รู้จัก Long Covid เจ็บแต่ไม่จบแม้หายป่วยแล้ว

0
834
kinyupen

อย่าชะล่าใจ! ใครที่คิดว่าถึงติดโควิด-19 ก็ไม่เป็นไร เพราะเดี๋ยวรักษาก็หายแล้ว คงต้องตายใจ เพราะมันอาจ “เจ็บ แต่ไม่จบ”

มีผลวิจัยมากมายจากต่างประเทศว่าอดีตผู้ป่วยโควิด-19 บางคน เชื้อโควิดหายจากร่างกายไปแล้ว แต่บางอาการกลับไม่หายไปด้วย ยังคงต้องเผชิญกับอาการที่หลงเหลืออยู่

 

กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตพาคุณไปทำความรู้จักกับ Long Covid ภาวะที่ก่อผลกระทบทางร่างกายและจิตใจแม้หายป่วยแล้ว

 

 

รู้จักกับลองโควิด หายจากโควิด แต่ยังไม่จบ

โพสต์โควิด (Post Covid 19 Condition) หรือ ลองโควิด (Long Covid) เป็นภาวะหรืออาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโควิด-19 ต้องเผชิญกับอาการต่างๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน ไม่มีลักษณะตายตัว

 

และอาการจะสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย ตั้งแต่ระบบหายใจ ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร หัวใจและหลอดเลือด ทำให้ผู้ที่หายป่วยบางรายยังไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ปกติเหมือนเดิม

 

ซึ่งอาการลองโควิดมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30-50% จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรง

 

บีบีซี อ้างข้อมูลของสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติของอังกฤษ (National Health Service: NHS) รายงานว่า Long Covid เป็นอาการเรื้อรังที่เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนานกว่า 12 สัปดาห์ มักพบในผู้ป่วยอายุระหว่าง 35-49 ปี และอายุระหว่าง 50-69 ปี ร้อยละ 20 ผู้ป่วยจะเข้าข่ายนี้ หลังจากรับเชื้อไปแล้ว 5 สัปดาห์

 

อาการที่พบบ่อยของ Long Covid

อาการที่แสดงออกทางกาย

  • หายใจลำบาก
  • หายใจไม่อิ่ม
  • หายใจถี่
  • ไอ
  • ปวดศีรษะ
  • เหนื่อยล้าอ่อนเพลีย
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ผมร่วง
  • ความดันโลหิตสูง
  • การรับรสชาติและการรับกลิ่นเปลี่ยนไป
  • เจ็บหน้าอก
  • ปวดตามข้อ
  • ท้องร่วง

 

อาการทางสมอง หรือ จิตใจ

  • สมาธิสั้น
  • มีภาวะสมองล้า
  • วิตกกังวล
  • ซึมเศร้า
  • นอนไม่หลับ

 

 

Nature Medicine ฉบับ 17 ม.ค.2565 ลงบทความ Nolen LT และคุณสรุปภาพรวมของผลกระทบของการติดเชื้อโควิด-19 ต่ออาการทางระบบประสาท

 

พบว่า ผู้ติดเชื้อจะเกิดอาการทางระบบประสาทได้ตั้งแต่ตอนระยะเฉียบพลัน และระยะกึ่งเฉียบพลันได้ถึง 35 – 85% นอกจากนี้ยังเกิดปัญหาในระยะยาว มีอาการคงค้าง หรือ ภาวะ Long Covid ได้หลากหลายอาการ

 

 

กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นภาวะ Long Covid

  • ผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด-19 และมีภาวะปอดอักเสบรุนแรง
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว
  • ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วน
  • เพศหญิงมีความเสี่ยงกว่าเพศชาย

 

ปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดที่ทำให้เกิดภาวะโพสต์โควิด หรือลองโควิด ซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติกับร่างกายและจิตใจของผู้ที่หายจากโควิด-19 ดังกล่าว

 

แพทย์จึงแนะนำให้สังเกตตัวเองอย่างละเอียด ประเมินร่างกายตนเองอยู่เสมอ และฟื้นฟูร่างกายอย่างถูกต้อง หากมีอาการที่รบกวนการใช้ชีวิตต้องรีบพบแพทย์เพื่อรักษาทันที อย่าปล่อยทิ้งไว้จนเรื้อรังเป็นภาวะแทรกซ้อน

 

กินอยู่เป็นขอขอบคุณข้อมูลจาก

 

kinyupen