ด้วยความที่เราเริ่มก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้น ลุงป้าน้าอาของเราก็เริ่มอายุมากขึ้น รูปลักษณ์ผิวพรรณก็ชราไปตามวัย ผู้สูงอายุบางคน พอเริ่มแก่ตัวก็เริ่มที่จะเบื่อ ปลง ไม่อยากทำอะไร อยากอยู่เฉยๆ นิ่งๆ ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย กินง่าย อยู่ง่าย แต่… อย่าลืมไปนะคะ หากร่างกายเราไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว ไม่ค่อยได้ใช้งาน มันก็เสื่อมไปตามวัย แต่หากเราได้ลองขยับร่างกาย เริ่มพูดให้มากขึ้น โสตประสาทเปิดการรับรู้ รับฟังมากขึ้น กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต เชื่อเหลือเกินค่ะว่า ต่อให้เราแก่ลงไปขนาดไหน แต่ถ้าหาก “ใจ” เราแข็งแรง ทุกอย่างย่อมกลับมาสดใสอย่างแน่นอน เฉกเช่นเนื้อหา 4 ประการที่เรานำมาฝากในวันนี้ค่ะ
แพทย์หลายท่าน ชี้ว่า คนวัยหลังเกษียณ(ผู้สูงวัย) ควรจะพูดคุยให้มากขึ้น หรือ สวดมนต์ออกเสียง เพราะขณะนี้ยังไม่มีทางรักษา และ ป้องกันรักษาโรคความจำเสื่อม หรือ อาการน้ำลายไหลออกจากปากง่ายๆ ได้เลย ทางเดียวที่ช่วยได้คือ การพูดคุยสนทนาให้มากขึ้น…หรือใช้ปากออกเสียง จะร้องเพลง หรือ สวดมนต์ออกเสียงก็ได้
การพูดคุย หรือ การขยับปากบ่อยๆ มีประโยชน์ต่อผู้สูงวัยอย่างน้อย 4 ประการ
ประการแรก การพูดกระตุ้น และทำให้สมอง มีความคล่องแคล่ว เพราะภาษากับการคิดจะสื่อสารระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวลาพูดเร็วซึ่งส่งผลโดยธรรมชาติให้เกิดปฏิกิริยาการคิดที่เร็วขึ้นและ เพิ่มความจำ บรรดาผู้สูงวัยทั้งหลายที่ไม่ค่อยจะพูดคุยมีแนวโน้มสมองเสื่อม และน้ำลายไหลง่าย
ประการที่สอง การพูด หรือ การขยับปากบ่อยๆ จะช่วยคลายความเครียดได้มากที่เดียว ช่วยไม่ให้เป็นโรคจิตและลดความเครียด บ่อยครั้งเราไม่พูดแต่จะเก็บกดไว้ในใจเรา นี่เป็นความจริง ด้วยเหตุนี้จะเป็นการดีที่จะให้โอกาสผู้สูงวัยทั้งหลายได้พูด หรือ ขยับปากมากขึ้น
ประการที่สาม การพูดช่วยให้กล้ามเนื้อบนใบหน้า ทรวงอกได้ขยับตัวออกกำลังและ เพิ่มสมรรถภาพของปอด ในขณะเดียวกันการพูด หรือ การขยับปากบ่อยๆ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเสื่อมในดวงตาและหู รวมถึงความเสี่ยงที่แฝงมาเช่น ทำให้เวียนศีรษะและหูหนวกได้
ประการที่สี่ การพูด หรือ การขยับปาก ออกเสียง จะช่วยให้กล้ามเนื้อที่มุมปากกระชับ น้ำลายจะไม่ไหลออกมาง่ายๆ แต่ ถ้าผู้สูงวัย พูดน้อยลง หรือ ไม่ได้ขยับปากออกเสียงมากนัก จะทำให้กล้ามเนื้อที่มุมปาก จะอ่อนแรง ทำให้น้ำลายไหลหกออกจากปากได้ง่ายๆ (แม้ไม่ได้หลับ น้ำลายก็ไหลออกจากปากได้ เพราะกล้ามเนื้อมุมปากหย่อนยาน)
สรุปสั้น ๆ ได้ว่า…สำหรับคนวัยหลังเกษียณ หรือ บรรดาผู้สูงวัยทั้งหลาย ทางเดียวที่จะป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และ โรคคนแก่ต่างๆ คือ การได้พูดคุยสนทนากับผู้คน หรือ การขยับปากออกเสียงให้บ่อยขึ้น เท่าที่จะมากได้ เช่น ร้องเพลง หรือ สวดมนต์ออกเสียง เพื่อให้กล้ามเนื้อที่มุมปากแข็งแรงมากขึ้น
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ และ ดีต่อสุขภาพ ส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของประชากรผู้สูงวัย เป็นอย่างมาก