กรณีปลดล็อกกัญชาในวันนี้ เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสเต็ปเชิงสัญลักษณ์ของประเทศไทยที่กำลังก้าวทลายการผูกขาดของรัฐบาลที่มีมาอย่างยาวนาน ขณะเดียวกันวันนี้ยังมีอีกข่าวหนึ่งซึ่งคือเรื่องของ ร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า จากพรรคก้าวไกล ที่ตอนนี้ได้ผ่านสภายกที่หนึ่งแล้ว ต้องจับตารอดูว่าจะไปในทิศทางไหน ไม่แน่ในอนาคตอันใกล้ไทยเราอาจจะสามารถผลิตสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่หลากหลายคล้ายกับหลายๆประเทศที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตขึ้นเองในประเทศ วันนี้กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต จะพาคุณมารู้จักกับร่าง พ.ร.บ. สุราก้าวหน้าของพรรคก้าวไกลกันค่ะ
ร่าง พ.ร.บ. #สุราก้าวหน้า หากปลดล็อกแล้วจะเป็นอย่างไร?
ก่อนอื่นต้องบอกแฟนเพจก่อนเลยว่าปัจจุบันในการจะทำการค้าเกี่ยวกับเรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นทุกอย่างจำเป็นต้องอยู่ภายใต้พ.ร.บ. ของกรมสรรพสามิตปี 2560 ที่มีใจความว่า
“ผู้ขออนุญาตต้องเป็นบริษัทจํากัด มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ในกรณีที่เป็นโรงงานเบียร์ขนาดเล็กประเภทผลิตเพื่อขาย ณ สถานที่ผลิตจะต้องมีปริมาณการผลิตไม่ต่ำกว่า 100,000 ลิตรแต่ไม่เกิน 1 ล้านลิตรต่อปี”
หากมองดีๆแล้วคุณจะเห็นว่ากฎหมายเหล่านี้นั้นถูกสร้างมาเพื่อ “กันเหนียว” ให้กับกลุ่มของนายทุน(รายใหญ่)เครื่องดื่มแอลกอฮอล์คุมตลาด ประชาชนทั่วไปที่สนใจจะทำการค้าหรือทำธุรกิจนี้ก็ไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้เลย เรียกได้ว่าปิดช่องทางรวยของประชาชนเลยก็ว่าได้
จากพรรคก้าวไกล. . . สู่ #สุราก้าวหน้า
เริ่มต้นจากพรรคก้าวไกล . . . สู่การก้าวสู่ ร่าง พ.ร.บ. #สุราก้าวหน้า จากกรณีของ “นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร” ส.ส.กรุงเทพฯ จากพรรคก้าวไกล อดีตเขาเคยเป็นคนทำคราฟต์เบียร์มาก่อน โดยเรียกได้วว่าเขานั้นได้รับผลกระทบจากกฎหมายฉบับนี้(พ.ร.บ.ของกรมสรรพสามิตปี 60)โดยตรง เขาในฐานะเป็นคนที่สามารถเป็นกระบอกเสียงหนึ่งได้ จึงได้ออกมาเดินหน้าผลักดัน ‘ร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า’ หรือ ร่าง พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต จนเช้าวันนี้ที่ผ่านมานั้นได้รับการอนุมัติยกแรกจากสภาฯเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
อย่างไรก็ตามหลายคนที่อ่านมาถึงตรงนี้อาจจะสงสัยใช่ไหมคะว่า พ.ร.บ.สุราก้าวหน้านี้เอื้อให้กับนายทุนผู้ผลิตเพียงอย่างเดียว ว่าจะอย่างนั้นก็ไม่ใช่สักทีเดียวค่ะ เนื่องจาก พ.ร.บ.นี้ เปิดโอกาสทำให้เกิดผู้ผลิตในตลาดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น ใช่ค่ะผู้บริโภคเองก็ย่อมได้รับผลดีเช่นเดียวกัน จะพูดง่ายๆก็คือ ผู้บริโภคจะมีตัวเลือกในการบริโภคมากขึ้นค่ะ อีกทางหนึ่งเมื่อมีผู้ผลิตหลายรายก็ย่อมเกิดการแข่งขันกันด้วยเรื่องของราคา ส่งผลให้ผู้บริโภคอาจจะได้ดื่มเบียร์หรือสุราในราคาที่ถูกลงกว่าปัจจุบันอีกหลายเท่าตัวด้วย
วันนี้กินอยู่เป็นเลยจะมาขอสรุป พ.ร.บ. ของกรมสรรพสามิตปี 60 เทียบกับ พ.ร.บ. สุราก้าวหน้าให้ชาวแฟนเพจเห็นภาพง่ายๆ
พ.ร.บ. ของกรมสรรพากร ปี 60 VS พ.ร.บ. สุราก้าวหน้า
1. ในพ.ร.บ. ฉบับปี 60 ประชาชนทั่วไปจะไม่สามารถต้มเหล้าทานเองได้ แต่ใน#สุราก้าวหน้า มีใจความที่จะยกเลิกกฎหมายนี้ โดยประชาชนทั่วไปสามารถผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างถูกกฎหมาย
2. ในพ.ร.บ. ฉบับปี 60 ว่าด้วยหากต้องการผลิตโรงงานเหล้าขาว จำเป็นที่จะต้องมีเครื่องจักรต่ำกว่า 5 แรงม้าและมีคนงงานน้อยกว่า 7 คน ส่วน#สุราก้าวหน้า นั้นไม่กำหนดกฎเกณฑ์ขั้นต่ำอะไรเลย
3. ในพ.ร.บ. ฉบับปี 60 โรงงานผลิตเหล้ากลั่นจำเป็นต้องมีกำลังการผลิต 90,000 ลิตรต่อวันที่ 28 ดีดรี ซึ่ง#สุราก้าวหน้าไม่ได้กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำ
4. สำหรับโรงงานผลิตเบียร์ ในพ.ร.บ. ฉบับปี 60 กล่าวว่า โรงงานต้องผลิตอยู่ที่ 10 ล้านลิตรต่อปี แต่#สุราก้าวหน้า ไม่กำหนดกฎเกณฑ์ขั้นต่ำ
5. สำหรับทุนจดทะเบียนเบียร์ ในพ.ร.บ. ฉบับปี 60 ระบุว่าผู้ที่ต้องการจดทะเบียนจำเป็นต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบ้าน แต่ใน#สุราก้าวหน้า มีใจความว่าทุนเท่าไรก็สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้
6. สำหรับผู้ผลิตที่ต้องการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขายในร้าน ในพ.ร.บ. ฉบับปี 60 แจ้งว่า ต้องมีกำลังการผลิตไม่ต่ำกว่า 1 แสนลิตรต่อปี แต่ไม่เกิน 1 ล้านลิตร แต่#สุราก้าวหน้า ไม่กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำ
อย่างไรก็ตามเรื่องของ พ.ร.บ. สุราก้าวหน้า ก็ต้องจับตาดูกันต่อไปว่าจะกลายเป็นเรื่องจริงหรือดับฝัน และประเทศไทยจะก้าวทลายปัญหาการค้าผูกขาดนี้ได้หรือไม่?