ทฤษฎี “ความสุขแบบ U Shape” เมื่อชีวิตมีขึ้นมีลง #ความสุขก็เช่นกัน

0
1489
kinyupen

 

 

เรามักเชื่อกันว่าช่วงวัยเด็ก คือวัยที่มีความสุขมากที่สุด เพราะไม่ต้องเผชิญกับปัญหาหรือเงื่อนไขของชีวิตและเมื่ออายุมากขึ้นความสุขก็ห่างออกไปเหมือนอย่างที่ปีเตอร์แพน เด็กชายผู้ปฏิเสธการเป็นผู้ใหญ่บอกกับเวนดี้  ว่า “Don’t grow up it’s a trap”

แต่..ช้าก่อนอย่าเพิ่งหดหู่ เพราะ Jonathan Rauch ผู้เขียนหนังสือ The Happiness Curve : Why Life Gets Better After 50 ได้ทำการศึกษาทั้งในแง่จิตวิทยาและเศรษฐศาสตร์แล้วพบว่า ความสุขผันตามช่วงตามสถานการณ์เหมือน U shape  คือมีขึ้น มีลง และมีขึ้น และช่วงที่แย่สุด คือวัย 40 แต่จะดีขึ้นเมื่อ วัย 50

 

ช่วงอายุ 20-30 ความสุขจะอยู่ระดับสูงสุด : ช่วงเริ่มต้นใหม่ มีรายได้ มีสังคมใหม่ หรืออาจเริ่มมีครอบครัว วัยที่มีอนาคต มีความหวังและสนุกสนาน

 

ช่วงอายุ 35 – 46 ความสุขจะค่อยๆลดลง และต่ำสุดช่วงปลายอายุ 40 หรือที่เรียกกันว่าช่วง Mid-Life crisis ด้วยคนในช่วงวัยนี้อาจถูกคาดหวัง หรือ กดดันตัวเองบนจุดสุดยอดของความสำเร็จทั้งในด้านครอบครัว และการงานซึ่งในด้านหนึ่งสำเร็จ แต่อีกด้านหนึ่งล้มเหลวจึงเป็นช่วงที่คนวัยนี้แบกรับความกดดันหนักสุด โดยช่วงอายุนี้ถ้าในสหรัฐอเมริกาพบว่าเป็นช่วงวัยที่ใช้ยาลดอาการซึมเศร้า หรือยานอนหลับสูงสุดแต่ก็มีหลายคนที่ช่วงนี้ชีวิตพลิกผันกลายเป็น Mid -life transition

 

ช่วงอายุ  50 ขึ้นไปความสุขจะค่อยกลับมาเพิ่มขึ้น และยาวไปถึงช่วง 70 ทั้งนี้เพราะความคาดหวังในชีวิตลดลง ประสบการณ์ที่สั่งสมทำให้เข้าใจและปรับภาวะอารมณ์ได้ดีขึ้นโดยช่วงวัยนี้ถ้าเป็นคนไทยนับถือศาสนาพุทธจะเห็นว่าส่วนหนึ่งเริ่มเข้าหาศาสนามากขึ้น

 

อย่างไรก็ตามความสุขในแต่ละช่วงวัยก็เหมือนหลักการคร่าวๆ ที่อาจเอาไว้เป็นข้อคิดดึงตัวเองเวลาอารมณ์ดิ่งลงต่ำ หรืออาจใช้วิธีแบบ Anne Frank ที่ว่า. “จงคิดถึงสิ่งสวยงามที่ยังคงอยู่รายรอบตัว และมีความสุขไปกับมัน” เพราะเชื่อว่าในช่วงที่ทุกข์ มันมีมุมดีๆ มีความสวยงามแฝงอยู่เสมอ

kinyupen