“ฆ่าตัวตาย” ทางออกของชีวิตหรือแค่เรียกร้องความสนใจ?

0
869
kinyupen

ปัญหาการ “ฆ่าตัวตาย” เกิดขึ้นทั่วโลก ไม่เว้นแม้กระทั่งประเทศไทยบ้านเราที่มักเลือกแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยการจบชีวิตของตัวเอง แต่แท้จริงแล้ว “ฆ่าตัวตาย” เป็นการหาทางออกของชีวิต หรือ เป็นแค่เรียกร้องความสนใจกันแน่?

 

ปัญหาชีวิตของแต่ละคนล้วนมีอยู่มากมาย บางคนมีปัญหาก็เลือกที่จะสู้กับปัญหานั้น แต่คนส่วนหนึ่งมีปัญหาก็เกิดอาการเครียด ไม่คิดแก้ปัญหา จมอยู่กับความเครียด และท้ายที่สุด ก็เลือกหนีปัญหาดังกล่าวด้วยการ “จบชีวิต” ของตัวเอง โดยไม่ได้คำนึงเลยว่า การฆ่าตัวตายไม่ได้เป็นการยุติปัญหา แต่เป็นการสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะคนรอบข้างที่จะต้องมารับภาระแทนทั้งหมด

 

ปัญหาการฆ่าตัวตายเกิดขึ้นทั่วโลก ไม่เว้นแม้กระทั่งประเทศไทยบ้านเรา ที่มักจบปัญหาชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย เพียงเพราะปัญหาที่ในความเป็นจริงแล้วสามารถแก้ไขได้อย่างง่ายๆ ด้วยซ้ำ จากสถติการฆ่าตัวตาย โดย World Population Review ได้มีการสำรวจและจัดอันดับประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดในโลกประจำปี 2018 ใน 177 ประเทศทั่วโลก พบว่า ประเทศที่มีการฆ่าตัวตายมากที่สุด ได้แก่ ประเทศศรีลังกา รองลงมาคือ ลิทัวเนีย , กายอานา ตามลำดับ ส่วนประเทศไทยอยู่อันดับที่ 28 มีอัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 16 คน/ประชากร 1 แสนคน ถือได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการฆ่าตัวตายมากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน

 

ส่วนสาเหตุของการฆ่าตัวตายเกิดจากปัญหาดังนี้

(1.) ความรัก-ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

(2.) สุรา-ยาเสพติด

(3.) สังคม-เศรษฐกิจ

(4.) โรคประจำตัว-อาการทางจิต

(5.) ความเครียดส่วนตัว จากปัญหาของชีวิต ที่นำมาสู่การจบชีวิต ที่ก่อนฆ่าตัวตายจะเขียนจนหมายระบายความในใจในสมัยก่อน

แต่ปัจจุบันมีโซเชียลมีเดียเข้ามา หลายคนก็ใช้วิธีการโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กหรือเฟซบุ๊กไลฟ์ระบายความในใจก่อนจะตัดสินใจจบชีวิตลง ซึ่งนั่นนำมาซึ่งข้อสงสัยที่ว่า “การฆ่าตัวตาย” จริงๆ แล้วคือต้องการหาทางออกของชีวิต หรือ เพียงต้องการเรียกร้องความสนใจจากคนรอบข้างให้เขามาสนใจเรา

 

เรื่องนี้ รศ.นพ.ชวนันท์ ชาญศิลป์ นายกสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า วิธีการป้องกันการฆ่าตัวตาย จะต้องคำนึงถึง 3 ปัจจัย ได้แก่

(1.) ปัจจัยเสี่ยง เช่น มีประวัติการฆ่าตัวตายมาก่อน ครอบครัวเคยมีการฆ่าตัวตาย มีการใช้สารเสพติด หรือมีโรคทางจิตเวช จะต้องใช้วิธีในการเฝ้าระวัง

(2.) ปัจจัยกระตุ้น เป็นเรื่องเปลี่ยนแปลงไม่ได้เช่นกัน แต่ฝึกเรื่องวิธีการจัดการปัญหาได้

(3.) ปัจจัยปกป้อง คือ ดูแลสุขภาพกายและจิตได้ดี การเชื่อมโยงกับคนรอบๆ มีทักษะชีวิตดี ยอมรับนับถือตัวเอง จะช่วยลดความเสี่ยงในการทำร้ายตัวเองและฆ่าตัวตายลงได้

 

ถึงแม้ว่าการฆ่าตัวตายจะเป็นปัญหาสำคัญที่หลายฝ่ายพยายามที่จะแก้ไขปัญหานี้แล้ว แต่ก็ไม่สามารถช่วยลดจำนวนผู้คนที่ตัดสินใจจบชีวิตลง แต่เบื้องต้นสามารถป้องกันได้ หากดำเนินการอย่างทันท่วงที แต่จริง ๆ แล้ว “กำลังใจจากคนรอบข้าง” สำคัญมากที่จะช่วยบรรเทาและลดปัญหาการฆ่าตัวตายได้ ครอบครัวจะต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน คนรอบข้างอาจจะไม่ใช่คนที่แก้ปัญหาให้ได้ แต่ช่วยรับฟังปัญหาของเขา ซึ่งวิธีนี้เคยมีผลวิจัยว่า หากมีเพื่อนที่ไว้ใจได้ 3-4 คน จะมีอัตราลดการฆ่าตัวตายลง 75% ขณะเดียวกันหากมี 5-6 คน จะช่วยลดได้ 89%

 

โดยวิธีการสร้างความสัมพันธ์นั้น หากเป็นคนในครอบครัว ควรเริ่มจากการใช้เวลาทำอะไรร่วมกันและไม่ใช่เรื่องที่เครียดจนเกินไป อาทิ ดูทีวีร่วมกัน ออกไปรับบประทานอาหารนอกบ้าน ท่องเที่ยว ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่จะสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว ส่วนเพื่อนนั้นควรเริ่มจากการเปิดใจคบอย่างผิวเผินก่อน แล้วดูว่าคนไหนเข้ากับเราได้ สุดท้ายก็จะเปิดใจกันมากขึ้นและยอมรับกันมากขึ้นจนเป็นคนที่เราไว้ใจได้

kinyupen