รัฐบาลกําหมัดแก๊งบัญชีม้า-ซิมม้าโดนแน่! พ.ร.ก.ปราบอาชญากรรมออนไลน์มีผลใช้แล้ว

0
530
kinyupen

ดีอีเอส จับมือ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สํานักงาน กสทช. ธนาคาร แห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หารือ หลัง พ.ร.ก. ปราบอาชญากรรมออนไลน์มีผลบังคับใช้วันนี้ ปลื้ม 7 หน่วยงานขานรับ มั่นใจลดความเสี่ยง ประชาชนโดนดูดเงินผ่านช่องทางดิจิทัล บรรเทาการสูญเสียทรัพย์ได้แน่

ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 รัฐบาลได้แจ้งข่าวผ่านเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ว่า ได้มีการออกพระ ราชกําหนด (พ.ร.ก.) ปราบอาชญากรรมออนไลน์ โดยพระราชกําหนดนี้ เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยมาตรการป้องกันและ ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 เพื่อคุ้มครองประชาชนผู้สุจริตซึ่งถูกหลอกลวงจนสูญเสียไปซึ่ง ทรัพย์สิน โดยผ่านโทรศัพท์ หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และในแต่ละวันมีผู้ถูกหลอกลวงจํานวนมาก มีมูลค่าความ เสียหายสูงมาก รวมถึงเพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศความปลอดภัยของสาธารณะ และความมั่นคงในทาง เศรษฐกิจของประเทศ โดยการประกาศในราชกิจจานุเบกษา จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 17 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ กระทรวงฯ ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สํานักงาน กสทช. ธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สํานักงานป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน (ปปง.) และผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ หารือเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับกระบวนการดําเนินงาน และช่องทางสําหรับให้ประชาชนผู้เดือดร้อนแจ้งเรื่อง หลังจากนี้ กระทรวงฯ จะนําเสนอนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง คณะกรรมการ เพื่อกําหนดแนวทางรายละเอียดต่างๆ ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีตามที่ ได้หารือกันในวันนี้ต่อไป

โดยให้สํานักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมทําหน้าที่หน่วยธุรการของ คณะกรรมการดังกล่าว โดยปลัดกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการของสํานักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ ร่วมกับข้าราชการจากสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ บัญชาการตํารวจแห่งชาบติเป็นผู้ช่วยเลขานุการร่วมด้วย “เมื่อ พ.ร.ก.ปราบอาชญากรรมออนไลน์ ประกาศใช้แล้ว ผู้เสียหายสามารถแจ้งธนาคารระงับบัญชีม้าได้ ทันที ซึ่งกฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายสําคัญ ที่รัฐบาลผลักดันออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาการหลอกลวงทางออนไลน์ และปัญหาอาชกรรมทางออนไลน์ทั้งหมด คาดว่าปัญหาจะลดลงอย่างแน่นอนสําหรับบทลงโทษสูงสุดของ ผู้กระทําความผิดที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมออนไลน์ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 2-5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 500,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ” ปลัดกระทรวงฯ กล่าว


นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกํากับระบบการชําระเงินและคุ้มครองผู้ใช้บริการ ทางการเงิน ธปท. กล่าวว่า “พ.ร.ก. มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีนี้ จะมีบทบาท สําคัญในการจัดการปัญหาภัยทางการเงินได้อย่างตรงจุด และเมื่อผนวกกับชุดมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน ของ ธปท. ที่จะยกระดับการป้องกัน ตรวจจับ ตอบสนองและรับมือต่อภัยการเงินในภาคการธนาคารให้เป็นมาตรฐาน เดียวกันแล้ว จะช่วยให้การแก้ปัญหาทําได้ครบวงจรยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ธปท. จะติดตามและเร่งให้สถาบันการเงินดําเนินการ ตาม พ.ร.ก. และมาตรการของ ธปท. ให้แล้วเสร็จตามกําหนด รวมถึงประเมินประสิทธิผลเพื่อปรับปรุงการรับมือของ ภาคการธนาคารต่อภัยการเงินอย่างต่อเนื่องและเท่าทัน”

พ.ต.ต. สุริยา สิงหกมล อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ ในฐานะหน่วยงาน บังคับใช้กฎหมาย ที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2565 ร่วมกับ กระทรวงดิจิทัลเพื่อ เศรษฐกิจและสังคม สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แก้ไขปัญหาการ ฉ้อโกงและหลอกลวงประชาชนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ นํามาสู่การออกพระราชกําหนดมาตรการป้องกันและ ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 นี้ขึ้น

โดยมีกลไกหลักสําคัญในการจัดการกับบัญชีม้า การ แลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างสถาบันการเงินเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงิน รวมถึงผู้ประกอบการโทรศัพท์ ในกรณีที่มีเหตุ อันควรสงสัยว่ามีหรืออาจมีการกระทําความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจ ต้องเปิดเผยข้อมูลหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีและธุรกรรมของลูกค้าที่น่าสงสัย รวมทั้งสามารถระงับบัญชีต้อง สงสัยได้เป็นการชั่วคราว ไม่ต้องรอเกิดเหตุ เพื่อเป็นการป้องกัน สําหรับประชาชนผู้เสียหาย สามารถโทรแจ้งให้ ธนาคารระงับบัญชีต้องสงสัยได้ทันที และยับยั้งการโอนเงินทุกธนาคารที่รับโอนเงินต่อ และกฎหมายนี้ช่วยอํานวย ความสะดวกในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัย สาธารณะ และความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ

นายวิทยา นีติธรรม ผู้อํานวยการกองกฎหมาย สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สํานักงาน ปปง.) กล่าวว่า ได้มีการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการปฏิบัติตามพระราชกําหนดฉบับนี้ โดยใช้ศูนย์ปฏิบัติการป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน ในการรองรับข้อมูลที่ได้จากธนาคารและสํานักงานตํารวจแห่งชาติตามพระราชกําหนด ฉบับนี้ และสํานักงาน ปปง. ยังได้ร่วมประชุมกับสมาคมธนาคารไทยและสํานักงานตํารวจแห่งชาติมาโดยตลอดในเรื่อง ของระบบการรับส่งข้อมูลให้มีประสิทธิภาพและความรวดเร็ว นอกจากนี้ได้ร่วมมือกับสํานักงานตํารวจแห่งชาติเพื่อ จัดทํารายชื่อบุคคลที่มีความเสี่ยงว่าเกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดมูลฐานหรือการฟอกเงินจัดส่งให้กับธนาคารเพื่อ เฝ้าระวังและระงับช่องทางการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กรณีตรวจสอบพบว่าเข้าข่ายบัญชีม้าหรือคาดว่าจะเป็น บัญชีม้าเพื่อไม่ให้ถูกใช้ในการกระทําความผิดต่อไป สํานักงาน ปปง. อยากให้ความมั่นใจกับทุกภาคส่วนว่าจะให้ความ ร่วมมือและดําเนินการอย่างเต็มที่เพื่อแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นกับประชาชนให้หมดไป

ส่วนสํานักงานตํารวจแห่งชาติ พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. กล่าวว่า พ.ร.ก.มาตรการป้องกัน และปราบปรามอาญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566 ให้ผู้เสียหายสามารถแจ้งความกับพนักงานสอบสวนได้ทั่วประเทศ หรือผ่านระบบการรับแจ้งความออนไลน์ ซึ่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติจะเตรียมความพร้อมในส่วนพนักงาน สอบสวนและระบบการรับแจ้งความออนไลน์ ให้รองรับ พ.ร.ก.นี้ นอกจากนี้สํานักงานตํารวจแห่งชาติจะได้กวดขัน จับกุมผู้กระทําความผิดฐานเปิดบัญชีม้าและซิมม้า รวมถึงผู้เป็นธุระจัดหาหรือโฆษณาบัญชีม้าและซิมม้ามาดําเนินคดี ต่อไป

นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน รองเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า สํานักงาน กสทช. ใน ฐานะหน่วยงานกํากับดูแลกิจการโทรคมนาคม พร้อมสนับสนุนการดําเนินงานภายใต้ พ.ร.ก. มาตรการป้องกันและ ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566 (พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามฯ) และประสานความ ร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลการให้บริการที่อาจเกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดอาชญากรรมเทคโนโลยีร่วมกับกระทรวง ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมทั้งกําชับให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมทุกรายปฏิบัติตาม พ.ร.ก. มาตรการป้องกันและปราบปรามฯ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการหลอกลวงทางออนไลน์ และปัญหาอาชญากรรมทางออนไลน์ พร้อมทั้งสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนเพื่อให้เกิดความระมัดระวังตัวจาก กลโกงของมิจฉาชีพ ทั้งนี้ สํานักงาน กสทช. จะมีการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกําหนดมาตรการป้องกัน และปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในรายละเอียดต่อไป

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า พระราชกําหนด (พ.ร.ก.) มาตรการป้องกันและ ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 17 มีนาคม 2566 เป็นเครื่องมือสําคัญทําให้การจัดการภัยทางการเงิน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ได้แก่ พรก.มีบทลงโทษที่ชัดเจนสําหรับผู้กระทําผิด รวมทั้งผู้เปิดบัญชีม้า และ ผู้ให้การสนับสนุน รวมถึงทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ตํารวจ และ ธนาคาร ให้ สามารถแชร์ข้อมูลผู้กระทําผิดข้ามธนาคารได้โดยอัตโนมัติ และสามารถบล๊อกบัญชีที่ต้องสงสัยชั่วคราวได้ทันที โดยไม่ ต้องรอแจ้งความ เพื่อลดบัญชีม้าที่มิจฉาชีพใช้เป็นช่องทางในการเอาเงินออกจากบัญชีผู้เสียหายได้ ซึ่งสมาคมธนาคาร ไทยตระหนักถึงความสําคัญในการดูแลช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้บริการจําเป็นต้องรู้เท่า ทันภัยทางการเงิน และปฏิบัติตามแนวทางการใช้งานโมบายแบงกิ้งให้ปลอดภัย ซึ่งเป็นเกราะป้องกันภัยสําคัญจากภัย ทางการเงิน

kinyupen

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here