“น้องกวิ้น” อาจเหลือแค่ชื่อ หากโลกลดก๊าซคาร์บอนไม่สำเร็จ

0
574
kinyupen

อย่าปล่อย “น้องกวิ้น” กลายเป็นแค่ความทรงจำ หรืออยู่ในหมวดสัตว์สูญพันธุ์ที่เคยมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ เพราะล่าสุด นักวิจัยเค้าเปิดเผยความน่าจะเป็นไปได้ว่าแพนกวิ้นอาจสุญพันธุ์ในปี 2100 หากโลกเรายังร้อนขึ้นเรื่อยๆ และมีปริมาณก๊าซคาร์บอนสะสมในชั้นบรรยากาศมากขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อน กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต ขอนำผู้อ่านมาติดตามเรื่องราวนี้ไปพร้อมกันค่ะ

สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานผลวิจัยที่เผยแพร่ผ่านวารสาร PLOS Biology เมื่อวันพฤหัสบดี (22 ธ.ค.) พบว่า สายพันธุ์สิ่งมีชีวิตท้องถิ่นของแอนตาร์กติกา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพนกวินจักรพรรดิ อาจหมดไปภายในสิ้นศตวรรษ 2100 หากโลกยังดำเนินธุรกิจในรูปแบบเดิมและไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซมลพิษได้สำเร็จ

‘จัสมิน ลี’ หัวหน้าผู้เขียนวิจัยให้สัมภาษณ์กับซีเอ็นเอ็นว่า แอนตาร์กติกาไม่ได้ทำให้เกิดสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เนื่องจากไม่มีประชาชนอาศัยอยู่มากนัก ดังนั้น ผลกระทบต่อทวีปนี้มาจากทวีปอื่น ๆ

“เราอยากให้โลกจัดการกับสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง รวมถึงมีความพยายามอนุรักษ์ภูมิภาคและท้องถิ่นให้มากขึ้น เพื่อมอบโอกาสที่ดีที่สุดแก่สิ่งมีชีวิตในทวีปให้ดำรงอยู่ต่อไปในอนาคต”

นอกจากนี้ ผลการศึกษา พบว่า แผ่นน้ำแข็งที่หายไป ส่งผลกระทบต่อนกทะเลหลายสายพันธุ์ อย่างเช่น เพนกวินจักรพรรดิและเพนกวินอาเดลี ที่ต้องพึ่งพาน้ำแข็งในเดือนเม.ย.-ธ.ค. เพื่อสร้างรังสำหรับลูกน้อย หากน้ำแข็งละลายอย่างรวดเร็วหรือน้ำแข็งเกิดช้าในฤดูถัดไป เนื่องจากอุณหูมิสูงขึ้น เพนกวินอาจสืบพันธุ์ได้ยากลำบาก

“เป็นเรื่องน่าเศร้าอย่างมากที่ต้องคิดว่าเราปล่อยให้สิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์ ต้องสูญพันธุ์ในอนาคต” ลีกล่าว

ทั้งนี้ ผลวิจัยบ่งชี้ว่า เพนกวินจักรพรรดิ เป็นสิ่งมีชีวิตที่อ่อนไหวที่สุดในแอนตาร์กติกา ซึ่งสมมติฐานที่แย่ที่สุด ระบุว่า เพนกวินชนิดนี้อาจสูญพันธุ์ภายในปี 2100

และผลวิจัยอีกชิ้นเมื่อต้นปีนี้ เผยว่า การที่มนุษย์เข้ามาในทวีปนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้หิมะละลายเร็วขึ้น โดยนักวิทยาศาสตร์พบคาร์บอนสีดำ มลพิษฝุ่น มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในพื้นที่ที่มนุษย์ปักหลักอาศัยอยู่ แม้ก่อให้เกิดมลพิษเพียงน้อยนิด อาจส่งผลให้ต่อการละลายของน้ำแข็งได้

นอกจากนี้ ผลการศึกษาได้เปิดเผยมาตรการหลายทางที่คุ้มค่า ซึ่งอาจมีต้นทุนประมาณ 1,920 ล้านดอลลาร์ในอีก 83 ปีข้างหน้า หรือประมาณ 23 ล้านดอลลาร์/ปี ซึ่งเป็นเพียงเศษเสี้ยวของเศรษฐกิจโลก

โดยมาตรการดังกล่าว รวมการจัดการและลดกิจกรรมของมนุษย์ให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อปกป้องสิ่งมีชีวิตท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการควบคุมสิ่งมีชีวิตนอกถิ่นและโรคต่าง ๆ ในภูมิภาค และรวมถึงการเน้นนโยบายต่างประเทศ เช่น ข้อตกลงปารีส ที่ต้องควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นมากกว่า 1.5 องศา

ด้าน ‘ผศ.ดร.แคสแซนดรา บรู๊ก’ จากมหาวิทยาลัยโคโลราโดโบลเดอร์ ผู้วิจัยสัตว์ทะเลในแอนตาร์กติกา กล่าวว่า การศึกษาดังกล่าวมาถูกเวลาและมีความสำคัญในการดึงดูดความสนใจว่า ความหลากหลายทางชีวภาพในแอนตาร์กติกานั้นวิกฤตมากเพียงใด

“เมื่อพูดถึงสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ตอนนี้เราอยู่ในจุดเปลี่ยนที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่แค่แอนตาร์กติกา แต่เป็นจุดเปลี่ยนทั่วโลก เรามีโอกาสที่จะหยุดมันและถ้าเราไม่ทำอะไรตอนนี้ หลังจากนั้นคงมีผลกระทบใหญ่หลวง และเลวร้ายยิ่งกว่าที่เป็นไปได้”

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

kinyupen

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here