เด็กจบใหม่ว่างงานเพิ่ม 4.1 แสน “หางานไม่ได้” สาเหตุหลัก

0
41
kinyupen

กููรูด้านการสมัครงานอย่าง jobsbd ได้ออกมาเปิดเผยว่า ในปัจจุบันประเทศไทย กำลังประสบปัญหาการว่างงาน ทั้งนี้นอกเหนือจากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวที่ส่งผลต่อการว่างงานแล้ว ยังมีปัจจัยภายในจากตัวนักศึกษาที่จบใหม่เองด้วย ซึ่งเหตุผลที่ทำให้พวกเขาเหล่านี้ยังคงว่างงานอยู่เป็นเพราะ ไม่ศึกษาความต้องการของตลาด

ในรายงานภาวะสังคมไทย ไตรมาส 3 ปี 2567 พบว่า มีผู้ว่างงานปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยไตรมาส 3 ปี 2567 มีจำนวน 4.1 แสนคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2566 คิดเป็นอัตราว่างงานร้อยละ 1.02 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.99 ในปีก่อน ซึ่งเพิ่มขึ้นทั้งผู้ที่เคยและไม่เคยทำงานมาก่อน ที่ร้อยละ 2.8 และ 3.5 หรือมีจำนวน 1.8 และ 2.3 แสนคน ตามลำดับ โดยผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน ส่วนใหญ่ออกมาจากสาขาการขายส่ง/ขายปลีก และสาขาการผลิต ขณะที่กลุ่มที่ไม่เคยทำงานมาก่อน ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาสูงสุดในระดับอุดมศึกษา มัธยมปลาย และมัธยมต้น ตามลำดับ

นอกจากนี้ ผู้ว่างงานระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 16.2 หรือมีจำนวน 8.1 หมื่นคน โดยกว่าร้อยละ 65.0 ระบุสาเหตุว่า “หางานไม่ได้” ขณะที่ร้อยละ 71.3 ไม่เคยทำงานมาก่อน ซึ่งในจำนวนนี้ เกือบ 3 ใน 4 อยู่ในช่วงอายุ 20 – 29 ปี

สำหรับอัตราการว่างงานในระบบอยู่ที่ร้อยละ 1.82 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 1.93 โดยมีผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานทั้งสิ้น 7.4 หมื่นคน ซึ่งกว่าร้อยละ 95 เป็นแรงงานในภาคการผลิต

ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นทั้งภาพรวมและภาคเอกชน

ในส่วนของ ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นทั้งภาพรวมและภาคเอกชน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ เมื่อต้นปี 2567 โดยค่าจ้างเฉลี่ยในภาพรวมของกลุ่มแรงงานในระบบ (ตามการจัดเก็บแบบเดิม) อยู่ที่ 15,718 บาท ต่อคนต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสสาม ปี 2566 ร้อยละ 1.8 ขณะที่ค่าจ้างเฉลี่ยในภาพรวมที่รวมกลุ่มแรงงานอิสระอยู่ที่ 16,007 บาทต่อคนต่อเดือน ส่วนค่าจ้างเฉลี่ยของภาคเอกชน อยู่ที่ 14,522 บาทต่อคนต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 2.7

ส่วนชั่วโมงการทำงานโดยรวมเพิ่มขึ้น แต่บางส่วนยังต้องการทำงานเพิ่ม โดยชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยในภาพรวมและภาคเอกชนในไตรมาสสาม ปี 2567 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.0 และ 2.7 หรืออยู่ที่ 43.3 และ 47.4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตามลำดับ โดยผู้ทำงานล่วงเวลาเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 3.8 ขณะที่ผู้เสมือนว่างงานและการว่างงานแฝงลดลงกว่าร้อยละ 32.9 และ 27.2 อย่างไรก็ตาม ผู้ทำงานต่ำระดับกลับเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 15.0 ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรกรรม ขณะที่ในสาขานอกภาคเกษตรกรรมส่วนใหญ่อยู่ในสาขาการขายส่ง/ขายปลีก และสาขาการก่อสร้าง

ภาพรวมการจ้างงานทรงตัว

อย่างไรก็ตาม สำหรับภาพรวมการจ้างงานในไตรมาสสาม ปี 2567 ทรงตัวโดยการจ้างงานภาคเกษตรยังคงหดตัวต่อเนื่อง ขณะที่นอกภาคเกษตรขยายตัวได้ โดยเฉพาะสาขาการขนส่งและเก็บสินค้า ส่วนสาขาการผลิตหดตัวซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตอุตสาหกรรมใหม่ ซึ่งภาครัฐอาจต้องมีมาตรการสนับสนุนการปรับตัวของอุตสาหกรรม การพัฒนาทักษะแรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง นอกจากนี้ ยังต้องติดตามผลกระทบต่อสินค้าเกษตรจากปัญหาอุทกภัย โดยไตรมาสสาม ปี 2567 การจ้างงานค่อนข้างทรงตัว โดยผู้มีงานทำมีจำนวน 40.0 ล้านคน ลดลงจากไตรมาสสาม ปี 2566 เล็กน้อยที่ร้อยละ 0.1

ที่มา :  PPTV Online

kinyupen

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here