7 พฤติกรรมทำลายสมอง

0
603
kinyupen

เคยไหม? วันหนึ่งรู้สึกเบลอ คิดอะไรไม่ลื่นไหลเท่าเมื่อก่อน กลายเป็นคนขี้หลงขี้ลืม ความจำสั้น อ๋องๆ เสียแล้ว

คิดอะไรไม่ออก จำอะไรไม่ได้ หลงๆ ลืมๆ เราดูแลตัวเองไม่ดีตรงไหน? มีวิธีอะไรบ้างที่จะทำให้สมองกลับมาสดใสได้เหมือนเดิม กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตชวนคุณเช็กลิสต์พฤติกรรมทำลายสมองกัน ว่าสิ่งปกติเหล่านี้แหละ เราทำมันซ้ำๆ เป็นประจำแล้วทำร้ายสมองของเราโดยไม่รู้ตัว

 

 

1. ไม่ได้ใช้สมอง

สิ่งหนึ่งที่ทำร้ายสมองของเรา คือการไม่ใช้มันเลย การทิ้งเวลาไปกับหน้าจอทีวี ไถเล่นโซเชียลมีเดียก็ถือว่าเข้าข่าย

แต่ไม่ได้หมายความว่าดูภาพยนตร์ ดูทีวี เป็นสิ่งที่ไม่ดี แต่ควรแบ่งเวลา หรือฝึกวิเคราะห์ คิดภาพตามตัวละครในเรื่องไปด้วย เพื่อฝึกสมองไปอีกทาง

 

สมองของคุณเหมือนกล้ามเนื้อ ถ้าคุณไม่ได้ใช้คุณจะสูญเสียมัน มันต้องใช้ สมองถึงจะฟิต

 

สิ่งที่ตรงข้ามกับการไม่ใช่สมองคือ “ฝึกสมอง” การเล่นเกมปริศนา พวกครอสเวิร์ด การเรียนภาษาใหม่ๆ การอ่านหนังสือ กระบวนการที่ทำให้คุณฝึกสมองพวกนี้ คือ Brain exercise ทั้งสิ้น

 

 

2. ใช้สมาร์ตโฟน แล็ปท็อป แท็บเล็ต เยอะเกินไป

มีการตีพิมพ์งานวิจัยว่า การใช้หน้าจอมากเกินไป มีความเชื่อมโยงกับอาการซึมเศร้า ซึ่งไม่น่าแปลกใจเพราะเนื้อหาส่วนใหญ่ที่เราพบเจอในโลกออนไลน์มักเป็นดราม่า เป็นพลังลบ จึงเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตของเรา ส่งผลเสียต่อความคิดของเรา

 

การดูโทรศัพท์มือถือ แล็ปท็อป แท็บเล็ตมากเกินไปยังผลกระทบอื่นๆ อีกคือ ส่งผลเสียต่อดวงตา และเสี่ยงออฟฟิศซินโดรม

 

 

3. นั่งมากเกินไป

อย่านั่งนานๆ อย่างน้อยที่สุดให้ลุกบ้าง เดินบ้าง อาจเปลี่ยนจากโต๊ะทำงานที่เป็นแบบนั่งให้เป็นโต๊ะยืน

แม้การนั่งจะดูเป็นการใช้ชีวิตที่ดูธรรมชาติ แต่เรามักจะลืมไปว่ามนุษย์ถูกสร้างขึ้นเพื่อยืนตรงและเคลื่อนไหว การนั่งนานๆ ทำให้เสี่ยงโรคหัวใจโรคอ้วน ภาวะซึมเศร้าหรือภาวะสมองเสื่อม

 

ไม่ผิดหรอก หากวันพักผ่อนเราจะหยุดพักและเอนกายบนโซฟาที่เรารัก แต่อย่าให้ชีวิตประจำวันแบบนี้ทำร้ายเรา ควรลุกทุก 50 นาที ถ้านึกไม่ออกว่าจะลุกไปทำอะไร ให้ลุกไปดื่มน้ำ ดีต่อสุขภาพ แถมได้เดินด้วย

 

อ่านบทความ แก้ออฟฟิศซินโดรม ด้วย 10 วิธีหาเรื่องยืดเส้นยืดสายระหว่างทำงาน – Kinyupen

 

 

4. กินน้ำตาลมาก

เฟอร์นันโดโกเมส Pinilla ศาสตราจารย์ด้านศัลยกรรมประสาทที่ UCLA วิจัยมาแล้วว่าสิ่งที่เรารับประทานเข้าไป มีผลต่อวิธีคิดของคุณ

แม้ร่างกายเราจะมีพื้นที่สมองเพียง 2% ของน้ำหนักตัว แต่มันใช้พลังงานถึง 20% เลย! อะไรที่สมองไม่ชอบแล้วเรากินเข้าไปก็ทำให้สมองแย่ไปด้วย นั่นเป็นเหตุผลที่อาหารที่คุณบริโภคมีผลต่อความคิดและการตัดสินใจของคุณอย่างมาก

 

และการวิจัยยังพิสูจน์ให้เห็นว่า อาหารที่มีน้ำตาลสูงชะลอสมองของเรา ขัดขวางความจำและการเรียนรู้ พูดง่ายๆ คือสมองจะมึนๆ และกลายเป็นคนที่ความจำไม่ดี

 

ส่วนใหญ่ความอยากน้ำตาลเป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติต่อความเครียด ทันทีที่เราถูกความเครียดเข้าครอบงำ จะรู้สึกต้องการพลังงานมากขึ้น และวิธีที่ง่ายที่สุดคือการกินของหวานๆ แม้ของหวานจะแก้เครียดได้ดี แต่ดันส่งผลร้ายต่อสมอง และรอบเอวของเราเสียนี่

 

 

5. มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมน้อย

จากการศึกษาของ Harvard ของการพัฒนาผู้ใหญ่ความสัมพันธ์ที่ดีทำให้เรามีความสุขและมีสุขภาพดี คนที่ไม่ได้อยู่ในวงสังคมที่มีคุณภาพดี อาจไม่ดีต่อสมอง อาจทำให้คุณป่วยได้ด้วย

แต่ปัญหาคือสังคมยุคใหม่ ในเรื่องความสัมพันธ์กับเพื่อน เรามักแก้ปัญหาด้วยจำนวนเพื่อนใน Facebook หรือคนที่ถูกใจสตอรี่ Instagram ของเรา แต่เพื่อนที่ช่วยให้เราหายเหงาได้จริงๆ ไม่ใช่เพื่อนที่มีใน Facebook 5,000 คน นั่นเป็นเพียงคนที่รู้จักกันอย่างผิวเผิน

 

การศึกษาในปี 2007 โดยมหาวิทยาลัยมิชิแกนพบว่า การสนทนาแบบตัวต่อตัวเพียงสิบนาทีต่อวัน ก็สามารถปรับปรุงหน่วยความจำและความรู้ความเข้าใจได้ การเข้าสังคมมีประสิทธิภาพเท่ากับการออกกำลังกายทางจิตแบบดั้งเดิม

 

 

6. นอนไม่พอ

คุณได้นอนเต็มอิ่มครั้งสุดท้ายเมื่อไร?

หลายคนมองว่าการนอนเป็นความขี้เกียจ ทำให้เสียเวลาทำงานและพัฒนาตัวเอง ทำให้ตัดสินใจที่จะลดเวลานอนหลับ แต่การนอนหลับที่ไม่เพียงพอ ส่งผลร้ายโดยตรงต่อเซลล์สมอง เสี่ยงภาวะสมองเสื่อม ทั้งยังส่งผลกระทบต่ออารมณ์และสุขภาพจิต

 

อาการที่มาจากการนอนน้อยไม่ได้มีแค่ความง่วง บางคนไม่ง่วงแต่โฟกัสไม่ได้ ไม่มีสมาธิ หิวเกินไป อารมณ์เสียง่าย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้

 

อ่านบทความ นอน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น – Kinyupen

 

 

7. ใช้หูฟังเปิดเสียงดังเกินไป

การใช้หูฟังมันใกล้สมองของเรามาก การวิจัยพิสูจน์ให้เห็นว่าการสูญเสียการได้ยินเชื่อมโยงกับปัญหาสมองและการลดลงทางปัญญา และเสียงเพลง (หรือเสียงรบกวนประเภทอื่นๆ) ที่ดังนาน 30 นาที ก็เพียงพอที่จะทำลายระบบการได้ยินของคุณอย่างถาวร

ใช้หูฟังได้ แต่ควรระวังระดับ Volume ลดความดังของเสียงลงหน่อย อย่าปล่อยให้เพลงทำลายสมองของคุณ

 

 

7 นิสัยเหล่านี้ ทำร้ายสมองได้ในระยะยาว ใครที่รู้ตัวว่าทำแบบนี้ให้ปรับพฤติกรรมและเริ่มรีสตาร์ทตัวเองเสียใหม่ เปลี่ยนชีวิตประจำวันเพื่อดูแลสมองให้สดใสอยู่เสมอ ด้วยความปรารถนาดีจาก กินอยู่เป็น

 

 

ขอขอบคุณที่มาจาก

kinyupen