สัญญาณอันตราย! นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ

0
1359
kinyupen

ใครเป็นแบบนี้บ้าง อยากนอนตลอดเวลา คิดถึงที่นอนตลอดเวลา อยากนอนโง่ๆ ไม่อยากทำอะไรเลย กลับห้องก็ทำกิจกรรมทุกอย่างอยู่แต่บนเตียง เวลาว่างก็ขอนอนบนเตียงอย่างเดียว อาการเหมือนคนนอนน้อย แต่จริงๆ นอนเยอะมาก และอาการแบบนี้มักเกิดขึ้นกับคนวัยทำงานหลายๆ คน ที่วันหยุดเอาแต่นอนเอื่อยอยู่บนที่นอน

 

 

ตามข้อมูลของ National Sleep Foundation สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ปรกติแล้วคนเราจะเกิดอาการนี้เป็นครั้งคราว แต่ไม่ได้เป็นทุกวัน

อาการนอนเท่าไหร่ก็ไม่อิ่มเสียที

1. ขี้เซา หลับแล้วตื่นยากมากๆ

2. ตื่นนอนแล้วไม่สดชื่น อยากนอนต่ออีก แม้จะนอนมาเยอะแค่ไหนก็ตาม

3. หัวสมองไม่แล่น เฉื่อยชา สมองล้าเหมือนนอนไม่พอ

4. มีอาการหงุดหงิด สับสนเมื่อถูกปลุกในระหว่างที่หลับ

5. นอนได้ทั้งวัน มีอาการง่วงระหว่างวัน และมักจะงีบหลับวันละหลายครั้ง

 

สาเหตุของการนอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ

  • เกิดจากการนอนกรน
  • นอนน้อยในเวลากลางคืน
  • น้ำหนักเกิน
  • ติดแอลกอฮอล์
  • ได้รับความกระทบกระเทือนทางสมองหรือได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ
  • เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงที่สมองไม่พอ
  • การใช้ยาบางอย่าง เช่น ยาแก้คลื่นไส้
  • ยาคลายเครียด
  • ม้ามพร่องเป็นเหตุ

 

นอนไม่เคยพอ สัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพ

แพทย์แผนจีนจะมองว่า อาการนอนเท่าไหร่ก็ไม่พอนี้ เกิดจากการที่หยินหยางไม่สมดุลโดยหยินมีมากเกินไป

นอนไม่รู้จักพอเป็นภาวะที่สะท้อนถึงพลังการย่อยอาหารและดูดซึมอาหาร (ระบบม้ามบกพร่องเนื่องจากหลายๆ ปัจจัย ทั้งจากพื้นฐานของร่างกายเดิมและการดำเนินชีวิตที่ผิดพลาด และการสะสมการเสื่อมโทรมของร่างกาย)

การแสดงออกของการง่วงนอนผิดปกติ เป็นเพียงอาการหนึ่งของภาวะพลังม้าม และพลังหยางของร่างกายพร่อง ยังมีอีกหลายอาการเช่น เหงื่อออกมากผิดปกติ เบื่ออาหาร, มือเท้าเย็น, คลื่นไส้ อาเจียน, ไม่อยากพูด, ถ่ายเหลว ฯลฯ เมื่อรักษาที่ต้นเหตุอาการอื่นๆ ก็จะดีไปด้วยกัน (ข้อมูลจากเว็บไซต์ หมอชาวบ้าน)

 

ทางแก้

ให้หลีกเลี่ยงการกินของมัน อาหารที่ปล่อยทิ้งไว้จนเย็น อาหารที่ย่อยยาก เพื่อลดการสะสมของไขมันและความขึ้นในร่างกาย นอกจากการไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กร่างกายแล้ว บางรายที่เป็นมากอาจต้องมีการกินยาด้วย

เราสามารถลดอาการป่วยจากโรคนี้ได้ด้วยการออกกำลังกาย และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน บางครั้งใช้ความหวานเข้าช่วยให้ร่างกายสดชื่นขึ้นบ้างก็ช่วยได้ ทำให้เราห่างไกลจากโรคนอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ

 

ใครมีอาการนี้ คงอยู่นิ่งเฉยไม่ได้แล้วล่ะ ความเฉื่อยชาตลอดเวลาอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและการทำงาน และทำให้ตอนกลางคืน นอนไม่หลับ ผิดเวลาไปหมด และสุดท้ายก็จะกลายเป็นคนที่มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง เป็นบ่อเกิดของโรคซึมเศร้าได้ด้วย

kinyupen