บางครั้งในการพิสูจน์สิ่งต่างๆ ถ้าไม่อิงงานวิจัย หรือผลการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ก็ไร้ซึ่งความน่าเชื่อถือ แต่ผลงานวิจัยชิ้นนี้.. ถือว่า #ทำถึง และน่าสนใจ กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต ขอนำข้อมูลมาเล่าให้ฟังกันค่ะ
นักวิจัยจากประเทศจีน ได้สร้างแบบจำลอง AI แบบเรียนรู้เชิงลึก หรือ deep-learning เพื่อค้นหาว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้มนุษย์เรา “แก่” เร็ว ในอัตราเร่งที่มากกว่าปกติ ทั้งนี้ได้พบว่า “ความเหงา” หรือการมีชีวิตที่ “โดดเดี่ยว” นั้น ส่งผลร้ายต่อสุขภาพจิต และซ้ำร้ายยังส่งผลในทางกายภาพ โดยไปเร่งกระบวนการแก่ชราของร่างกายให้เร็วขึ้น
เนื้อหา “ความเหงา” ที่เกี่ยวข้อง
ป้ายยา ของแก้เหงา อยู่บ้านยังไงไม่ให้เบื่อ
“ภาวะความเหงา” ส่งผลต่อสุขภาพ เทียบเท่าสูบบุหรี่วันละ 15 มวน
“โรคขาดความรัก” กับทฤษฎีความเหงา
การศึกษาชิ้นใหม่นี้ใช้เทคโนโลยี deep-learning ในการจำลองนาฬิกาอายุ ทดสอบตัวอย่างเลือดและระบุอัตลักษณ์ของผู้ใหญ่ชาวจีนราว 12,000 คน และพบว่า “ความเหงา” เป็นตัวเร่งให้คนเราแก่เร็วขึ้นด้วยอัตราเร่งที่สูงกว่าการสูบบุหรี่
การวิเคราะห์ข้อมูลคนวัยผู้ใหญ่ชาวจีนจำนวน 11,914 คน พบว่า การสูบบุหรี่ทำให้แก่เร็วขึ้นราว 1.25 ปี แต่ความรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยว สามารถทำให้แก่เร็วขึ้นได้ถึง 1.65 ปี หรือ เท่ากับ 1 ปี 7 เดือน 24 วัน
นอกจากความรู้สึกเหงาแล้ว โมเดลนี้ยังรวมเอาปัจจัยอื่นๆ เช่น ความกลัว ความสิ้นหวัง การไม่มีความสุข และคุณภาพการนอนที่ไม่ดี เอาไว้ด้วย แบบจำลองยังพบด้วยว่า คนที่เป็นโสดจะแก่เร็วขึ้นราว 0.35 ปี ขณะที่คนที่อาศัยอยู่ในชนบทจะแก่เร็วขึ้น 0.39 ปี
นักวิจัยสรุปว่า “มีการเชื่อมโยงอย่างแน่นแฟ้นระหว่างสภาพจิตใจและความแก่ และย้ำว่า ต้องตระหนักเสมอว่า สุขภาพจิตที่ย่ำแย่เป็นปัจจัยหลักในการทำให้ไปเราสู่ความแก่เร็วขึ้น”
ที่มา : The Opener