ลด-ละ-เลิก พฤติกรรมใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ที่ทำให้ไม่เหลือเงินในกระปุกสักบาท

0
1170
kinyupen

เคยไหม? อยากได้นั่น ได้นี่ไปเสียทั้งหมด ต่อให้แพงแค่ไหน ราคามากมายมหาศาลเท่าไหร่ ตนก็ยินดีที่จะจ่าย เพื่อให้ได้มาซึ่งของสิ่งนั้น จนลืมคำนึงถึงความจำเป็นในการใช้งาน นี่ล่ะคือบ่อเกิดแห่ง “ความฟุ่มเฟือย” ที่จะทำให้คุณหมดตัว “กินอยู่เป็น” จึงอยากนำเสนอเรื่องราว พร้อมกับ 5 วิธีรับมือแก้ไขพฤติกรรมใช้เงินมือเติบ

เมื่อพูดถึงเรื่องของ “ความฟุ่มเฟือย” ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มมนุษย์เงินเดือนคนทำงาน ที่เมื่อถึงวันเงินเดือนออกก็จะช่วงเวลาแห่งความสุขสำหรับใครหลายๆ คน ที่จะได้เดินทางเข้าห้างไปจับจ่ายใช้สอย ซื้อของที่อยากได้ จนทำให้เงินในกระเป๋าค่อยๆ ลดลง ลดลง จนไม่เหลือ ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อเงินไม่พอใช้ ก็ต้องแคะกระปุกมาใช้หรือหยิบยืมเพื่อนฝูงมาใช้ก่อน ก่อให้เกิดหนี้สินตามมาในที่สุด

จะเห็นได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นที่ว่าเงินไม่เพียงพอ แต่เกิดขึ้นจากตัวเราเองล้วนๆ ที่ไม่มีความพอดี ใช้จ่ายอย่างกระหาย ต่อให้ออมเงินทุกๆ เดือนก็ไม่เป็นผล มาลองดูกันว่าพฤติกรรมอะไรบ้างที่คุณต้อง ลด-ละ-เลิก และปรับเปลี่ยนตัวเอง เพื่อไม่ให้คุณหมดตัวจนถึงขั้นไม่มีเงินเก็บในกระปุกสักบาท

 

1. ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย

ค่านิยมที่ว่าต้องหรูหรา มีแบรนด์ดีๆ คนอื่นมี เราก็ต้องมีบ้าง ซึ่งล้วนเกินความจำเป็นต่อชีวิตเรามาก ล้วนเป็นบ่อเกิดแห่งความ “ฟุ่มเฟือย” ที่ส่งผลต่อเงินในกระเป๋าของเราลดลงไปด้วย ดังนั้น การจะจับจ่ายใช้สอยอะไรก็ตาม คุณอย่าลืมคำนึงว่า สิ่งที่คุณอยากได้นั้นมีความสำคัญกับคุณมากน้อยแค่ไหน เรื่องแบบนี้ต้องคิดให้ได้ว่า สิ่งใดควรซื้อ สิ่งใดไม่ควรซื้อ เพราะสิ่งของบางอย่างอาจจะยังไม่จำเป็นในขณะนั้น ฉะนั้น หากใช้เงินอย่างประมาทก็อาจะทำให้คุณเสียเงินโดยใช่เหตุก็ว่าได้

 

2. ไม่วางแผนการใช้เงิน

การจะใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมีการวางแผนการใช้เงินในแต่ละวันว่า วันนี้จะใช้เงินจำนวนกี่บาท ใช้สำหรับอะไรบ้าง เพื่อที่เราจะได้บริหารจัดการการใช้เงินของตัวเองได้ ซึ่งหากเราไม่วางแผนการใช้เงินเลย คุณก็อาจจะใช้เงินโดยประมาท เจออันนู้นถูกใจก็ซื้อ ก็จ่าย โดยเฉพาะของที่ไม่จำเป็นหรือฟุ่มเฟือย ทำให้คุณไม่มีเงินเก็บและเงินในกระเป๋าก็จะไม่เหลือสักบาทในที่สุด

 

3. ไม่ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

หลายคนไม่มีเงินเก็บในกระปุกเลยสักบาท ส่วนหนึ่งก็มาจากการไม่กำหนดรายรับ-รายจ่ายในแต่ละเดือนให้ชัดเจน จะบอกว่าการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะเป็นตัวช่วยให้คุณคำนวณค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้ดี คุณจะสามารถคำนวณได้ว่าในแต่ะเดือนคุณจะมีเงินใช้ส่วนตัวกี่บาท และต้องจ่ายเงินกับค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือนอย่างค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ กี่บาท คุณจะได้ไม่ประมาทในการจับจ่ายใช้เงิน

 

4. ไม่มีความคิด “ออมเงิน” เลยสักนิด

ข้อนี้ถือได้ว่าสำคัญมากๆ ที่จะต้องฝึกให้คนที่ยังไม่เคยมีความคิดในเรื่องนี้ ต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติ คิดใหม่ ทำใหม่ ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ให้มากๆ หากเราและฝึกการออมเงินตั้งแต่วันนี้ ค่อยๆ เก็บเล็กผสมน้อย ทุกๆ วัน ครบ 1 ปีคุณก็มีเงินเก็บแล้ว แม้ว่าจะไม่มาก แต่ก็เป็นเงินที่จะนำไปทำอะไรได้มากมาย หรือในทางกลับกัน หากมีเหตุฉุกดฉินที่ต้องใช้เงิน เราก็สามารถหยิบเงินจากการออมมาใช้ได้ในยามฉุกเฉิน ไม่ต้องไปหยิบยืมหรือกู้หนี้ยืมสินมาให้หนักใจ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

สุดท้าย จากทั้งหมดที่กล่าวมานั้น หากเรารู้จักการบริหารจัดการเงิน วางแผนการใช้จ่ายดีๆ คุณก็จะมีเงินก้อนใหญ่ที่ทำให้คุณรู้สึกภาคภูมิใจที่อย่างน้อยได้เก็บหอมรอมริบขึ้นมาด้วยมือของตัวคุณเอง ที่สำคัญพยายามจัดลำดับความสำคัญในการจับจ่ายซื้อของให้ดีๆ สิ่งไหนที่ไม่จำเป็นก็อย่าไปเสียเงินโดยเด็ดขาด เพียงเท่านี้คุณก็จะสามารถใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้อย่างคล่องตัว ไม่มีหนี้สิน แถมมีเงินเก็บไว้ใช้อีกด้วย

นี่คือวิถี กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต

kinyupen