เดินเถอะ…ถ้าไม่อยากสมองเสื่อม แต่ละช่วงวัยเดินเท่าใดดี

0
337
kinyupen

กลุ่มคนสูงวัย มักจะรู้สึกเคยชิน กับอาการ “แก่แล้ว อะไรก็แย่ลง” ไม่ว่าจะ จำอะไรไม่ค่อยได้ ได้หน้าลืมหลัง นอนยาก หลับๆ ตื่นๆ ทั้งคืน มือกระตุกบ่อย  อาการต่างๆ เหล่านี้ทางการแพทย์ระบุว่า อาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางสมองที่อาจเป็นได้ทั้งความผิดปกติภายนอก หรือ ภายในสมอง และส่วนใหญ่แพทย์จะต้องใช้เวลาตรวจและหาที่มาของโรคค่อนข้างมากกว่าจะรู้สาเหตุ แล้วการสังเกตอาการ หรือ การเตรียมตัวป้องกันโรคนี้ ควรทำอย่างไร กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต ได้ไปค้นคว้าและรวบรวมมาฝากกัน

อาการที่เป็นสัญญาณเตือน

สาเหตุของโรคทางสมอง มีตั้งแต่การติดเชื้อ ความผิดปกติของระบบเผาผลาญทำงานผิดปกติ  เนื้องอกในสมอง สารพิษที่เกิดจากความผิดปกติของตับ หรือ การขาดการไหลเวียนของเลือดหรือออกซิเจนไปยังสมองซึ่งโดยปกติอาการผิดปกติทางสมองที่พบได้จะมีหลายอาการด้วยกัน

1.อากัปกิริยาผิดปกติ เช่น ซึม สับสน เอะอะ โวยวาย

2.การนอนผิดปกติ เช่น นอนหลับมาก นอนไม่หลับหรือนอนหลับๆ ตื่นๆ

3.พูดผิดปกติ เช่น พูดมาก พูดน้อย ไม่พูด หรือ พูดสับสน.

4.เคลื่อนไหวผิดปกติ เช่น มือ-แขน กระตุก มือ-แขน สั่น

5.ความจำไม่ดี สมาธิไม่ดี

6.กล้ามเนื้อเต้นกระตุก

7.ชักเกร็ง

8.หายใจผิดปกติ เช่น หายใจเร็ว-ช้าสลับกัน

9.หมดสติ

ซึ่งจะเห็นได้ว่าบางอาการเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากๆ ดังนั้นเพื่อความชัวร์ เมื่อเริ่มมีอาการข้างต้น หรือ ไม่มั่นใจกับสุขภาพ ให้รับไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย โดยการตรวจค้นวินิจฉัยสาเหตุแพทย์จะดูจากประวัติทางการแพทย์ การตรวจร่างกาย ตรวจเลือดเพื่อหาความผิดปกติ การทำ MRI. CT Scan รวมถึงตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง


หมอธีระวัฒน์ เผยผลศึกษาใหม่ ประโยชน์ของการเดินเพิ่ม 500 ก้าว/วัน

ผู้สูงอายุเดิน 6,000 ก้าว/วัน ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

สมองเสื่อม…กลัวแล้วทำไง ?

ป้องกันอย่างไรดี

หลักเบื้องต้นของวิธีการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ เพื่อรู้ความพร้อมของร่างกาย ประเมินความเสี่ยงของสุขภาพสมองพื้นฐาน แต่อีกวิธีที่ควรทำควบคู่กันได้แบบง่ายๆ นั่น คือ “การเดินในระยะและความเร็วที่เหมาะสมกับช่วงวัย”

หลักการง่ายๆ สำหรับผู้เริ่มต้น คือ ถ้ามีช่วงอายุตั้งแต่ 40-50 ปี ควรเดินอย่างน้อย 7,000 – 8,000  ก้าวต่อวัน ส่วนผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นอาจเดินอยู่ที่ 4,000 ก้าวต่อวัน การเดินอาจใช้วิธีเดินสะสม หรือ เดินรวดเดียวก็ได้ หากเดินรวดเดียวสิ่งที่ได้เพิ่มคือกล้ามเนื้อและหัวใจ ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ส่วนการเดินสะสมจะช่วยในเรื่องของเลือดไหลเวียน และลดการหดตัวของสมองโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงวัยที่จะช่วยชะลอความเสื่อมของสุขภาพสมองโดยนัย

เมื่อเริ่มทำสม่ำเสมอก็อาจค่อยๆ ปรับจำนวนเพิ่มขึ้น ปรับรูปแบบวิธี ปรับเส้นทางการเดิน เพิ่มแรงจูงใจในการออกกำลังกาย ผู้สูงวัยบางท่านอาจเหมาะกับการเดินสม่ำเสมอ บางท่านอาจสามารถปรับจากเดินไปสู่การวิ่งได้ แต่ต้องสังเกตอาการขณะออกกำลังกายด้วยว่าร่างกายรับไหวแค่ไหน เพื่อไม่ให้เกินขีดจำกัดร่างกายมากเกินไป เพราะแต่ละคนก็มีพื้นฐานที่ต่างกัน ซึ่ง กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต ก็เคยพบ คนสูงวัยอายุ 60 ปี ที่สามารถวิ่งได้ถึง 1,000 กิโลเมตร ภายใน 17 วันได้เลยทีเดียว  (60 ปีไม่สาย จาก 100 เมตรสู่ 17 วัน 1,000 กิโลเมตร  (ซึ่งถ้าร่างกายไม่แข็งแรงจริง อย่าลอกเลียนแบบกันนะ ^_^)

ที่มาข้อมูล

https://www.phyathai.com/th/article/2775-มหัศจรรย์ของการเดิน_เด

https://www.bbc.com/thai/articles/cllg4rv94p7o

https://haamor.com/กลุ่มอาการทางสมอง#google_vignette

https://www.msdmanuals.com/home/brain,-spinal-cord,-and-nerve-disorders/coma-and-impaired-consciousness/stupor-and-coma#Treatment_v738377

kinyupen

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here