บสย. ปลื้ม ไตรมาส1/2566 โตเกินคาด 196% ช่วย SMEs ได้มาก ยอดค้ำ แตะ 33,000 ล้านบาท

0
445
kinyupen

บสย. ปลื้ม SMEs เข้าถึงแหล่งทุนเพิ่ม ไตรมาส 1/2566 เติบโตทะลุเป้า อนุมัติค้ำพุ่ง 196% วงเงิน 32,199 ล้านบาทช่วย SMEs ได้สินเชื่อกว่า 8,900 ราย  สร้างสินเชื่อในระบบเศรษฐกิจ 36,609 ล้านบาท ก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ 132,982 ล้านบาท คิดเป็น 4.13 เท่าของวงเงินค้ำประกัน และรักษาการจ้างงานรวมได้กว่า 226,641 ตำแหน่ง เผยปัจจัยบวก ผลจากการเร่งขยายความช่วยเหลือ SMEs และรายย่อย Micro ฟื้นฟูกิจการของสถาบันการเงิน มั่นใจไตรมาส 2 กลไกรัฐหนุนมาตรการค้ำประกัน “บสย. SMEs เข้มแข็ง” 50,000 ล้านบาท พร้อมยกระดับ ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs ปั้นโมเดลใหม่ขยายตัวสู่ภูมิภาค ตามแผนขับเคลื่อนองค์กรสู่ Digital SMEs Gateway

นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่าผลดำเนินงานค้ำประกันสินเชื่อ ไตรมาส 1/2566 (1 ม.ค.-31 มี.ค.) เติบโตเกินเป้าที่วางไว้ 196% อนุมัติค้ำประกันสินเชื่อ รวม 32,199 ล้านบาท อนุมัติหนังสือค้ำประกัน (LG) รวม 9,147 ฉบับ ช่วยผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับสินเชื่อกว่า 8,900 ราย ในจำนวนนี้มีลูกค้ารายใหม่ 4,719 ราย ก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ (Economic Benefit) 132,982 ล้านบาท คิดเป็น 4.13 เท่าของวงเงินค้ำประกัน โดยคิดเป็นสัดส่วนการช่วยเหลือผู้ประกอบการSMEs (SME Penetration Rate) 23.57% และรักษาการจ้างงานรวมได้กว่า 226,641 ตำแหน่ง

วงเงินอนุมัตค้ำประกันสินเชื่อ 32,199 ล้านบาท มาจาก 4 โครงการ ได้แก่

1.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ พ.ร.ก.สินเชื่อฟื้นฟู วงเงิน 22,053 ล้านบาท (69%) ค้ำต่อรายเฉลี่ย 5.81 ล้านบาท

2.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ ที่ บสย. พัฒนาขึ้น หรือ Commercial Product ( BI7 ,Renew ,RBP )  

วงเงิน 8,744 ล้านบาท (27%) ค้ำต่อรายเฉลี่ย 2.10 ล้านบาท

3.โครงการ “บสย. SMEs เข้มแข็ง” (PGS10) ลงนาม MOU ร่วมกับ 18 สถาบันการเงิน เมื่อ 15 มีนาคม 2566 วงเงิน755 ล้านบาท ค้ำต่อรายเฉลี่ย 0.99 ล้านบาท

4.โครงการอื่นๆ วงเงิน 647 ล้านบาท ค้ำเฉลี่ยต่อราย 1.55 ล้านบาท

ปัจจัยที่ส่งผลต่อยอดอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อไตรมาส 1 สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้กว่าเท่าตัว มาจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์สินเชื่อของสถาบันการเงินต่างๆ ตามมาตรการรัฐ เพื่อเร่งขยายความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs และรายย่อย Micro ให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ผ่านกลไกค้ำประกันสินเชื่อ ของ บสย. โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการค้ำประกันสินเชื่อดอกเบี้ยถูก ( พ.ร.ก. สินเชื่อฟื้นฟู เฟส 2 ) มีการอนุมัติวงเงินค้ำประกันสินเชื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อสูงถึง 22,053 ล้านบาท ผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภาคท่องเที่ยวและจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น การบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่อง และการขยายตัวของภาคการเกษตรโดย 5 อันดับกลุ่มธุรกิจค้ำประกันสูงสุด ได้แก่

1.กลุ่มธุรกิจบริการ 10,351 ล้านบาท สัดส่วน 32.1% เพิ่มขึ้น 4.8% (เทียบระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน )

2.กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 2,981 ล้านบาท สัดส่วน 9.3%

3.กลุ่มการผลิตสินค้าและการค้า 2,787 ล้านบาท สัดส่วน 8.7%

4.กลุ่มยานยนต์ 2,786 ล้านบาท สัดส่วน 8.7% เพิ่มขึ้น 2.4% (เทียบระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน )

5.กลุ่มเกษตรกรรม 2,675 ล้านบาท สัดส่วน 8.3%

6.อื่นๆ 10,619 ล้านบาท

สำหรับแผนงาน ไตรมาส 2 บสย. ตั้งเป้าค้ำประกันสินเชื่อ 23,200 ล้านบาท ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ“บสย.SMEs เข้มแข็ง” วงเงิน 50,000 ล้านบาท และโครงการที่ บสย. พัฒนาขึ้น  หรือ Commercial Product สำหรับมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูและสินเชื่อเพื่อการปรับตัว  ได้รับความเห็นชอบอนุมัติขอขยายเวลาออกไปอีก 1 ปี สิ้นสุดโครงการ 9 เมษายน 2567

ทั้งนี้ บสย. ได้เตรียมยกระดับการบริการศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน SMEs หรือ บสย. F.A.Center โมเดลใหม่ เพื่อความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้เข้ารับคำปรึกษา โดยเตรียมขยายบริการสู่ภูมิภาค การจับคู่ความร่วมมือระหว่าง บสย. กับหน่วยงานต่างๆ ในการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มธุรกิจเพื่อความยั่งยืน  BCG Model   โดย บสย. เตรียมเปิดตัว ผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อ Smart Green ฟรีค่าธรรมเนียม 4 ปี  ค้ำประกันตั้งแต่ 1 – 40 ล้านบาท

kinyupen

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here