“เด็กติดเกม” ไม่ใช่คนก้าวร้าว-เกรี้ยวกราด

0
1224
กินอยู่เป็น_เด็กติดเกม-ไม่ใช่คนก้าวร้าว-เกรี้ยวกราด_web
kinyupen

ผลการวิจัยที่ศึกษาเรื่องการเล่นเกมของเด็กส่งผลต่อพฤติกรรมก้าวร้าวหรือไม่ พบว่า “เกม” เด็กยิ่งติดมากเท่าไหร่ ก็ไม่ได้ทำให้พวกเขามีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวขึ้นแต่อย่างใด

กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต จะพาไปติดตามเรื่องราวของการติดเกมของเด็กวัยรุ่น เรื่องนี้ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งในปัญหาที่ผู้ปกครองหลายคนมักจะมองว่าเกมเป็นเรื่องที่ไร้สาระ เด็ก เยาวชน วัยรุ่น ไม่ควรไปยุ่งเกี่ยวหรือไปเล่น เพราะถือเป็นเรื่องไร้สาระอย่างมาก ส่งผลต่อพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กได้ ปัญหาเบื้องต้นที่พบเจอคือพฤติกรรมการก้าวร้าวของเด็กที่ลอกเลียนแบบจากการวีดิโอเกม โดยเฉพาะเกมต่อสู้ ที่มีการใช้ความรุนแรง

ข้อมูลของ Andrew Przybylski และ Netta Weinstein สองนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและมหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ ประเทศอังกฤษ ที่ได้ตีพิมพ์ผลงานในวารสาร Royal Society Open Science ศึกษาประเด็นการเล่นเกมของเด็กส่งผลต่อพฤติกรรมก้าวร้าวหรือไม่ โดยผลการวิจัยระบุว่า จากการทำแบบสำรวจกลุ่มตัวอย่าง เป็นวัยรุ่นอายุ 14-15 ปี จำนวนราว 1,000 คน รวมถึงผู้ปกครองของพวกเขา เกี่ยวกับพฤติกรรมการเล่นเกม ประเภทของเกมที่เล่น และพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างหลังเล่นเกมนั้น

ผลการวิจัยพบเด็กชายจำนวน 2 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด และมากกว่าครึ่งของเด็กผู้หญิง ไม่พบพฤติกรรมที่ก้าวร้าว และพฤติกรรมต่อต้านสังคม ไม่พบหลักฐานที่เชื่อมโยงความก้าวร้าวที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มตัวอย่างที่เล่นเกมประเภทที่ใช้ความรุนแรง พวกเขาทราบว่าบางครั้งการเล่นเกมทำให้เด็กเหล่านี้มีอารมณ์โกรธ ขุ่นเคืองบ้างในบางครั้ง แต่นั่นเป็นเพียงพฤติกรรมปกติที่เกิดขึ้นในระหว่างการเล่มเกมเท่านั้น

ปัญหาการติดเกมไม่ได้มีแค่ประเทศเพื่อนบ้านเท่านั้น ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่พบปัญหาเด็กติดเกมจนเสียการเรียนอยู่บ่อยครั้ง เด็กบางคนลอกเลียนแบบพฤติกรรมความรุนแรงมาจากตัวละครในเกมก็มี  ปัญหาดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แสดงความเป็นห่วงปัญหาเด็กไทยติดโทรศัพท์มือถือ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นโซเชียลฯ อินเทอร์เน็ต หรือแม้กระทั่งเล่นเกมเป็นเวลานาน ๆ ส่งผลให้เกิดอาการสมาธิสั้น การใช้สมองในส่วนความทรงจำลดลง และอารมณ์มีแนวโน้มรุนแรงฉุนเฉียวง่ายขึ้น

 

ปัญหาที่เกิดขึ้น ผู้ปกครองต้องหาวิธีแก้ปัญหาเด็กติดเกม ว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไรดี เพื่อให้เด็กลดพฤติกรรมการติดเกมได้

(1.) ผู้ปกครองควรทำความเข้าใจเกมที่เด็กเล่นก่อน ว่าเกมนี้เป็นเกมเกี่ยวกับอะไร ศึกษาว่าทำไมเด็กถึงชอบเล่นเกมประเภท ในเกมมีอะไรเป็นแรงดึงดูดทำให้เด็กเล่นได้โดยไม่เบื่อ

(2.) ผู้ปกครองต้องพูดคุยกับเด็กโดยห้ามมีอคติกับเกม ค่อย ๆ พูดคุย สอบถามปัญหา และความสนใจอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการเล่นเกมว่า สนใจอะไรเพิ่มเติมไหม เช่น ไปเยวสวนสนุก เป็นต้น

(3.) ให้เด็กได้ทดลองทำกิจกรรมใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์ สร้างสรรค์ ที่สำคัญต้องสนับสนุนให้เขาทำได้อย่างอิสระ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ว่ายังมีสิ่งอื่น ๆ ที่เขาสามารถทำได้ดี

(4.) ปลูกฝังให้เด็กรู้จักการเล่นเกมอย่างชาญฉลาดและสร้างสรรค์ ใช้เวลาในการเล่นเกมอย่างเหมาะสม จัดสรรเวลาในการทำกิจกรรมอื่น ๆ ให้สมดุล และมีเวลาพักผ่อนที่เพียงพอ

(5.) ผู้ปกครองไม่ควรไปบังคับให้เด็กเลิกเล่นเกม เพราะเกมคือความบันเทิงอีกทางเลือกหนึ่ง แต่ลองเปลี่ยนเป็นให้เด็กเลือกเกมดี ๆ ที่ฝึกความคิดของเด็กไปด้วยในตัว เช่น เกมครอสเวิร์ด เป็นต้น

 

สุดท้าย การเล่นเกมของเด็กไม่ใช่เรื่องร้ายแรงเสมอไป ข้อดีของเกมคือให้ความบันเทิง ช่วยให้เด็กผ่อนคลายความเครียดจากการเรียนหนังสือได้ แต่บทบาทของผู้ปกครองนั้นควรควบคุมประเภของเกมที่เด็กเล่น รวมถึงจำกัดระยะเวลาที่เด็กควรจะเล่น อาทิ ให้เล่นได้ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน หลังจากทำการบ้านเสร็จแล้วเท่านั้น เมื่อถึงเวลานอนก็ให้เด็กเข้านอนทันที หรือตัวของผู้ปกคครองเองก็อาจจะร่วมเล่นเกมกับเด็กด้วย เพราะจะได้เข้าใจในรายละเอียดของเกมที่เด็กเล่น และยังเป็นการสร้างสัมพันธ์อันดีของครอบครัวอีกด้วย อย่าลืมว่า เกมไม่ใช่เรื่องไร้สาระเสมอไป แต่ต้องเล่นอย่างมีสติและชาญฉลาด ก็จะทำให้เด็กได้อะไรจากการเล่นเกมด้วย และนี่คือวิถีแห่ง กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต

kinyupen