3 เรื่องแชร์มาทางไลน์ ที่ควรปรับใช้ ชีวิตจะมีสุข

0
804
kinyupen

เรื่องที่ 1 สำหรับคนทำงานไม่ว่าจะตำแหน่งหัวหน้างานหรือลูกน้อง หรือผู้อยู่ในช่วงของความขัดแย้ง

 

“รู้ ไม่จำเป็นต้องพูด ไม่พูดใช่ว่า จะไม่รู้”

มีแม่ทัพคนหนึ่งเล่นหมากล้อมเก่งมาก ไม่ค่อยมีคนเล่นชนะได้ วันหนึ่ง. แม่ทัพออกรบผ่านหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เห็นบ้านเล็ก ๆ หลังหนึ่ง มีป้ายติดว่า.. “เล่นหมากล้อมอันดับ 1 ของประเทศ” แม่ทัพไม่เชื่อจึงเข้าไปหาเจ้าของบ้านและเล่นด้วยปรากฏว่า.. เจ้าของบ้านแพ้ ทั้ง 3 กระดานแม่ทัพหัวเราะ “555 แกเอาป้ายลงได้แล้ว” แล้วแม่ทัพก็ไปออกรบด้วยความดีใจ

 

ไม่นาน.. แม่ทัพรบชนะกลับมาผ่านมาที่เดิม ก็ยังเห็นป้ายแขวนอยู่ที่บ้านหลังเดิม แม่ทัพจึงเข้าไปหาเจ้าของบ้านและท้าดวลอีก ปรากฏว่าครั้งนี้แม่ทัพแพ้ทั้ง 3 กระดานแม่ทัพประหลาดใจมาก

ถามเจ้าของบ้านว่าเพราะอะไรเจ้าของบ้านตอบว่า “ครั้งก่อน ท่านมีภารกิจออกรบข้าน้อยจะไม่ทำท่านเสียกำลังใจ ท่านหมดขวัญกำลังใจไม่ได้แต่ครั้งนี้ ท่านชนะกลับมาข้าน้อยก็ไม่ต้องออมมือแล้ว”

 

คนที่เก่งจริงในโลกนี้ คือ..ชนะได้ แต่ไม่จำเป็นต้องชนะ มีใจกว้างขวางก็พอการใช้ชีวิตก็เหมือนกัน”รู้ ไม่จำเป็นต้องพูด ไม่พูดใช่ว่าจะไม่รู้” ต่อหน้าคนใจแคบ คุณต้องใจกว้าง ถ้าทำใจกว้างไม่ได้ ก็ต้องแกล้งโง่

 

เรื่องที่ 2 สำหรับผู้จมจ่อมอยู่กับทุกข์ และรู้สึกพ่ายแพ้

อย่าสนใจคำตัดสินของผู้อื่น ชีวิตทุกอย่างไม่มีทางได้ดังใจ

 

รองเท้าเด็กน้อยถูกคลื่นทะเลซัดหายไป..เด็กน้อยเขียนที่ริมหาดว่า..” ทะเลคือขโมย”

อีกชายฝั่งของทะเล ชาวประมงหาปลาได้เป็นจำนวนมาก..ชาวประมงเขียนที่หาดทรายว่า… ” ทะเลคือผู้ให้ ”

ชายหนุ่มคนหนึ่งจมทะเลตาย..แม่ของเขาเขียนที่ชายหาดว่า.. ” ทะเลคือฆาตกร ”

ชายชราเดินหลังค่อม ก้มหน้าเดินถือไม้เท้า พบไข่มุกอันล้ำค่า จึงเขียนว่า.. ” ทะเลคือผู้เมตตา ”

 

ทันใดนั้น “คลื่น” ได้ซัดยังชายฝั่งและลบการเขียนทั้งหมด! พร้อมกล่าวขึ้นเบาๆ ว่า.. “อย่าไปสนใจคำตัดสินของผู้อื่น หากเจ้าคิดจะเป็นทะเล”

อย่าไปวิตกกับสิ่งที่ผ่านมา ความพ่ายแพ้ หรือความผิดหวัง ความสุข หรือความทุกข์ เพราะหากชีวิตมนุษย์จะเรียบง่าย คงไม่เริ่มต้นด้วยการร้องไห้เมื่อแรกเกิด

 

คนเรา “เกิดมา” พร้อมกับเสียงร้องไห้ของตัวเอง แต่ “ตายไป” พร้อมกับเสียงร้องไห้ของผู้อื่น ช่วงเวลาระหว่างนั้น เรียกว่า”ชีวิตคน”

 

แมวชอบกินปลา แต่แมวลงน้ำไม่ได้

ปลาชอบกินไส้เดือน แต่ขึ้นฝั่งมากินไส้เดือนไม่ได้

 

ชีวิตคนเรา ” มีได้ – มีเสีย “มีทั้ง”ได้เลือก” และต้อง “ล้มเลิก” ในชีวิตคนเราไม่มีทางที่ทุกอย่างจะเป็นไปดั่งใจนึกได้หมด

จงอย่าไปคิดเล็กคิดน้อยกับใคร เพราะมันไม่คุ้ม
จงอย่าจริงจังกับตัวเองเกินไป เพราะจะทำร้ายตัวเอง
จงอย่าไปจมอยู่แต่อดีตเพราะมันไม่ได้อะไรขึ้นมา
จงอย่าจริงจังกับปัจจุบันมากไป เพราะชีวิตยังคงต้องเดินต่อไป..

ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่เป็นของๆ เรา นอกจากสุขภาพกายที่แข็งแรง (อันมาจากสุขภาพใจที่เข้มแข็ง เปี่ยมกำลังใจ)

 

เรื่องที่ 3 สำหรับทบทวนชีวิตในทุกช่วง 10 ปี

มีอะไรที่เรายังทำไม่ครบและใช้ชีวิตคุ้มค่า หรือไม่

 

“ชีวิตคนเราจะมีสิบปีสักกี่ครั้งกัน”. ถ้าคนเราอายุเฉลี่ย 70 ปี เราก็มี 10 ปีแค่ 7 ครั้ง

  1. สิบปีแรก…หมดไปกับ ความไร้เดียงสา
  2. สิบปีต่อมา…หมดไปกับการศึกษาเล่าเรียน
  3. สิบปีต่อมา…หมดไปกับการทำงานและการใช้ชีวิต
  4. สิบปีต่อมา…หมดไปกับการสร้างฐานะ สร้างครอบครัว
  5. สิบปีต่อมา…หมดไปกับการลงหลักปักฐาน รักษาสิ่งที่หามา
  6. สิบปีต่อมา…หมดไปกับการดูแลรักษาสุขภาพ กาย-ใจให้แข็งแรง
  7. สิบปีสุดท้าย…หมดไปกับการปล่อยวางทุกสิ่ง รอคอยการกลับบ้าน

 

แต่ละสิบปีผ่านไป…ไวเหมือนโกหก อีกไม่นานปีนี้ก็จะผ่านไปมีอะไรที่เราทำไปแล้วมากมาย และก็ยังมีอะไรอีกมากมายที่เรายังไม่ได้ทำ

 

อย่าได้อวดเรื่องเงินเรื่องทอง ตายไปก็กลายเป็นเพียงเศษกระดาษ
อย่าได้อวดเรื่องหน้าที่การงาน ลาออกไปแล้วจะมีคนมาแทนที่คุณและอาจทำได้ดีกว่าคุณ
อย่าอวดเรื่องบ้านเรื่องรถ ตายไปแล้วก็เป็นของทายาท..คุณหมดเวลาใช้

คุณอวดเรื่อง “สุขภาพแข็งแรง” จะดีกว่า คนอื่นตายไปแล้วคุณยังนอนเล่นริมทะเล นั่งจิบชามองดูลูกหลาน..อย่างมีความสุขและเข้าใจในชีวิต

 

ถ้า ‘ธนาคารเวลา’ มีจริงเราก็ไม่เคยมีสมุดบัญชีสักเล่มที่จะให้เราดูได้..ว่า ตอนนี้เหลือเวลาอยู่เท่าไหร่? เรารู้ว่าเราใช้ “สิบปี” ของเราไปกี่ครั้งแล้ว แต่เราไม่อาจรู้ว่า…เราจะใช้ “สิบปี” ที่เหลือของเราได้ครบมั้ย?

 

แต่นั่นก็ไม่สำคัญเท่ากับเราใช้เวลาสิบปีของเราไปคุ้มค่าหรือเปล่า?

ชี วิ ต ค น เ ร า จ ะ มี “สิ บ ปี” สั ก กี่ ค รั้ ง กั น? ใช้สิบปี เจ็ดครั้งของเรา ใ ห้ คุ้ ม ค่า

 

สรุป: ชีวิตที่เรียบง่ายให้สนุกกับการใช้ชีวิต – ไม่เจ็บปวดแต่ก็ต้องบำรุง ไม่กระหายแต่ก็ต้อง ดื่มน้ำ

ว้าวุ่นแค่ไหนก็ต้องปล่อยวาง มีเหตุมีผลแต่ก็ต้องยอมคน มีอำนาจแต่ก็ต้องรู้จักถ่อมตน ไม่เหนื่อยแต่ก็ต้องพักผ่อน

kinyupen