 วิธีห่างไกลโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

0
877
kinyupen

ปัจจุบันพชีวิตประจำวันก็ไม่เอื้อต่อการขยับร่างกาย นิยมรับประทานอาหารไขมันสูงมากขึ้น ทำให้เสี่ยงมีไขมันสะสมในเส้นเลือด จนเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันขึ้นได้

 

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary artery disease :CAD) หรือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Heart Attack)

เกิดจากหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจมีการตีบแคบลง เพราะมีคราบไขมันและหินปูน เกาะภายในผนังหลอดเลือด ทำให้ปริมาณเลือดไหลผ่านไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอกับความต้องการ

 

สัญญาณเตือนโรคหัวใจตีบตัน

  • เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก เหมือนมีของหนัก ๆ มาทับอยู่บางครั้งอาจปวดร้าวลามไปถึงแขนซ้าย
  • เหนื่อยง่าย โดยเฉพาะเวลาออกกำลังกาย ออกแรงมากไม่ค่อยได้
  • มีภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันและเรื้อรัง

**ผู้ป่วยบางราย อาจไม่แสดงอาการ จึงควรเข้ารับการตรวจสมรรถภาพหัวใจ เพื่อหาสัญญาณที่อาจก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

 

หลอดเลือดหัวใจตีบ จึงถือภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตมี 7 วิธีห่างไกลโรคหัวใจตีบ จาก นพ.พิษณุ เกิดสินธ์ชัย อายุรศาสตร์แพทย์โรคหัวใจโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มาฝาก

 

ปรับพฤติกรรม ห่างไกลโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบป้องกันได้ด้วยการปรับพฤติกรรมเหล่านี้ ฝึกทำให้เป็นนิสัยไปจนตลอดชีวิต สำหรับสุขภาพหัวใจที่ดีในในอนาคต

 

 

1. เลิกสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงการรับควันบุหรี่มือสอง ควันบุหรี่มีสารนิโคตินและคาร์บอนมอนอกไซด์ที่ส่งผลให้หัวใจทำงานหนัก หากเลิกบุหรี่ได้ สามารถลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ถึงร้อยละ 36 เมื่อเทียบกับผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อ

 

2. เลือกรับประทานอาหาร เลือกอาหารที่มีไขมันดีสูง เช่น น้ำมันมะกอก ปลา และอาหารกากใยสูง มีส่วนช่วยบำรุงหัวใจ หมั่นหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันชนิดไม่ดี เช่น เนยเทียม ไขมันสัตว์ น้ำมันปาล์ม รวมทั้งอาหารที่มีเกลือและน้ำตาลสูง

 

3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ออกกำลังกายระดับปานกลาง เช่น เดิน ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือออกกำลังกายอย่างหนัก 75 นาทีต่อสัปดาห์อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้หัวใจแข็งแรง นอกจากนี้การออกกำลังกายที่ทำให้ หัวใจเต้นเร็วขึ้นอย่างต่อเนื่อง 10 – 15 นาที รวมอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมงก็ช่วยให้หัวใจแข็งแรงได้

 

4. เช็กดัชนีมวลกาย คุมน้ำหนักให้เข้าเกณฑ์ โดยควรมีดัชนีมวลกาย (BMI) ไม่เกิน 23 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

 

5. จัดการความเครียด เลือกทำกิจกรรมที่ชื่นชอบและเพลิดเพลินเพื่อพักผ่อน อาจเป็นการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวและเพื่อน

 

6. หลีกเลี่ยงมลภาวะจากฝุ่น PM 2.5 เช็กค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) และป้องกันด้วยการสวมใส่หน้ากากอนามัยที่มีประสิทธิภาพป้องกัน PM 2.5 เมื่อพบค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน

 

7. ควรตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำ โดยการตรวจเลือด น้ำตาล ไขมันในเลือด และตรวจสมรรถภาพหัวใจโดยการเดินวิ่งบนสายพานเป็นประจำ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

 

นพ.พิษณุ เกิดสินธ์ชัย. (2565, มกราคม – มีนาคม) . “หลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม,” Delight Magazine. 21 (1) : 42–44

 

kinyupen