สำลักอาหาร ช่วยผิดวิธีถึงตาย

0
905
kinyupen

นาทีชีวิต สำลักอาหารก็ถึงตายได้ สำคัญมาก เราควรเข้าใจ และเร่งช่วยเหลืออย่างเร็วที่สุด โดย นพ. พิพัฒน์ ชุมเกษียร

อาการสำลักอาหารกับอาหารติดคอเหมือนกันไหม? (0.32)

เป็น 2 เรื่องที่แยกกันเลย ก็คือติดคอนี่หมายถึงแค่อยู่ที่คอ อาจจะสำลักหรือไม่สำลักก็ได้นะครับ แต่สำลักนี่หมายความว่ามันหล่นจากคอลงไปเข้าหลอดลม อันนี้คือสำลัก ซึ่งกรณีสำลักเนี่ยคืออันตรายมาก

เพราะอะไรเราถึงเสียชีวิตจากการสำลัก ปีหนึ่งมีคนเป็นแบบนี้เยอะไหม? (0.54)

เรื่องสำลักนี่จริงๆ ปีหนึ่งมีมากนะครับ เพียงแต่ว่าที่เราไม่ค่อยได้รายงานตรงนี้เพราะส่วนหนึ่งเป็น เขาเรียกว่าสำลักเงียบ ก็คือมีประมาณ 1 ใน 3 ของคนไข้ทั้งหมด

มารู้ที่หลังก็คือหลังจากมีอาการผลเสียหรือผลข้างเคียงจากการสำลักแล้ว กรณีนี้ก็คือหมายถึงปอดบวม แล้วก็มีไข้ขึ้นจนถึงอาจจะเรียกว่าติดเชื้อในกระแสเลือดจนกระทั่งเสียชีวิต นั่นก็คือกลุ่มสำลักแบบเกิดผลร้าย

กับผลร้ายแบบทันทีของเรื่องสำลักเนี่ย สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือว่า สำลักเนี่ยหมายถึง อาหารหรือสิ่งที่กลืน อาจจะหมายถึงสิ่งแปลกปลอมก็ได้นะครับ ไปอุดหลอดอาหารแทนที่จะกลืนแล้วลงหลอดอาหารมันไปลงหลอดลมมันก็เลยเป็นเหมือนกับว่าคนนั้นสำลักเสร็จก็คือหลอดลมไม่ทำงาน ถ้าคำนั้นใหญ่มาก หรือสิ่งแปลกปลอมนั้นใหญ่มากพอ เรียกว่าไปทำให้อุดที่หลอดลม ทำให้เสมือนคนที่ไม่หายใจ

ฉะนั้นก็นึกถึงคนที่ไม่หายใจครับ คำถามก็คือว่ากี่นาทีที่เราจะไม่หายใจแล้วยังอยู่ มีชีวิตรอดได้ โดยทั่วไป 3 ไม่เกิน 5 นาทีนะครับ สมองก็จะเรียกว่าสมองตายได้ เป็นที่มาว่าถ้าสำลักโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำลักก้อนใหญ่ อาหารคำใหญ่ หรือว่าสิ่งแปลกปลอมก้อนใหญ่ โดยทั่วไปเราควรจะรีบดูแลช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ครับ

อาหารประเภทไหน เสี่ยงต่อการสำลักที่สุด? (2.27)

ลื่นที่สุดเสี่ยงที่สุด ลองเดาได้ไหมครับว่าอาหารประเภทไหนที่ลื่นๆ อันไหนที่ฝืดๆ ใช่อันนี้เสี่ยงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับน้ำ น้ำซึ่งไหลดี ฉะนั้นน้ำนี่แหละครับเสี่ยงสูงที่สุด

คนแบบไหนบ้าง ที่เสี่ยงต่อการสำลักอาหาร? (2.49)

โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 กลุ่ม

  • กลุ่มที่ 1 คือ มีโรคของตนเอง ตรงๆ เลยก็คืออย่างเช่น โรคทางสมอง อย่างเช่น เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือซึมจากยา ไม่ว่าจะเป็นยาแก้ปวดหรือว่ายาอะไรก็ตามแต่ที่ทำให้เกิดการซึม กับอีกกลุ่มหนึ่งก็คือของการซึมเหมือนกันก็คือ คนไม่ได้นอนครับ หมายถึงว่าถ้าเราลองอดนอนมากๆ เนี่ย ซึมๆ อย่างนี้ก็อาจจะเสี่ยงที่จะสำลักได้
  • กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มที่มีปัญหาการกลืนแล้วติดขัดโดยทาง Mechanic นะครับ หรือทางพูดง่ายๆ ท่ออาหารแทนที่จะลื่นไหลเป็นท่อตรงๆ เนี่ยอาจจะมีกระดูกงอกจากคอเสื่อมอะไรอย่างนี้เป็นต้นก็จะทำให้กลืนลำบาก ซึ่งอันนี้มีบ้างแต่ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ
  • กลุ่มที่ 3 คือมีนิสัยการกลืนที่ไม่ดี โดยทั่วไปหมายถึง เร็ว ใหญ่ รีบ หมายความว่า ทานอาหารรวดเร็ว รีบๆ รับประทานอาหารนะครับ แล้วก็ระหว่างกินไป พูดไป เหล่านี้แหละครับที่เป็นปัจจัยเสี่ยงเชิงพฤติกรรมครับ โดยสมองปกติแล้วก็โครงสร้างปกติ ซึ่งเราพบมากครับ

เราถึงมีกุศโลบายในไทยเราเนี่ย เราถึงต้องเป็นให้มารยาทในการรับประทานอาหารว่าต้อง ขณะที่รับประทานต้องไม่พูด แต่ท่านเจ้าคุณปู่ไม่ได้บอกว่า ถ้าพูดแล้วพลาด สำลักอาหารแล้วจะตายคาโต๊ะถ้าไม่ทำตัวให้เป็นผู้มีมารยาทในโต๊ะอาหารก็อาจจะอันตรายจากการสำลักอาหารได้

วัยไหนเป็นกลุ่มเสี่ยงสำลักอาหาร? (4.39)

ผู้สูงอายุครับ เหตุผลก็คืออยากให้เรานึกถึงวงดนตรีนะครับ วงมโหรี หรือ ออร์เคสตร้า ก็คือการทำงานของการกลืนเนี่ยเป็นการทำงานของความสอดคล้องของเหมือนวงดนตรีเลยนะครับ ถ้าพลาดไปอันใดอันหนึ่งมันก็คือสะดุด สะดุดของอาหารเสร็จก็คือผิดช่อง สำลักหมายถึงแทนที่จะอาหารเข้าหลอดอาหาร มันไปเข้าหลอดลม ทำให้เหมือนกับไม่หายใจ ก็เป็นสาเหตุการตายได้นั่นเอง

ควรเตรียมอาหารสำหรับผู้สูงอายุอย่างไร? (4.47)

อาหารในผู้สูงอายุโดยทั่วไปควรจะเป็นอาหารอ่อน เคี้ยวง่ายนะครับ แล้วก็สุดท้ายก็คือมีความหนืดพอสมควร ควรจะเป็นเนื้อเดียวกันให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ขนาดก็ควรจะเล็ก เท่าที่เป็นไปได้คือโดยทั่วไปประมาณครึ่งเซ็นนะครับถ้าสามารถหั่นให้เป็นขนาดเล็กได้เนี่ยก็จะกลืนได้ปลอดภัย

ถ้าเราเจอคนสำลัก เรามีวิธีช่วยเหลืออย่างไร? (5.31)

อันนี้สำคัญมากครับ เพราะถือว่าเป็นเหตุฉุกเฉิน กรณีฉุกเฉินแบบนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่มนะครับ

กลุ่มที่ 1 คือ คนไข้ยังพอรู้ตัวที่จะทำอะไรตามได้ กับ 2 คือ หมดสติ

กลุ่มที่ 1 ที่พอรู้ตัวโดยทั่วไปจะแนะนำให้คนไข้รายนี้พยายามไอออกเองนะครับก่อนเลย ถ้าไอออกเองไม่ได้เนี่ยเราจะช่วยโดยการตบตรงด้านหลัง ระดับตรงสะบักนะครับ 5 ครั้ง แล้วก็มีการกดหน้าท้องให้หน้าท้องมีแรงของลมขึ้นมานะครับเพื่อช่วยให้ของที่ค้างติดหลอดลมหลุดออกมานะครับ พร้อมกับพยายามไอเองด้วย ถ้าทำได้แบบนี้โดยทั่วไปจะหลุดออกได้นะครับ

กลุ่มที่ 2 คือ กรณีถ้าหมดสติ โดยทั่วไปก็คือเรียกว่าการทำกู้ชีพนั่นเองนะครับ ก็คือ CPR นั่นเอง โดยการจัดให้นอนหงายนะครับ แล้วก็ชันคาง แล้วก็เตรียม Airway เตรียมที่จะดันช่วยให้อาหารที่ค้างไว้หลุดออกมา แต่ว่าถ้ากรณีหมดสติเนี่ยโดยทั่วไปเราจะต้องทำเหมือน CPR ก็คือว่าเราต้องเรียกคนมาช่วยเหลือนะครับ อันนี้สำคัญมาก อาจจะหมายถึง 1669 หรือ เรียกคนที่อยู่ใกล้ชิดในที่ที่เราอยู่ให้มาช่วยเหลือในการทำ CPR คนไข้นะครับ แล้วก็เรียกทีมทางแพทย์มา 2 ถึงจะมาเริ่ม CPR ก็คือการจัดท่านะครับ เชยคาง แล้วก็CPR โดยการเป่าปากแล้วก็กดหน้าอกให้หัวใจ อัตราส่วนประมาณ 100 ครั้งต่อนาที จนกว่าทางทีมแพทย์จะมาช่วยเหลือ นี่คือกรณีกลุ่มที่ 2 ที่หมดสติครับ

อีกกรณีหนึ่งถ้าเกิดอยู่คนเดียว เกิดสำลักขึ้นมา (6.15)

เราก็อาจจะหาขอบเก้าอี้ หรือขอบราวนะครับอยู่ในระดับเหนือต่อพุงนะครับมากดตรงระหว่างลิ้นปี่กับพุงเนี่ยให้เราไอหรือพยายามเป็นแรงที่จะส่งให้สิ่งแปลกปลอมออกมานะครับเพื่อจะเป็นการช่วยชีวิตตนเอง

ถ้าทำ CPR ผู้สูงอายุ มีโอกาสทำให้กระดูกหักไหม? (7.40)

มีโอกาสจริง ถูกต้องครับ เพียงแต่ว่าเราต้องมาชั่งน้ำหนักระหว่างความเสี่ยงกับสิ่งที่ได้นะครับ เพราะว่าถ้าเกิดการสำลักจนถึงขั้นหมดสติ ประเด็นคือสำลักจนหมดสติแล้วต้องทำ CPR นะครับ ถ้าทุกคนได้เรียนรู้เรื่อง CPR ที่เหมาะสมและปลอดภัยเนี่ยโดยทั่วไปจะไม่หักครับ เพราะเราจะกดลงไปประมาณ 2 นิ้วมือ แล้วก็ความถี่ที่ 100 ครั้งต่อนาที ซึ่งถ้าทำได้ถูกต้องตามหลัก CPR โดยทั่วไปกระดูกจะไม่หักนะครับ ต้องเรียนตรงนี้ก่อน เพื่อ Balance ความเสี่ยงกับถ้าไม่ทำคนไข้ไม่มีอากาศครับ ดังนั้นก็หมายความว่าจะสามารถเสียชีวิตได้ใน 3 ถึง 5 นาที

ฉะนั้นอันนี้เป็นความเสี่ยงจริงทั้ง 2 แบบ อยากให้ทุกคนได้เรียนรู้เรื่อง CPR ที่ถูกต้องก็จะปลอดภัยในกรณีนี้ครับ

ติดตามเรื่องราวข่าวสาร กินอยู่เป็น ง่ายๆ ได้ทาง
เว็บไซต์ : www.kinyupen.co
แฟนเพจ : กินอยู่เป็น
ทวิตเตอร์ : @kinyupenco : www.twitter.com/Kinyupenco
อินสตาแกรม : @kinyupen.co www.instagram.com/kinyupen.co

ขอบคุณภาพ : หมอชาวบ้าน

kinyupen