คุณพ่อและคุณแม่มีวิธีการเลี้ยงดูหรืออบรมลูกและบุตรหลานกันอย่างไรบ้าง เมื่อลูกมีพฤติกรรมรุนแรง ก้าวร้าว ทำในสิ่งที่ผิด ลองใช้วิธี Time Out หรือการเข้ามุมกับลูกดูสักครั้ง เพราะวิธีนี้เป็นวิธีที่สามารถปราบพฤติกรรมเกรี้ยวกราดของเด็กได้ดีกว่าการดุด่าหรือตีลูกด้วยซ้ำ
กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต ขอนำเสนอเรื่องราวใกล้ตัวคุณพ่อคุณแม่สักนิดนึง เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการการเลี้ยงดูบัตรหลาน โดยเฉพาะบุตรหลายที่ยังอยู่ในวัยเด็ก เขื่อว่าเด็กหลายคนอาจจะมีพฤติกรรมรุนแรง ก้าวร้าว ดื้อหรือซนบ้าง เป็นธรรมชาติของวัยเด็กที่จะมีพฤติกรรมแบบนี้ แต่พ่อและแม่จะมีวิธีการสอนลูกอย่างไรบ้าง ให้ลูกรู้ว่าสิ่งที่เขาทำเป็นสิ่งที่ผิดและไม่ถูกต้อง
ไม้เรียว ไม้แขวนเสื้อ ก้านมะยม อาวุธหลักที่คุณพ่อคุณแม่หัวโบราณจะเลือกนำมาใช้ปราบพฤติกรรมรุนแรงของลูก แล้วคุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าการตีลูกจะช่วยลดความรุนแรงของลูกได้ เคยมีงานวิจัยออกมาระบุว่า การลงโทษลูกด้วยการตีด้วยไม้เรียว ไม่ได้ช่วยลดพฤติกรรมความก้าวร้าวของเด็กลงได้ แต่กลับจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวและรุนแรงเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ เพราะการตีเด็กอย่าง เด็กจะไม่มีวันรู้เลยว่า เขาทำผิดเพราะอะไร ดังนั้น เราจะเห็นพ่อแม่หัวสมัยใหม่ที่งดการใช้ไม้เรียวตีลูกแล้ว แต่จะใช้วิธีอื่นในการลงโทษลูกแทน
Time Out หรือการเข้ามุมกับลูก เป็นหนึ่งในวิธีการปรับพฤติกรรมลูกที่มีพฤติกรรมรุนแรง เรียกร้องความสนใจ โดยหากลูกมีพฤติกรรมคุกคาม ก้าวร้าวรุนแรง พ่อแม่จะเพิกเฉย ไม่สนใจกับพฤติกรรมการเรียกร้องความสนใจของลูก เพื่อให้ลูกสงบสติอารมณ์เองและเรียนรู้ว่าพฤติกรรมที่เขาทำนั้นไม่ได้ผล การทำ Time Out ไม่ใช่การลงโทษ หรือปล่อยลูกให้โดดเดี่ยวคนเดียว แต่เป็นการพาลูกออกจากสถานการณ์ที่ยากลำบาก ที่รู้สึกสับสนจัดการอารมณ์ไม่ได้ เพื่อให้ลูกสงบสติอารมณ์ได้ด้วยตัวเอง แต่ไม่ใช่เป็นการจับลูกขังในห้องเพียงคนเดียว ให้อยู่ในที่มืด แบบนี้ไม่เรียกว่า Time out
ซึ่งการทำ Time Out ให้ได้ผล ไม่อชยากอย่างที่คิด เรียนรู้ไปตาม 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. กำหนดช่วงอายุให้เหมาะสม : การทำ Time Out สามารถเริ่มใช้ได้กับเด็กเล็กตั้งแต่อายุ 9 เดือนเป็นต้นไป เมื่อลูกมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น ตีแม่ ขว้างปาข้าวของ แต่ส่วนใหญ่เราอาจจะใช้กับเด็กที่พอฟังเข้าใจภาษาบ้างแล้วคืออายุประมาณ 1-2 ขวบขึ้นไป
2. แยกลูกเข้ามุมสงบ : เมื่อลูกทำผิด หรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ไม่เชื่อฟัง ให้พ่อแม่ใช้คำพูดประโยคสั้น ๆ เช่น ทำร้ายคนอื่น Time Out หรือ ขว้างปาของเล่น Time Out แล้วพาลูกแยกลูกเข้ามุมสงบ ถ้าเด็กเล็กให้อยู่ในคอกกั้นเด็ก แต่ถ้าโตแล้วให้นั่งที่เก้าอี้ รอจนกว่าลูกจะหยุดร้อง โวยวาย หรือสงบลงได้
3. ห่างกันสักพัก : แยกให้ลูกนั่งในบริเวณที่ยังเห็นพ่อแม่อยู่ ไม่ใช่ทิ้งหรือขังให้อยู่ในห้องอื่นคนเดียว ต้องเป็นจุดที่พ่อแม่ยังต้องมองเห็นลูกได้ตลอดเวลา ส่วนพ่อแม่ควรสงบนิ่ง ไม่บ่น โวยวาย ไม่แสดงอารมณ์โกรธออกมา แต่ทำกิจวัตรประจำวันปกติ การแยกลูกออกไปไม่เพียงแต่ช่วยให้ลูกสงบสติอารมณ์เท่านั้น เป็นการช่วยให้พ่อแม่ควบคุมระงับอารมณ์ด้วย เพราะบางครั้งพ่อแม่ก็คุมตัวเองไม่อยู่เหมือนกัน ดังนั้นขอเวลาห่างกันสักพักคงจะดี
4. รออารมณ์สงบ : เมื่อลุกหยุดโวยวายสักพักถึงจะเรียกให้เรียกลูกออกมาได้ เพราะการนิ่ง การสงบ แสดงว่าลูกระงับอารมณ์ ควบคุมสติตัวเองได้แล้ว
5. Time-in โอบกอด พูดคุยด้วยเหตุผล : เมื่อลูกควบคุมอารมณ์ได้แล้ว ให้พ่อแม่โอบกอดลูก แล้วคุยถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันที เพื่อเป็นการสะท้อนอารมณ์ ใช้น้ำเสียงท่าทางอย่างอ่อนโยน ไม่เสียดสี ไม่ประชดประชัน คุยกันด้วยเหตุผลว่าสิ่งที่ลูกทำนั้นไม่ถูกต้อง แต่พ่อแม่ก็ยังรักหนูเสมอ พ่อแม่อยากให้ลูกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะได้เป็นเด็กที่น่ารักสำหรับทุกคน
ทั้งหมดนี้ เป็นวิธีการอบรมเลี้ยงลูกแบบมีเหตุผล ทำให้เด็กได้ฝึกคิด วิเคราะห์ถึงพฤติกรรมของตัวเองว่าทำผิดเพราะอะไร ได้สงบสติอารมณ์ของตัวเอง แล้วเด็กจะจะคิดได้พร้อมกับจะไม่ทำพฤติกรรมแบบนั้นอีกต่อไป ฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ที่ยังคงคุ้นชินกับการดุด่าหรือตีลูกนั้น ควรเปลี่ยนพฤตติกรรมมาลองใช้วิธี Time out ดู รับรองเลยว่า เห็นผลอย่างแน่นอน และนี่คือวิถีแห่ง กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต