เมื่อเร็วๆนี้ สภาผู้บริโภค ได้มีการเปิดสถิติการรับเรื่องร้องทุกข์ทั่วประเทศช่วง ต.ค. 65- ก.ย. 66 พบมีเรื่องร้องทุกข์ 16,142 เรื่อง ผู้อ่านทราบไหมคะว่าปัญหาใดที่ชาวไทยส่งเรื่องราวร้องทุกข์ไว้มากกกกกกกที่สุด หลังจากที่กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช่ชีวิต ได้เห็นถึงจำนวนเรื่องราวร้องทุกข์นี้ ถึงกับร้องอ๋อออออออ และไม่แปลกใจในทันที นั่นก็คือ “บัตรคอน” หรือ “บัตรคอนเสิร์ต” ที่มีการแจ้งเรื่องเข้ามามากสุดกว่า 5,000 เรื่อง โดยจากปัญหาดังกล่าว สภาผู้บริโภคเค้าก้ได้หารือ สคบ. กำหนดคอนเสิร์ตเป็นธุรกิจควบคุมสัญญา ให้ผู้จัดงานหาแนวทางชดเชยต่อไป ส่วนเรื่องอื่นๆ จะมีอะไรบ้างเราตามมาดูกันเลยค่ะ
สภาผู้บริโภคได้รวบรวมข้อมูลและรายงานสถานการณ์ผู้บริโภคจากการรับเรื่องร้องทุกข์ทั่วประเทศ เดือนตุลาคม 2565 – เดือนกันยายน 2566 พบว่ามีผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิผู้บริโภคได้ร้องทุกข์เข้ามาเป็นจำนวน 16,142 เรื่อง โดยปัญหาที่มีผู้ร้องทุกข์เข้ามาที่สภาผู้บริโภคมากที่สุด ได้แก่
1.ปัญหาด้านสินค้าและบริการทั่วไป จำนวน 10,150 เรื่อง คิดเป็น 62.88% ของเรื่องร้องทุกข์ทั้งหมด
โดยในจำนวนนี้พบว่าเป็นการร้องทุกข์เกี่ยวกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบริการบันเทิง เช่นคอนเสิร์ต แฟนมีตตี้ง หรืองานอีเว้นท์ต่าง ๆ มากที่สุดถึง 5,906 เรื่อง เช่น แปลงผังคอนเสิร์ต การสมัครสมาชิกแต่ไม่ได้รับสิทธิตามที่ระบุ การจัดงานที่ไม่ตรงตามที่โฆษณาไว้ในครั้งแรก ไม่สามารถคืนบัตรได้ แจ้งราคาบัตรโดยไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและค่าธรรมเนียม การประชาสัมพันธ์ไม่ชัดเจน รวมถึงราคาบัตรที่แพงเกินไป
เห็นได้ว่าปัญหาข้างต้นล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับข้อสัญญา สภาผู้บริโภคจึงได้ติดต่อและประสานงานกับบริษัทผู้จัดงานหรือบริษัทที่จัดจำหน่ายบัตรคอนเสิร์ตต่างๆ ให้ชี้แจงข้อเท็จจริงและแนวทางการชดเชยเยียวยาความเสียหาย รวมถึงการหารือกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) หน่วยงานกำกับดูแลให้เข้ามาจัดการปัญหา ผ่านการออกหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติเรื่องการทำสัญญาระหว่างภาคธุรกิจกับผู้บริโภค
โดยจะกำหนดสิ่งที่ต้องระบุในสัญญาและสิ่งที่ห้ามระบุในสัญญา เช่น การซื้อสินค้าแล้วไม่รับเปลี่ยนหรือคืน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ และหากสัญญาไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้ถือว่าสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะเพื่อให้การใช้สิทธิของผู้บริโภคในทุกประเด็นไม่มีข้อจำกัด
2.ปัญหาด้านการเงินและการธนาคาร จำนวน 2,084 กรณี หรือคิดเป็น 12.91% โดยเป็นเรื่องที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงโควิด19
ได้แก่ ปัญหาที่ผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากการเคลมประกันโควิดหรือถูกปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทน
3.ปัญหาด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 918 เรื่อง คิดเป็น 5.69%
เช่น กรณีการถูกหลอกลวงจากข้อความสั้น (SMS), การถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรเข้ามาและอ้างว่ามาจากหน่วยงานหรือองค์กรของภาครัฐ รวมถึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงโดยใช้เทคโนโลยีปลอมเป็นเสียงของบุคคลที่รู้จักและหลอกให้โอนเงิน