เสียภาษีตามรายได้ 8 ประเภท…มีอะไรบ้าง

0
669
kinyupen

เสียภาษี สิ่งที่คนทำงานไม่ว่าจะเป็นงานประจำหรือธุรกิจส่วนตัว ฯลฯ ทุก ๆ ปีก็จะต้องยื่นให้กับกรมสรรพากร แล้วรู้หรือไม่ว่า รายได้ประเภทไหนบ้างที่เราต้องเสียค่าภาษี กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต รวบรวม 8 ลักษณะของภาษีที่ต้องเสียหรือยื่นเพิ่มเติมเอาไว้แล้ว

 

กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต ขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับแวดวงเงิน ๆ ทอง ๆ แก่ทุกคน เชื่อว่าหลายคนคงจะต้องอยู่แล้วว่าในทุก ๆ ปี ผู้ที่มีรายได้ถึงเกณฑ์กำหนดจะต้องยื่น “เสียภาษี” คือยื่นแสดงรายได้และจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับกรมสรรพากร ส่วนใหญ่มนุษย์เงินเดือนทั้งหลายจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปกับเงินเดือนที่ได้ในแต่ละเดือนอยู่แล้ว

 

ภาษีเงินได้ คืออะไร?

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด ภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป

 

สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระและเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษีขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย

 

ใครมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้?

สำหรับผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ประกอบด้วย ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมา โดยมีสถานะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ 1. บุคคลธรรมดา , 2. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล , 3. ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี และ 4. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

จริง ๆ แล้วลักษณะของภาษีที่ต้องยื่นเมื่อมีรายได้เข้ามา มีอยู่มากมายหลายประเภท กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต จึงได้รวบรวมข้อมูลจากกรมสรรพากรที่ได้มีการสรุป 8 ลักษณะของภาษีที่ต้องเสียหรือยื่นเพิ่มเติม มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

 

  1. เงินเดือน

เงินเดือน เป็นเงินที่พนักงานขององค์กรทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชนก็ตามจะได้รับในทุก ๆ เดือน ถือเป็นเงินตอบแทนที่แลกกับการปฏิบัติงานตามคำสั่งที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการ ส่วนใหญ่บางองค์กรจะมีการหักเงินภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้วด้วย โดยจะค่าจ้างในลักษณะนี้จะหักค่าใช้จ่ายได้แบบเหมาได้เพียงวิธีเดียวเท่านั้น และ สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 คน

  1. สกุลเงินดิจิทัล/ดอกเบี้ย/เงินปันผล

ในข้อนี้ ถือได้ว่ารายได้ที่จะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายของมูลค่าเงินปันผลที่ได้รับ ซึ่งหากนำมูลค่าเงินดังกล่าว ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้ตอนสิ้นปี ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์จากการเครดิตภาษีเงินปันผลนั้น ในส่วนของหุ้นปันผลที่ผู้ลงทุนได้รับจากบริษัทจดทะเบียน จะถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีในลักษณะเดียวกับเงินปันผล โดยเวินได้ประเภทนี้ไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้เลย

  1. ค่าจ้างทั่วไป

ค่าจ้างทั่วไป ค่าคอมมิชชั่น หรือ ค่าตอบแทนที่ไม่ได้อยู่ในฐานะเจ้านายลูกน้อง รวมไปถึงบุคคลที่เป็นดารานักแสดงก็ต้องเสียภาษาในหมวดนี้ ซึ่งค่าใช้จ่ายประเภทนี้ จะหักค่าใช้จ่ายได้เพียงวิธีเดียว ได้แก่ หักแบบเหมา 50% แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

  1. รายได้จากการทำธุรกิจ

รายได้ที่ได้มาจากการประกอบอาชีพอิสระ หรือการประกอบธุรกิจส่วนตัว เป็นรายได้ที่มาจากการบริหารงานธุรกิจของตนเอง ซึ่งมีรายรับในแต่ละวันเข้ามาจากการประกอบกิจการ สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ การหักตามจริง ซึ่งต้องมีหลักฐานมาแสดงประกอบด้วย และ หักแบบเหมา 30-60% ตามลักษณะของกลุ่มวิชาชีพอิสระ

  1. ค่าวิชาชีพอิสระ

ค่าวิชาชีพอิสระ ไม่ได้หมายถึงคนที่ทำงานในรูปแบบฟรีแลนซ์ แต่เป็นวิชาชีพอิสระที่ประกอบด้วย 6 สาขาเท่านั้น คือ การประกอบโรคศิลปะ นักกฎหมาย วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี และ ช่างประณีตศิลป์ โดยสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ การหักตามจริง ซึ่งต้องมีหลักฐานมาแสดง และ หักแบบเหมา 30-60% ตามลักษณะของกลุ่มวิชาชีพอิสระ

  1. ค่าเช่า

ค่าเช่าในที่นี้หมายรวมถึง บ้าน ทาวน์เฮาส์ คอนโด และอื่น ๆ ฯลฯ โดยสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ การหักตามจริง ซึ่งต้องมีหลักฐานมาแสดงประกอบด้วย และ หักแบบเหมา 10-30% ตามลักษณะของประเภททรัพย์สินที่ให้เช่า

  1. ค่าลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา

รายได้ในข้อนี้จะมาจากค่าจ้างจากงานเขียนคอลัมน์ บทประพันธ์ งานเพลง และ ผลงานต่าง ๆ ฯลฯ ที่ล้วนมีลิขสิทธิ์ โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายได้เพียงวิธีเดียว คือ หักแบบเหมา 50% แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท หรือหักตามจริง

  1. ค่ารับเหมา

ค่ารับเหมาในที่นี้ หมายรวมถึงค่าแรง ค่าของ โดยที่ตนเป็นผู้จัดหาทั้งแรงงาน เครื่องมือ และ สัมภาระด้วยตนเอง เช่น การรับเหมาก่อสร้าง หรือ การรับผลิตสินค้าที่ลุกค้าต้องการ โดยรายได้ประเภทนี้สามารถขอหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ หักตามจริง ซึ่งต้องมีหลักฐานมาแสดงประกอบด้วย และ หักแบบเหมา 60%

 

ทั้งหมดนี้ คือ 8 ลักษณะของภาษีที่ต้องเสียหรือยื่นเพิ่มเติม ดังนั้น สำหรับมนุษย์เงินเดือนหรือผู้ที่มีรายได้สามารถยื่นแบบภาษีได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2563 เท่านั้น (กรณียื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต หรือทาง Rd smart tax application สามารถยื่นได้จนถึงวันที่ 8 เมษายน 2563) อย่าลืมว่า การเสียภาษีเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน เงินภาษีที่เราเสียนั้นล้วนแต่นำมาพัฒนาประเทศของเราให้ดีขึ้นในอนาคต และนี่คือวิถีกินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต

 

 

 

kinyupen