การเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากอากาศร้อน ปี 2568 เริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 จากรายงานการเจ็บป่วย ผ่านระบบรายงานแพลตฟอร์มเฝ้าระวังโรคดิจิทัล Digital Disease Surveillance (DDS) กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบผู้ป่วยจำนวน 34 ราย อายุระหว่าง 20 – 79 ปี ด้วยอาการเพลียหมดสติจากความร้อน ตะคริวแดด ลมแดด

ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างและเกษตรกรรม มีความเสี่ยงจากการทำงานกลางแจ้ง แนะประชาชน งดออกกำลังกาย หรืออยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน ดื่มน้ำบ่อยๆ สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี หลีกเลี่ยงใส่เสื้อผ้าสีทึบดำ
อุบัติเหตุจากการจมน้ำ ปี 2558 – 2567 คนไทยเสียชีวิตจากการจมน้ำเฉลี่ย 3,687 คน/ปี เฉลี่ยวันละ 10 คน โดยช่วงฤดูร้อน (มีนาคม – พฤษภาคม) มีคนจมน้ำเฉลี่ย 963 คน เดือนเมษายนมีจำนวนสูงที่สุด รวม 327 คน

กลุ่มอายุที่เสียชีวิตสูงสุด คือ 45 – 59 ปี จำนวน 84 คน
รองลงมาเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 70 คน
สาเหตุเกิดจากการเล่นน้ำมากที่สุด รองลงมา คือ ประกอบอาชีพหาปลา หาหอย เก็บผัก แหล่งน้ำที่มีการจมน้ำมากที่สุด คือ แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและแหล่งน้ำตามธรรมชาติ รองลงมา คือ เขื่อน ฝาย อ่างเก็บน้ำ มีการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนลงน้ำ หรือทำกิจกรรมทางน้ำ เกือบทั้งหมดของคนที่จมน้ำไม่สวมเสื้อชูชีพ

แนะประชาชน :
1.สวมเสื้อชูชีพทุกครั้งที่ลงเล่นน้ำ หรือทำกิจกรรมทางน้ำ
2.ปฏิบัติตามป้ายเตือน
3.งดดื่มแอลกอฮอล์เมื่ออยูใกล้แหล่งน้ำหรือทำกิจกรรมทางน้ำ
