ไทยจะเจออะไร หลังจบคนละครึ่ง-เราชนะ-เรารักกัน

0
692
kinyupen

ช่วงนี้เราจะเห็นตลาดและคนจับจ่ายใช้สอยกันอย่างคึกคัก ด้วยมาตรการเยียวยาต่างๆ ที่รัฐดำเนินการหวังกระตุ้นเศรษฐกิจหลังประเทศไทยเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นคนละครึ่ง เราชนะ หรือ ม.33 เรารักกัน แม้จะเป็นเพียงระยะเวลาชั่วคราว ก็ถือว่าช่วยเรื่องปากท้องคนไทยได้ในระดับหนึ่ง

 

ซึ่งมาตรการเยียวยาเหล่านี้จะหมดลงประมาณสิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 ซึ่งโควิด-19 คงเริ่มซาลงพอดี กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตอยากให้คุณเตรียมตัวเตรียมใจกับสิ่งที่จะตามมา

 

สิ่งที่หลายคนคิดถึงก่อน “เงินเฟ้อ” มาแน่ แต่หนักกว่านั้นคือ “วิกฤตราคาอาหาร”

 

ภาวะเงินเฟ้อคืออะไร?

ภาวะเงินเฟ้อ เป็นภาวะเศรษฐกิจที่ระดับราคาสินค้าและบริการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรืออธิบายง่ายๆ ก็คือ เมื่อก่อนเงิน 20 บาท เราสามารถทานบะหมี่ได้ 1 ชาม แต่ปัจจุบันเงิน 20 บาท ไม่สามารถซื้อบะหมี่แบบที่เคยรับประทานได้แล้วนั่นเอง แล้วในอนาคตราคาอาจจะปรับสูงขึ้นกว่าเดิมอีกก็เป็นไปได้

 

สรุปก็คือ สินค้ามันราคาแพงขึ้นจากหลายๆ ปัจจัยของเศรษฐกิจส่งผลให้ต้นทุนของสินค้าต้องปรับตัวสูงขึ้น และก็เป็นผลให้ราคาสินค้าแพงขึ้นเช่นเดียวกัน

 

อ่าน 10 ปีที่ผ่านมา “เงินเฟ้อ” ส่งผลต่อราคาสินค้าอย่างไรบ้าง – Kinyupen

 

อย่างที่เรารู้กัน เมื่อป้าขายอาหารตามสั่งขึ้นราคาแล้ว ก็คือขึ้นราคาเลย ไม่มีการปรับลดราคาลงตามสภาพเศรษฐกิจทั้งสิ้น

น้ำมันยังมีขึ้น มีลง แต่อาหารตามสั่ง ขึ้นแล้วขึ้นเลย ให้ไก่จะราคาถูก น้ำตาลจะราคาลง ป้าก็ยังไม่ลดราคา เพิ่มขึ้นได้อย่างเดียว

ถ้าเงินเฟ้อยังคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 2% 3% แต่เวลาค่าอาหารขึ้น คือขึ้นทีละ 5 บาท 10 บาท

ลองนึกภาพ เดิมข้าวจานละ 50 บาท ตอนนี้ราคาขึ้นเป็น 55

ฮั่นแน่ แพงขึ้น 10% แล้วนะ!!

 

ข้าวผัดปูจานละ 80 บาท อาจราคาขึ้นไปถึง 150 ก็เป็นได้

 

ประเด็นคือส่วนของค่าอาหารเราสามารถซื้อถูกลงได้ อย่างแย่ที่สุดคือกินแต่มาม่า แต่เราไม่สามารถตัดส่วนนี้ทิ้งได้ เพราะมนุษย์ต้องกิน กิน กิน

 

เราจะสังเกตหลายร้าน รวมทั้งร้านขายของชำ มีการถือโอกาสขึ้นราคาของหน้าตาเฉย แต่ผู้บริโภคไม่รู้ตัวเลย

เพราะเราซื้อมาฟรี / เพราะเราจ่ายครึ่งเดียวไง เลยไม่รู้สึกว่าราคาแพง!!

 

พฤติกรรมการใช้เงินของหลายๆ คนเปลี่ยนไป

เราพยายามใช้ให้มันหมดๆ ไม่มีความจำเป็นก็ซื้อตุน อยากได้อะไร อยากกินอะไรก็ซื้อ ไม่คิดมาก แถมยังหละหลวมเรื่องวางแผนค่าใช้จ่าย

เพราะมันฟรีอยู่แล้วนี่!! มันไม่ใช่เงินฉัน แต่ความจริงแล้วมันคือเงินเรานั่นแหละ

 

เราจะค่อยๆ เปลี่ยนนิสัยได้ตามทฤษฎี 21 วัน หากทำอะไรซ้ำๆ

แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ถ้า 21 วันนั้นคนไทยล้วนใช้เงินสุรุ่ยสุร่ายทุกวัน..

 

ดังนั้นทางที่ดีควรคิดถึงอนาคตที่ข้าวของจะราคาแพงขึ้น ค่าครองชีพสูงขึ้น และจงใช้จ่ายอย่างมีสติ ไม่ว่าเงินนั้นจะได้รับความช่วยเหลือจากไหนก็ตาม ด้วยความปรารถนาดีจาก กินอยู่เป็น

kinyupen