ช่วยอย่างเข้าใจ..วัยต่าง

0
678
kinyupen

หลายครั้งที่ผู้ใหญ่กับเด็ก หรือ อาจารย์กับนักเรียนจะคุยกันไม่รู้เรื่อง รู้สึกว่ากำแพงของเด็กช่างแข็งแรงจนไม่รู้จะเอื้อมมือเข้าไปได้ยังไง กิน-อยู่-เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต จึงหยิบมุมคิดจากบทความสัมภาษณ์ครูเล็ก ภัทราวดี มีชูธน โดยเฉพาะในส่วนของโครงการ Broken Violin โครงการศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชนและชุมชน ในคอลัมน์ Goodlife หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ มาแชร์กัน

 

โครงการ The Broken Violin ซึ่งที่มาของชื่อมาจากไวโอลินแตกหักที่สามารถบรรเลงเป็นบทเพลงได้ไพเราะและมีคุณค่าจึงเป็นโครงการที่ครูเล็กให้นิยามว่า

 

“เปรียบเสมือนชีวิตที่ก้าวพลาดที่สร้างบาดแผลและรอยร้าวในหัวใจ หากเมื่อเปิดโอกาสให้ได้เห็นคุณค่าในตนเอง ย่อมเยียวยาจิตใจให้ก้าวผ่านอุปสรรคใดๆ ไปได้อีกครั้ง เช่นเดียวกับไวโอลินที่แตกหัก ถ้านำมาบรรเลงย่อมได้ท่วงทำนองใหม่ที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร”

 

ครูเล็กจึงใช้แนวคิดนี้ให้โอกาสเยาวชนที่ก้าวพลาดจากชุมชนเพชรหึงษ์ พระประแดง และบ้านกาญจนาภิเษก ได้มาเล่นสเก็ตบอร์ดในคอนเสิร์ตผสมผสานระหว่างกีฬา ดนตรี และการแสดง

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กลางคืน, รองเท้า และสถานที่กลางแจ้ง
ภาพจาก : The Broken Violin project เสน่ห์..รอยร้าว

 

สิ่งน่าสนใจไม่เพียงรูปแบบโครงการ หากคือ “ความเข้าใจถึงจิตใจเยาวชน” ที่ครูเล็กบอกเล่าว่า ความทุกข์หรือ บทเรียนที่เคยพลาดทำให้เข้าใจเด็กๆ ที่ก้าวพลาด เพราะการก้าวพลาดของเด็กมีหลายปัจจัย เกิดจากความไม่รู้ มีพลังเยอะแต่กร่าง ระรานคนอื่น และเพราะไม่รู้ไม่มีใครสอน

 

ครูเล็กบอกเล่าที่มาเชื่อมโยงกับโครงการนี้ เกิดจากเด็กๆ ในโรงเรียนภัทราวดี หัวหิน มีปัญหาจากเดิมที่เด็กมีปัญหาไล่ออก หากวันหนึ่งครูเล็กคิดได้ว่า ครูไม่มีหน้าที่ไล่เด็กออก เด็กจะร้ายแค่ไหนหน้าที่ของครูคือ ต้องสอนให้เป็นคนดี จึงไปเรียน Art Therapy ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อจะนำมาใช้แก้ปัญหาซึ่งพบว่าก่อนเปลี่ยนคนอื่นต้องปรับตัวเองก่อน พร้อมได้เข้าไปศึกษาหาเคสจริง ทำให้เข้าใจว่าเด็กๆ ไม่ได้ชั่วร้าย ไม่ได้มีเจตนาแต่ด้วยปัญหาครอบครัว ด้วยสภาพแวดล้อม นั่นหมายถึง ครูต้องเริ่มจากเข้าใจ และมีเมตตาสูง

 

สิ่งที่เรียกได้ว่าเป็นบทพิสูจน์ว่าความเข้าใจและมีเมตตาของครู จะทำให้กล่อมเกลา หล่อหลอมเด็กที่ก้าวพลาดได้ คือ การที่ครูเล็กได้เข้าไปมีส่วนช่วยพัฒนาและแก้ไขให้กับเยาวชนในพื้นที่แถวชุมชนเพชรหึงษ์ พระประแดง สมุทรปราการ

 

ภาพจาก : The Broken Violin project เสน่ห์..รอยร้าว

 

ครูเล็กเริ่มจากศึกษาข้อมูล พูดคุยกับเด็กเข้าใจถึงความต้องการของเด็กจากเรื่องที่เขาสนใจร่วมกันนั้นก็คือ สเก็ตบอร์ด เด็กอยากเล่นแต่ไม่มีสถานที่ สิ่งที่ครูทำคือให้ทุนในการซื้อปูน ซื้อทราย โดยเด็กลงแรง ศึกษาสร้างลานสเก็ตบอร์ดในพื้นที่แถวบ้านด้วยตนเองพอทำลานสเก็ต ก็ช่วยกันตัดต้นไม้ ล้างบ้าน ล้างห้องน้ำ ถูบ้านโดยช่วงแรกเด็กๆ ก็ระแวงแต่ก็เริ่มจากเอาขนมไปให้ ไปสอนให้ชุมชนทำไก่ย่างโดยซื้อเตาให้

 

จากแนวคิดนี้ทำให้ครูเล็กมองว่า รัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กและสังคม น่าจะพัฒนาลานกิจกรรมลักษณะนี้ในชุมชนต่างๆ เพราะใช้งบน้อยมาก แต่เพราะรัฐมนตรี หรือ ผู้บริหารไม่เคยลงมาคุยกับเด็ก ทุกอย่างจะแก้ได้ไม่ยากหากผู้ใหญ่สัมผัสปัญหาและสร้างความเชื่อมั่น

 

ปัจจุบันครูเล็ก ได้ร่วมกับป้ามล-ทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้าน กาญจนาภิเษก พัฒนาและแก้ปัญหาให้กับเยาวชนที่ก้าวพลาด ทั้งมีโครงการให้โอกาสเด็กได้ภูมิใจได้ร่วมแสดงออกเพราะเชื่อว่า การสร้างให้เด็กเชื่อว่าจะไม่ทิ้ง หล่อหลอมให้เติบโตแล้วหยอดด้านการศึกษา สอนไม่เน้นให้สตางค์แต่สอนให้รู้จักหาสตางค์

 

กิน-อยู่-เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต ร่วมรู้สึกไปครูเล็กที่กล่าวว่าการทำงานตรงนี้ วิเศษมากที่ส่งเสริมให้เยาวชนเหล่านี้เป็นของสวยงามอย่างแท้จริง

 

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=664084960985249&id=364040850989663

kinyupen