หมอแจงแล้ว!!! รองเท้าไม่ใช่ตัวการหลักโควิด-19

0
513
kinyupen

จากกรณีที่มีการระบุว่า ผู้ติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 หรือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โรคโควิด-19 (COVID-19) ในต่างประเทศส่วนใหญ่เกิดจากการใส่รองเท้าเข้าบ้านทำให้เชื้อเกิดการแพร่กระจายภายในบ้านจนทำให้เกิดมีผู้ติดเชื้อจำนวนมากนั้น
ล่าสุด (31 มีนาคม 2563) มีการชี้แจงจาก นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ว่ากรณีการติดเชื้อไวรัสจากรองเท้า “ไม่น่าจะเป็นจริง” เนื่องจากเชื้อเข้าร่างกายได้ 2 ทางหลักๆ คือ

1. การหายใจเอาเชื้อเข้าไปโดยตรง คือ มีคนไอจาม ละอองฝอยน้ำลาย ที่มาจากการคนติดเชื้อ ลอยอยู่ในอากาศ แล้วคนหายใจเข้าไป

2. การเอาอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งไปสัมผัสสารคัดหลั่งของเชื้อ

 

ส่วนการใส่รองเท้าเข้าบ้าน ถ้าเรามองว่า เชื้อที่อยู่ตามพื้น แล้วเราใส่รองเท้าเข้าบ้าน อาจจะเป็นความเป็นจริงระดับหนึ่งแต่ไม่ใช่สาเหตุของการติดเชื้อทั้งหมด ซึ่งการใส่รองเท้าเข้าบ้าน อาจเป็นเพียงตัวกลางตัวหนึ่งในการเอาเชื้อเข้าบ้าน

 

แต่ทั้งนี้ จึงแนะนำประชาชน “หมั่นล้างมือบ่อยเมื่อต้องจับสัมผัสสิ่งของ และหลีกเลี่ยงการนำมือไปสัมผัสที่ใบหน้าก่อนล้างมือ” 

 

สำหรับต้นทางของเรื่องราวดังกล่าว มีที่มาจากการเผยแพร่ไวรัลที่เป็นคลิปเสียงของแพทย์ชาวอิตาลีบนโลกออนไลน์ ซึ่งระบุว่า สาเหตุที่อิตาลีมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจำนวนมากต่อวันสาเหตุหนึ่ง เพราะได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 ติดมากับรองเท้าที่สวมใส่ออกนอกบ้าน เนื่องจากชาวอิตาลีส่วนใหญ่สวมรองเท้าเข้าบ้าน

 

ที่ผ่านมาได้มีการวิจัยการดำรงชีวิตอยู่ของเชื้อโควิด-19 เผยแพร่ในสื่อต่างประเทศมาแล้ว ว่าพวกมันสามารถมีชีวิตอยู่บนพื้นรองเท้าได้ถึง 5 วันทีเดียว ก่อนหน้านี้ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำรองเท้า และนักจุลวิทยาได้ออกมากล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่า บนพื้นรองเท้าถือเป็นแหล่งอยู่อาศัยของเชื้อโรคต่างๆ ได้เป็นอย่างดีทั้งแบคทีเรีย เชื้อรา หรือแม้กระทั่งไวรัส เพราะเมื่อผู้คนสวมรองเท้าออกไปตามสถานที่ต่างๆ เชื้อโรคมักจะติดมาด้วย และหากมีการสวมใส่รองเท้าเข้าไปในพื้นที่ส่วนตัวและอ่อนไหวต่อการใช้ชีวิต เช่น ในห้องนอน หรือห้องนั่งเล่นภายในบ้าน ก็เป็นไปได้ว่ามันอาจจะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้

 

ดังนั้นแพทย์ด้านโรคติดต่อจึงออกมาเตือนว่าถึงแม้จะยังไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่ามีการติดเชื้อโคโรนาที่ติดมาจากรองเท้า แต่ทุกคนควรระวังและไม่ควรใช้รองเท้าที่ใส่ออกนอกบ้านเข้ามาในบ้าน หรือควรแยกรองเท้าระหว่างรองเท้าที่ใช้ในบ้านกับรองเท้าที่ใส่ไปทำงานเป็นคนละคู่เพื่อหลีกเลี่ยงความเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นในบ้าน

 

ขณะที่สื่ออังกฤษระบุว่า ได้รับข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อระบุว่า เคยมีการศึกษาเกี่ยวกับวัสดุที่เกี่ยวข้องการทำรองเท้าโดยได้มีการทดสอบที่อุณหภูมิห้อง พบว่าเชื้อโรคสามารถทนอยู่ในพื้นรองเท้าได้ถึง 5 วันหรือมากกว่านั้น เนื่องจากวัสดุทำรองเท้ามักจะเป็นวัสดุที่ไม่มีรูพรุน รวมถึงสารประกอบเช่น ยาง หนัง และพีวีซี ก็เป็นแหล่งอาศัยของแบคทีเรียในระดับสูงอยู่ด้วย

 

นอกจากนี้จากการศึกษาของ นักจุลชีววิทยาผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยอลิโซน่า สหรัฐอเมริกา ยังระบุว่า สารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจที่มีเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งมีโอกาสที่จะเปรอะเปื้อนลงบนรองเท้า ที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์บางชนิดรวมถึงผ้าสแปนเด็กซ์ จะทำให้ไวรัสคงอยู่ต่อไปอีกได้ถึงสองสามวัน ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้คนถอดรองเท้าก่อนเข้าบ้านและไม่ควรนำมันเข้าไปในบ้าน โดยควรมีจุดที่เก็บรองเท้าที่ถูกต้องมีการระบายอากาศได้ดี อย่างไรก็ตามในกรณีนี้อาจจะต้องมีการทำงานวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับเชื้อโรคที่ติดมาจากรองเท้าโดยเฉพาะการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนาเพื่อหาความชัดเจนต่อไป

 

ขณะที่แพทย์ด้านโรคติดต่อ ได้ออกมาย้ำ และแนะนำผู้คนมีรองเท้าคู่หนึ่งโดยเฉพาะเพื่อออกไปข้างนอกแล้วเปลี่ยนรองเท้าให้สะอาดก่อนเข้าบ้าน โดยจะเห็นได้ว่าผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพมักจะเปลี่ยนรองเท้าก่อนเข้าบ้านเสมอเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการทำงาน และควรเช็ดทำความสะอาดรองเท้าทำงานด้วยผ้าบ่อยๆ หรือกรณีเป็นรองเท้าที่ทำจากผ้า ควรทำความสะอาดด้วยการซักด้วยน้ำร้อนและสบู่ เพื่อฆ่าเชื้อโรคด้วย

 

แม้ยังคงไม่มีการยืนยันแน่ชัดว่าการระบาดของโรคโควิด – 19 ในประเทศอิตาลี นั้นจะมีสาเหตุมาจากการใช้ชีวิตที่ไม่นิยมเปลี่ยนหรือถอดรองเท้าก่อนเข้าบ้านหรือไม่ แต่ขณะนี้ชาวตะวันตกก็เริ่มให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิตที่ระมัดระวังมากขึ้น โดยเฉพาะการป้องกันโรคที่ติดมาจากรองเท้าดังกล่าว หลังจากทีมีคำเตือนจากผู้เชี่ยวชาญ และแพทย์จากทั่วโลก ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของตัวและ ความหวังที่จะยุติการระบาดที่ยังรุนแรงอยู่ในหลายประเทศในขณะนี้

kinyupen