เรื่องน่ารู้ก่อนซื้อมอเตอร์ไซค์

0
480
kinyupen

ในยุคที่เศรษฐกิจฝืดเคือง ผู้คนต้องประหยัด และมอเตอร์ไซค์ กลายมาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการหาเลี้ยงชีพ กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตมีข้อแนะนำก่อนซื้อมอร์เตอร์ไซค์จากโครงการขับเคลื่อนสังคมไทยสู่จักรยานยนต์ปลอดภัย สสส. มาฝาก

โดยโครงการนี้ไม่ได้มาเล่นๆ เขาได้ร่วมมือกับทีมช่างเชี่ยว ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งการขับขี่ ซ่อมและสะสมมอเตอร์ไซค์ เพื่อแนะนำเทคนิคในการเลือกซื้อมอเตอร์ไซค์ทั้งมือหนึ่งและมือสอง ให้มีความปลอดภัยที่สุด ดังนี้

 

ข้อแนะนำในการเลือกซื้อมอเตอร์ไซค์ (มือสอง)

ก่อนซื้อ

  1. ต้องผ่านการเรียนรู้และฝึกอบรมการขับขี่จากกรมการขนส่งทางบก หรือ สถาบันที่ขนส่งรับรอง ที่ตระหนักถึงลักษณะของการเกิดอุบัติเหตุและความปลอดภัยในการขับขี่ และ ได้ใบขับขี่จากการสอบจริงก่อนซื้อรถ

 

  1. คนขับขี่ต้องทราบสมรรถนะของรถมอเตอร์ไซค์ ระยะปลอดภัย การเบรก และวิธีการควบคุมมอเตอร์ไซค์คันนั้น จากการศึกษาและควรทดลองขับขี่ ให้ทราบถึง ระยะเบรก การควบคุมคันเร่งในส่วนต่างๆของโค้ง หรือ การเอียงลำตัวเพื่อไม่ให้เกิดการหลุดโค้ง

 

  1. หาซื้อหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐาน มอก. 369-2557 ไว้เลย หมวกเต็มหน้าแบบเก็บคางด้วยดีกว่าเต็มใบโดยเฉพาะรถแบบผู้ชาย 150 cc ขึ้นไป รถครอบครัวขับไม่เร็วใช้หมวกเต็มใบเปิดหน้าก็พอที่จะลดความรุนแรงลงได้ เต็มใบดีกว่าครึ่งใบ (ยกเว้นในเด็ก 2-4 ขวบ กล้ามเนื้อคอยังไม่แข็งแรงจะเมื่อยคอ ควรเริ่มแบบครึ่งใบก่อน) หมวกทุกแบบเน้นต้องคาดสายรัดให้กระชับคาง หิ้วหมวกไปวันซื้อเผื่อใส่ขี่กลับด้วย แต่ร้านควรแถมหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐาน มอก. ให้ 2 ใบ

 

 

ขณะซื้อ

  1. ควรอ่านข้อแนะนำในการเลือกซื้อมอเตอร์ไซค์ใหม่ ของโครงการขับเคลื่อนสังคมไทยสู่จักรยานยนต์ปลอดภัย ก่อนด้วย
  2. ตรวจสอบคู่มือจดทะเบียนรถว่าเป็นเจ้าของรถที่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ตามกฎหมายและไม่เคยแก้ไขดัดแปลงอุปกรณ์ส่วนควบมาก่อน ตรวจเลขตัวถังและเลขเครื่องยนต์ว่าตรงตามคู่มือจดทะเบียน
  3. ตรวจสอบโครงสร้างตัวรถต้องไม่เป็นสนิม ไม่บิดงอเสียรูป ไม่มีการเชื่อม ซ่อมโครงสร้าง
  4. ล้อรถควรมีขนาดเดิมตรงตามคู่มือ
  5. อายุยางไม่เกิน 3 ปี เนื้อยางยืดหยุ่นไม่แข็งตัว ไม่แตกลาย มีร่องดอกยาง เนื่องจากถ้ายางเก่าหมดอายุในการเกาะถนน แรงดันลมยางตามโรงงานกำหนด
  6. ควรเช็คระยะกดแรงเบรกมือหรือเท้า และไม่ควรมีเสียงในขณะทำงาน
  7. น้ำมันเบรกไม่รั่วซึมและทำงานได้ปกติ
  8. เครื่องยนต์ ระบบเชื้อเพลิง และน้ำมันหล่อลื่นไม่รั่วซึม
  9. ระบบควบคุมบังคับเลี้ยวต้องไม่หลวมหรือคลอนในขณะขับขี่ทุกย่านความเร็วที่ใช้งาน
  10. ระบบเสียง แตร ไฟหน้า ไฟเบรก ไฟเลี้ยวทำงานได้ปกติ
  11. กระจกมองหลังต้องเห็นชัดเจนในขณะเปลี่ยนเลน
  12. โช้คอัพหน้าและหลังไม่รั่วซึม สามารถยุบตัวและคืนตัวได้ตามปกติ
  13. ชุดข้อต่อของระบบพ่วงข้าง ต้องแน่นหนาไม่หลุดในขณะใช้งาน
  14. สวมหมวกนิรภัยทุกครั้งที่ล้อหมุน ใส่เสื้อผ้าแขนยาวขายาว ที่หนาพอป้องกันผิวหนังหากมีอุบัติเหตุ สวมรองเท้าหุ้มส้น ถุงมือเฉพาะสำหรับขับขี่ จยย. หรือถุงมือหนัง.เพราะจะไม่ลื่นเวลาจับแฮนด์ควบคุมคันเร่ง และถ้าเกิดอุบัติเหตุจะช่วยป้องกันผิวหนังถลอกได้มากกว่า

 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ โครงการขับเคลื่อนสังคมไทยสู่จักรยานยนต์ปลอดภัย (Social Mobilization for Motorcycle Safety)

#ทีมช่างเชี่ยวจยย #roadsafety

kinyupen