HOW TO รับมือกลโกงอย่างไร ในยุคไซเบอร์?

0
1193
kinyupen

ท่ามกลางโลกปัจจุบันที่หันเข้าสู่เทคโนโลยีมากขึ้น ส่งผลให้คนส่วนใหญ่จึงได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเป็นออนไลน์มากขึ้น เช่นเดียวกันกับพวกมิจฉาชีพในปัจจุบันที่ใช้โลกออนไลน์ปกปิดตัวตน อาศัยช่องโหว่ในการแฮ็กข้อมูลส่วนตัวของเราง่ายขึ้นด้วย วันนี้กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต จะมาแนะนำฮาวทูรับมืออย่างไรในยุคไซเบอร์ จาก KTP Journey มาฝาก

การรับมือในยุคสังคมไร้เงินสดป้องกันตนเองเบื้องต้นได้ง่ายๆ โดย

1) ระมัดระวังไม่หลงเชื่ออีเมลลวง โดยปกติแล้วทุกธนาคารและสถาบันการเงินจะไม่มีนโยบายแจ้งให้ลูกค้าเข้าใช้บัญชีผ่านทางอีเมล หากได้รับอีเมลหรือข้อความให้เข้าใช้บัญชีผ่านอีเมล แสดงว่าอีเมลพวกนี้อาจจะเป็นอีเมลปลอมที่จะหลอกให้กรอกบัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่านเพื่อขโมยข้อมูลเรา

2) ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสที่น่าเชื่อถือ ปัจจุบันอีกหนึ่งรูปภัยทางโลกออนไลน์ที่น่ากลัวก็คือเรื่องของ มัลแวร์ (Malware) หรือเข้าใจง่ายๆ คือ ไวรัส เป็นโปรแกรมอันตรายที่ถูกเผยแพร่อยู่ในโลกออนไลน์ หากเราเผลอคลิกเข้าไปหรือบังเอิญโหลดข้อมูลที่มีมัลแวร์แฝงอยู่ ก็อาจจะทำให้ข้อมูลในคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนถูกแฮ็คได้ ดังนั้นเราควรมีโปรแกรมป้องกันไวรัสดีๆ ติดเครื่องไว้ เพื่อป้องกันภัยจากมัลแวร์เหล่านั้น

3) ตั้งการแจ้งเตือนเมื่อมีการทำธุรกรรมผ่าน SMS หรือให้อีเมลกับธนาคารและสถาบันการเงิน โดยทั่วไปแล้วธนาคารหรือสถาบันการเงินมักจะส่งข้อความ SMS ในทุกๆ ครั้งที่เรามีการทำธุรกรรมทางการเงิน เพื่อแจ้งให้เรารู้ว่าช่วงเวลาไหนมีเงินเข้าหรือออก ดังนั้นเราควรเปิดแจ้งเตือนเหล่านี้ไว้หากเกิดกรณีที่มีเงินออกแต่เราไม่ได้มีการทำธุรกรรมได้ จะได้ดำเนินการติดต่อกับทางธนาคารและสถาบันการเงินได้ทันท่วงที

4) ล็อกเอาต์ออกจากระบบทุกครั้งเมื่อเลิกใช้ อย่างที่รู้ๆ กันว่าหากเรามีการเข้าใช้งานหรือล็อกอินใดๆ ก็ตามในที่สาธารณะไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน ร้านเกม หรือห้องสมุด ทุกครั้งหลังใช้งานควรตรวจเช็กทุกครั้งว่าเรามีการล็อกเอาต์ออกจากระบบหรือเปล่า

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตามหากเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว เราควรเริ่มจากการมีสติก่อนเพราะการมีสติเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้เราแก้ไขปัญหานั้นๆ ได้อย่างรอบคอบ จากนั้นก็เก็บรวบรวมข้อมูลหรือหลักฐานธุรกรรมนั้นๆ ให้ได้มากที่สุดและรีบแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

kinyupen

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here