Mission Possible สายการบินสีเขียวจาก “น้ำมันใช้แล้ว”

0
101
kinyupen

ปัญหาโลกร้อน คือประเด็นที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังตื่นตัว รวมถึงประเทศไทยของเรา ดังจะเห็นได้ว่าภาครัฐและภาคเอกชนต่างให้น้ำหนักและออกมาเป็นหัวหอกในการรณรงค์ รวมถึงลงมือทำโครงการต่างๆ เพื่อเป็นตัวอย่างมากขึ้น  กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต ได้มีโอกาสเข้าร่วมรับฟังเสวนา Climate Challenges ที่จัดโดย Climate Center พบประเด็นที่น่าสนใจและคิดว่าประชาชนทั่วไป ก็สามารถมีส่วนร่วมในการลดโลกร้อนได้ด้วยตัวเอง นั่นก็คือ SAF ว่าแต่ SAF คืออะไร จะทำให้เราช่วยลดโลกร้อนได้ยังไง ตามมาดูกัน

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จัก SAF กันก่อนว่าคืออะไร

SAF มีชื่อแบบทางการว่า เชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน หรือ Sustainable Aviation Fuel (SAF) เป็นน้ำมันที่ได้จากขยะหมุนเวียน 100% เช่น น้ำมันพืช หรือ ไขมันสัตว์ที่เหลือจากขั้นตอนการผลิต กากน้ำตาล หรือน้ำมันที่ผ่านการใช้งานจากร้านอาหาร ครัวเรือนมาแล้ว ถือเป็นพลังงานหมุนเวียนทางเลือกใหม่ที่จะช่วยให้สายการบินลดการปล่อยคาร์บอนได้น้อยลง

twitter (X) : สาระการบินน่ารู้ aviknowledge

เดิมทีพลังงานหลักที่อุตสาหกรรมการบินทั่วโลกเลือกใช้ คือ น้ำมัน JET A-1 ที่นำมาจากพลังงานฟอสซิล ส่งผลให้เกิดการปล่อยไอเสียของเครื่องบินที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 ออกมาปะปนกับชั้นบรรยากาศ ซึ่งปัจจุบันการเดินทางด้วยเครื่องบินมีสัดส่วนการใช้บริการที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดเป็นความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อเรื่อง Climate Change โดยตรง

Cr : www.kapook.com

แต่ด้วยวิวัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้เราสามารถทำเทคโนโลยีการผลิต SAF ผสมเข้ากับนํ้ามัน JET A-1 แบบเดิม เพื่อใช้ในเครื่องบินได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนหรือปรับปรุงเครื่องยนต์ เป็นหลักการคล้ายกับการผสมเอทานอลเข้าไปในนํ้ามันเบนซิน หรือ การผสมไบโอดีเซลเข้ากับนํ้ามันดีเซลนั่นเอง ซึ่งการใช้ SAF นั้นถูกบรรจุอยู่ในวาระสำคัญของอุตสาหกรรมการบินในอนาคตและได้รับการสนับสนุนจากทั้งหน่วยงานกำกับการบินอย่าง องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และสายการบินต่างๆเพื่อที่จะให้การเดินทางทางอากาศนั้นสะอาดมากยิ่งขึ้นในอนาคต

Cr : BAFS

แต่ด้วยกระบวนการผลิตที่มีต้นทุนค่อนข้างสูง ส่งผลให้ราคาน้ำมันในโครงการ SAF ยังมีราคาสูงกว่าน้ำมันอากาศยานทั่วไปประมาณ 3-5 เท่า ดังนั้นสิ่งที่จะช่วยจูงใจให้ผู้ประกอบการสายการบินหันมาใช้ SAF คือ ต้องทำให้มีราคาใกล้เคียงน้ำมันอากาศยานทั่วไป จึงคาดหวังว่าในอนาคตทางภาครัฐจะมีมาตรการสนับสนุนภาคเอกชนมากขึ้น  ซึ่งแน่นอนว่าหากเครื่องบินยังเชื้อเพลิงจากฟอสซิลอยู่ อัตราการปล่อยคาร์บอนนอกจากจะไม่ลดลงแล้ว จะเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าจากที่ปล่อยอยู่ในปีนี้ ตามการคาดการณ์ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)

ดังนั้นในชีวิตประจำวันของเราก็สามารถเป็นหนึ่งในฟันเฟืองเล็กๆ ที่มีส่วนช่วยลดโลกร้อนได้เช่นกัน ซึ่งเกิดขึ้นง่ายๆ จากการนำน้ำมันที่ผ่านการใช้งานแล้ว มาขายต่อให้กับหน่วยงานที่รับซื้อหลายๆเจ้าในประเทศ เพราะนอกจากช่วยลดการทอดซ้ำ ไม่ทำลายสุขภาพของผู้บริโภค หรือ แม้แต่การทิ้งน้ำมันที่ใช้แล้วลงแม่น้ำคูคลอง จนทำให้เกิดน้ำเน่าเสียจากไขมันที่สะสม มาเปลี่ยนเป็นกรองเก็บไว้ขาย แถมยังเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือนอีกต่างหาก ร่วมด้วยช่วยกันในวิธีง่ายๆแบบนี้ ใครๆก็ทำได้ ถ้าเราร่วมมือ ร่วมใจกัน ว่ามะ 

Cr : twitter (X) – สาระการบินน่ารู้🛩✨™  @aviknowledge / Kapook, Springnews, BAFS

kinyupen

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here