รู้หรือไม่? “โค้ก” เป็นยาที่คิดค้นโดยเภสัชกร

0
1164
kinyupen

“โค้ก” น้ำอัดลมยอดนิยมทั่วโลก ด้วยความซ่า ความชื่นใจ จัดเป็นเครื่องดื่มสุดโปรดของใครหลายคน แม้จะรู้อยู่แก่ใจว่าส่งผลเสียต่อสุขภาพ แต่คุณรู้หรือยัง? โค้กถูกคิดค้นโดยเภสัชกร ซึ่งเดิมทีเป็นยาที่ขายตามร้านขายยา! กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตมีจุดกำเนิดโค้ก มาเล่าให้ฟังเป็นเกร็ดความรู้สนุกๆ กันค่ะ

คุณเคยรู้หรือไม่ว่า ต้นกำเนิดของโค้กมีจุดเริ่มต้นจากเครื่องดื่มบำรุงประสาท ช่วยเลิกมอร์ฟินที่เรียกว่า “ไวน์โคลาฝรั่งเศสของเพมเบอร์ตัน” คิดคันโดย ดร. จอห์น สติธ เพมเบอร์ตัน (John Stith Pemberton) เภสัชกรชาวแอตแลนตา ที่หาหนทางรักษาอาการติดมอร์ฟินของตัวเอง

เขาทำเครื่องดื่มที่มีสารประกอบหลักเป็นโคเคนที่สกัดจากใบโคคา มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท เมล็ดโคลาที่มีสารกาเฟอีน และมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ทำออกวางจำหน่ายครั้งแรกในร้านขายยาชื่อ เจคอบ ฟาร์มาชี เมื่อ ค.ศ. 1880 หลังวางจำหน่ายก็ได้รับการตอบรับอย่างท่วมท้น

ปรับสูตรครั้งที่ 1

วันหนึ่งรัฐแอตแลนตาออกกฎห้ามจำหน่ายแอลกอฮอล์ เขาจึงปรับสูตรใหม่ด้วยการตัดแอลกอฮอล์ออก แทนที่ด้วยน้ำหวาน และนำไปผสมโซดา

ปรับสูตรครั้งที่ 2

มีผู้เชี่ยวชาญออกมาบอกข้อเสียของโคเคน เขาจึงต้องปรับสูตรอีกครั้งจนได้สูตรที่กลายเป็นที่มาของ “โค้ก” น้ำอัดลมระดับโลกที่เราดื่มกันในปัจจุบัน

ดร.จอห์น ตั้งใจขายเป็นยา ที่ช่วยบำรุงสมอง ประสาท แก้ปวดหัวและอาการเมาค้าง รักษาอาการติดมอร์ฟีน ส่วนชื่อนั้นมาจากผู้ช่วยของเขา แฟรงค์ โรบินสัน ที่เสนอชื่อ Coca-Cola พร้อมสโลแกน The Pause that Refreshes ที่ใช้จนถึงปัจจุบัน

ต่อมาได้ขายสิทธิบัตรให้กับนักธุรกิจ เอซา กริกส์ แคนด์เลอร์ แล้วก็กลายเป็น บริษัท เดอะ โคคา-โคลา คัมปะนี จนถึงทุกวันนี้

เกร็ดสนุกๆ (ที่มา innnews)

– คำว่าโค้ก มาจาก โคคา-โคล่า นี้ละ แต่ตอนนั้นต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่เกี่ยวกับโคเคนและกันความเข้าใจผิด

– สูตรโค้กยังเป็นความลับจนถึงปัจจุบัน และสูตรยังถูกเก็บไว้ตู้เซฟอย่างแน่นหนา

– บริษัทโค้กมีเครื่องดื่มในเครือกว่า 130 แบรนด์ +

– ขวดโค้กได้รับแรงบันดาลใจมาจากเมล็ดโกโก้

– โค้กเป็นผู้สนับสนุนกีฬาโอลิมปิกเจ้าแรกของโลก

– โค้กเคยทำกระป๋องที่ส่งไปอวกาศได้

– หากนำหยดโค้กที่คนทั่วโลกรับประทานเข้าไปมาใส่ขวดมันจะยาวจนไปกลับดวงจันทร์ได้เกิน 2 พันครั้ง

แก้วใจ. (2565, กรกฎาคม – กันยายน) . “DID YOU KNOW,” Delight Magazine. 21 (3) : 66–67

kinyupen

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here