ชำแหละเฟคนิวส์ “โควิด-19” รู้ทันข่าวปลอม 7 ประเภท

0
1279
kinyupen

ปัจจุบัน เฟคนิวส์ หรือ ข่าวปลอม กลายเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามาก เพราะแม้ไม่มีสถานการณ์โรคระบาดแบบในปัจจุบัน ด้วยธรรมชาติของคนไทยในยุคที่โซเชียลมีเดียแพร่หลายกันทุกบ้าน ไม่ว่าจะเป็นความหวังดี ความห่วงใย หรือ ต้องการแสดงตนว่ารู้เร็วรู้ก่อนก็ตาม ทำให้เกิดการแชร์ “เฟคนิวส์” กันว่อนเน็ตอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว  ซึ่งทราบไหมว่า โลกของเราก็มีการแบ่งประเภทเฟคนิวส์กันไว้ด้วยนะ โดยกินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต ได้รวบรวมตัวอย่างเฟคนิวส์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงโควิด-19 มาชำแหละให้ได้เห็นกัน

 

Claire Wardle แห่ง First Draft News องค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเฟคนิวส์ ร่วมกับ Social Media และ Publisher อีกกว่า 30 ราย รวมถึง Facebook, Twitter, New York Times หรือ BuzzFeed แบ่งข่าวปลอมออกเป็น 7 ประเภท1.Satire or Parody – เสียดสี ล้อเลียน  2.False connection – โยงมั่ว 3.Misleading – จงใจให้เข้าใจผิด 4.False Context – ผิดที่ผิดทางรูป, ข้อความ, คำพูด แต่เอามาใช้แล้วพูดถึงอีกเรื่องหนึ่ง 5.Imposter – มโนที่มาข้อมูล รายงานข่าวแบบปกติ คือ อ้างถึงบุคคลหรือ แหล่งข่าว เช่น คนนี้กล่าวไว้ว่า, แต่คนเขียนข่าวคิดหรือมโนขึ้นมาเอง 6. Manipulated – จัดฉากข้อมูล ปลอม ตัดต่อ7.Fabricated – สวมรอย ปลอมมันทั้งเว็บ เช่น ปลอมเป็น ข่าวสด ปลอมเป็นไทยรัฐ หรือ การปลอมเป็นบุคคล แล้วรายงานข่าว ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีทั้งแบบที่ไม่มีพิษมีภัย จนถึงประเภทที่ส่งต่อความเข้าใจผิดๆ ที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้หลงเชื่อทั้งด้านสุขภาพ ความเป็นอยู่ หรือ ความเชื่อ

เพราะทุกวันนี้ผู้คนเข้าถึงช่องทางข่าวสารง่ายขึ้น รู้จักเฟคนิวส์มากขึ้น จึงไม่ได้ต้องการข่าวสารที่รวดเร็วเพียงอย่างเดียว แต่ต้องการข่าวสารที่ถูกต้องด้วย ดังนั้นช่วงนี้ “เมื่อได้รับข่าวสารใดๆ โดยเฉพาะช่องทาง Line หรือ Facebook ที่ไม่มีการอ้างอิงที่มาอย่างเป็นทางการ หรือ มาจากสำนักข่าวหลักที่น่าเชื่อถือได้แล้วละก็ โปรดรอยืนยันสักนิดก่อนแชร์ต่อ อย่าด่วนแชร์เร็วเกินไป เพราะความปรารถนาดีของท่านกลายเป็นผลเสียต่อผู้รับสารก็เป็นได้”

นี่คือตัวอย่างเฟคนิวส์ที่เราพบเจอในปัจจุบัน

 

 

1.) Satire/Parody เสียดสี ล้อเลียน  นำเหตุการณ์มาวิพากษ์วิจารณ์เพื่อให้เกิดความตลก แต่ไม่ตั้งใจให้เกิดความเสียหาย

 

2.) False Connection – โยงมั่ว พาดหัวข่าว ภาพประกอบ หรือ แคปชั่น ไม่ได้ไปด้วยกันกับเนื้อหาของข่าว ซึ่งอาจเกิดจากความไม่รู้ หรือ การพยายามหารายได้ เช่น อ้างผลวิจัย พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ด้วยการ “ดื่มน้ำอุ่น-น้ำขิง-กินกระเทียม” หรือ การหลอกขายผลิตภัณฑ์ Virus Shut Out หรือ ป้ายห้อยคอฆ่าไวรัสโควิด-19 ที่อ้างว่ามาจากญี่ปุ่น ซึ่งความเป็นจริงแล้ว ญี่ปุ่นก็ได้รับผลกระทบจากการระบาดไม่น้อยกว่าเรา


3.) Misleading Content – จงใจทำให้เข้าใจผิด
ในประเด็น หรือ ตัวบุคคล ด้วยเป้าหมายบางอย่าง เช่น อ้างคลิปสัมภาษณ์ ผวจ.สุรินทร์ เผย สถานการณ์ COVID-19 มีคนติดเชื้อ 100,000 คน

 

4.) False Context – ผิดที่ผิดทาง คือการเอาเหตุการณ์หนึ่งมาใส่ในอีกที่หนึ่ง เช่น อ้างนายกฯ ลงพื้นที่ปลุกคน สู้ โควิด-19 กลางถนน หากในความเป็นจริงแล้วนี่คือใช้ภาพจากเหตุการณ์ที่นายกฯ ลงพื้นที่ถนนคนเดินเยาวราช​ รณรงค์กระตุ้นเศรษฐกิจ​หมุนเวียน​ พร้อม​ร่วมร้องเพลง​อวยพรปีใหม่​ ​ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกันแต่อย่างใด

 

5.) Imposter Content – มโนที่มาข้อมูล อ้างแหล่งที่มา อ้างบุคคลตำแหน่งสำคัญ เช่น คลิปเสียงคณบดีแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล แจ้งวิธีปฏิบัติตัวในช่วงการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19

 

6.) Manipulated Content – จัดฉากข้อมูล ปลอม ตัดต่อ เพื่อวัตถุประสงค์ในการลวงผู้รับสาร เช่น ชาวเน็ตพบโค้ด “เว็บเราไม่ทิ้งกัน” ผิดปกติ เหมือนจงใจให้เว็บล่มหรือปิด

 

7.) Fabricated Content สวมรอย ปลอมมันทั้งเว็บ เช่น ปลอมเป็น ข่าวสด ปลอมเป็นไทยรัฐ หรือ สร้างเนื้อหาปลอมแบบ 100%  เช่น ร้านสะดวกซื้อชื่อดัง แจกบัตรกำนัลมูลค่า 500 บาท

หากท่านใดต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม หรือ ต้องการตรวจสอบว่าข้อมูลที่ได้รับมาจริงหรือไม่ สามารถติดตามได้จาก www.antifakenewscenter.com  หรือ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ซึ่งสามารถค้นหาข่าวปลอม เพื่อ เช็ค ชัวร์ ก่อนแชร์ และยังสามารถแจ้งเบาะแสข่าวปลอมได้อีกด้วย

 

เกร็ดควรรู้ : Fake News ยังเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 คือ นำข้อความเท็จเข้าระบบคอมพิวเตอร์ อันก่อให้เกิดความเสียหาย สร้างความตื่นตระหนก กระทบต่อสังคม มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วน “ผู้ส่งต่อ” โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลเท็จ ก็ถือว่ามีความผิดเท่ากับ “ผู้กระทำผิด” ต้องรับอัตราโทษเช่นเดียวกัน

ที่มาจาก :

https://www.rainmaker.in.th/7-type-of-fake-news/

https://en.unesco.org/node/296002…

https://www.collinsdictionary.com/diction…/english/fake-news

kinyupen