4 ขั้นตอน ช่วยชีวิตยามฉุกเฉิน

0
903
kinyupen

ไม่ว่าจะเหตุไฟไหม้ ภัยพิบัติ อุบัติเหตุ กราดยิง อาชญากรรมต่างๆ ในที่ชุมชน สถานการณ์เหล่านี้ไม่อาจรู้ได้ว่าจะเกิดขึ้นกับเราเมื่อไหร่ แต่หากมีวิธีรับมือเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน ทักษะ ความทรงจำ การฝึกซ้อมสามารถช่วยได้ ทั้งหมดคือเพิ่มโอกาสรอดชีวิต ก็ควรใช้โอกาสให้ถึงที่สุด

กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต มีข้อแนะนำขั้นตอนเตรียมพร้อมรับเมื่อพบเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ให้คุณมีวิธีรับมือติดตัวไว้ปฏิบัติยามฉุกเฉิน เพื่อความปลอดภัยของตนเองและคนในครอบครัว ได้อย่างเหมาะสมในทุกสถานการณ์ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้

 

 

  1. ตื่นตัว

ตื่นตัวกับสัญญาณอันตราย หมั่นสังเกตทางเข้าออกเป็นนิสัย ไม่ควรสวมหูฟังตลอดเวลา หรือมัวจ้องโทรศัพท์มือถือ เพราะยิ่งทำให้เราเฉื่อยชา สมองจะถูกสั่งให้เข้าโหมดซึมเซา ไม่รู้จักภาวะตื่นตัว การออกกำลังมีส่วนช่วยระบบประสาทอัตโนมัติแข็งแรงขึ้น

  1. มีสติ

ถ้าไม่มีสติ ความรู้หรือปัญญาก็หายหมด หากคิดว่าต้องหนีก็อย่าลังเล เพราะเห็นว่าคนข้างๆ ยังไม่ไปเลย ทุกวินาทีมีค่า ทิ้งของที่ไม่จำเป็น ถ้าไม่ตายก็ซื้อใหม่ได้ คุณอาจไม่ได้มีชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินติดตัวอยู่ตลอดเวลา แต่สิ่งหนึ่งที่แทบทุกคนบนโลกใบนี้จะออกจากบ้านโดยขาดไม่ได้ นั่นก็คือโทรศัพท์ ควรพกแบตเตอรี่สำรองไว้

หากต้องซ่อนตัวจากผู้ร้าย ปิดไฟ ปิดเสียงโทรศัพท์ ล็อคห้องแน่นหนา มีตู้โต๊ะก็ขวางไว้ อยู่ให้เงียบที่สุด ห้ามกรีดร้อง ติดต่อขอความช่วยเหลือผ่านแชท บังแสงหน้าจอให้มิด

 

กรณีที่มีเด็กเล็กเราต้องเตรียมความพร้อมอะไรบ้าง

  • ฝึกให้มีการตื่นตัวและระวังภัยต่อการเกิดเหตุร้าย
  • สอนให้รู้จักหนีภัยและการออกจากพื้นที่อันตราย
  • สอนให้รู้วิธีแอบซ่อน และฝึกให้เงียบ ไม่ส่งเสียงดัง
  • นม น้ำ ขนม ลูกอมเตรียมพร้อมให้เด็กเล็ก
  • ฝึกท่องเบอร์โทรศัพท์พ่อแม่ หรือเขียนใส่กระเป๋าติดตัว

 

  1. จดจำช่องทางติดต่อฉุกเฉิน

เมื่อตั้งสติได้ ให้ติดต่อญาติหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทราบในทันที โดยการใช้หลัก 5W 1H (ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร และอย่างไร) เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการรายงานข้อมูลเบื้องต้นทำให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานช่วยเหลือได้ง่ายและรวดเร็ว

จดจำช่องทางติดต่อง่ายๆ เช่น สายด่วน 1195, จส.100 ,191 หรือแม้แต่ช่องทางออนไลน์ เช่น Facebook Instagram Twitter ของเพจที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อเป็นที่พึ่งได้ในยามฉุกเฉิน

 

  1. การปฐมพยาบาล

เรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการห้ามเลือด ถ้าไม่ได้เป็นคนที่กลัวเลือดก็สามารถห้ามเลือดได้ และต้องป้องกันการติดเชื้อ ใช้เสื้อผ้าสะอาดๆ กดบาดแผลแรงๆ ไว้ตลอดโดยไม่ต้องเปิดดูแผล สักพักหลอดเลือดที่ขาดจะหดเอง

หลังเกิดสถานการณ์คับขัน การกลับสู่ชีวิตปกติให้เร็วที่สุดจะมีประโยชน์มาก ถ้าเรามีสติตั้งแต่แรกจะช่วยได้มาก ถ้ายังติดค้างก็ต้องทำจิตบำบัด

 

ไม่ต้องรอให้เกิดวิกฤตเสียก่อน เราสามารถเรียนรู้ในสถานการณ์แห่งชีวิตได้จากเหตุการณ์ต่างๆ นับตั้งแต่ตอนนี้ ไม่เพียงแต่ช่วยรักษาชีวิต แต่ยังช่วยพัฒนาสังคมในด้านอารมณ์ของบุคคล และเสถียรภาพในสังคมเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ เพื่อสร้างอนาคตที่ดียิ่งขึ้นร่วมกันได้

 

ขอบคุณที่มา :

มนาปี คงรักช้าง.  (2562).  ครูผู้สร้างการเรียนรู้ในสถานการณ์แห่งชีวิต.  สืบค้นเมื่อ 18 ก.พ., 2563,  จาก EDUCA:  educathai.com/knowledge/articles/83

dungtrin.  (2563).  เฉื่อยชา.  สืบค้นเมื่อ 18 ก.พ., 2563,  จาก Picuki:  picuki.com

Facebook Page: กองปราบปราม

งานเสวนา Escape and Survive in Mass Shooting – โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ทีมข่าวจุดประกาย กรุงเทพธุรกิจ (17 กุมภาพันธ์ 2563). ถ้าเกิด ‘Mass Shooting’ จะรักษาชีวิตอย่างไร.  กรุงเทพธุรกิจ, น.1.

kinyupen