ลุ้น พรบ.สมรสเท่าเทียม ผ่าน ชาว LGBTQIA+ เช็คเลยได้สิทธิอะไรบ้าง

0
51
kinyupen

วันนี้ 18 มิถุนายน 2567 สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ของไทย มีกำหนดประชุมพิจารณาร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ซึ่งเป็น สว. ชุดรักษาการ ที่เตรียมพิจารณาร่างกฎหมายในวาระ 2-3 อันถือเป็นขั้นสุดท้ายก่อนที่จะประกาศใช้กฎหมาย หลังจากที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และผ่านวาระแรกจาก สว. แล้ว เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต จึงได้รวบรวมข้อมูลมาอีกครั้งว่า พรบ สมรสเท่าเทียมนี้ ชาว LGBTQIA+ ที่อายุ 18 ปี ซึ่งต้องการจดทะเบียนสมรสเท่าเทียมจะได้สิทธิ์อะไรได้บ้าง

สิทธิดูแลชีวิต 

มีสิทธิ์ในการลงนามที่สำคัญ โดยเฉพาะ การตัดสินใจสำคัญทางการแพทย์การยินยอมต่อการรักษาพยาบาลว่าจะประคับประคอง หรือยื้อชีวิต รวมถึงการจัดการศพหากมีการเสียชีวิต

หลายครั้งที่เกิดความขัดแย้งระหว่างคู่ชีวิตชาว LGBTQIA+ กับครอบครัวในด้านอำนาจการตัดสินใจที่สำคัญ โดยเฉพาะกรณีการรักษาพยาบาล หรือสิ้นชีวิต ซึ่งสิทธิ์นี้หากเป็นคู่แต่งงานปกติ จะได้รับสถานะทางกฎหมายว่ามีความเชื่อมโยงเสมือนญาติ  แต่ที่ผ่านมาด้วยความที่ไม่มีกฎหมายรองรับชาว LGBTQIA+ แม้จะใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันมีการทำข้อตกลงกันไว้แล้ว ก็ไม่สามารถมีอำนาจตัดสินใจได้

สิทธิจากทะเบียนสมรส

สิทธิ์จากการจดทะเบียนสมรส ที่ครอบคลุมถึงการมีกฎหมายรองรับในการเป็นคู่ชีวิต ที่จะสามารถมีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการทรัพย์สินคู่สมรส  การเป็นตัวแทนทางกฎหมาย การได้รับสิทธิรับมรดก รวมถึงสิทธิประโยชน์จากสวัสดิการรัฐ เช่นสิทธิ์ในด้านการรักษาพยาบาลกรณีคู่สมรสเป็นข้าราชการ รับประโยชน์แทนตามสิทธิประกันสังคม รวมถึงสิทธิในการขอสัญชาติ

แต่ที่เป็น ไฮไลท์ พ่วงอันนี้คือ สิทธิในการฟ้องชู้ กรณีคู่สมรสนอกใจ นั่นหมายถึงว่า การผูกมัดด้วยทะเบียนสมรส จะส่งผลต่อการผูกมัดการเป็นคู่ชีวิต เพราะในที่นี้รวมถึงสิทธิที่จะได้จากการหย่าร้าง โดยจะมีสิทธิในการฟ้องหย่า สิทธิในการฟ้องร้อง เช่น สิทธิการเลี้ยงดูบุตร การเรียกค่าเลี้ยงชีพตามแต่กรณีการหย่าร้างที่เกิดขึ้น รวมถึงสิทธิ์ในสินสมรส

สิทธิในการเป็นพ่อและแม่

คู่ชีวิตทั้ง 2 คนจะได้รับสิทธิ์ในการเป็นผู้ปกครองของบุตรบุญธรรม จากเดิมกฎหมายระบุว่าคู่ชีวิต คู่รัก LGBTQIA+ จะรับบุตรบุญธรรมได้กับบุคคลเดียว ยกเว้นกรณีเป็นคู่สมรส ดังนั้นต่อไปคนทั้งคู่สามารถเป็นผู้ปกครองของบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ ทั้งนี้ ผู้รับบุตรบุญธรรมยังคงจะต้องมีอายุมากกว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี

อย่างไรก็ตาม ในการผ่านร่างพรบ.สมรสเท่าเทียมของ สว. ในครั้งนี้ ต้องดูหมายเหตุว่าสิทธิต่างๆ ในแต่ละข้อ มีข้อไหนที่ต้องรอให้มีการแก้ไขกฎหมายลำดับรอง หรือทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งระเบียบแบบฟอร์มต่างๆ เช่น การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม คำระบุในใบสมรส รวมถึงที่สำคัญพรบ.สมรสเท่าเทียมฉบับนี้เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่จำกัดเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงให้ขยายกว้างสำหรับชาว LGBTQIA+ แต่กฎหมายที่อยู่ภายใต้กระทรวงมหาดไทยด้านสิทธิต่างๆ นั้นคงต้องรอดูว่าจะครอบคลุมไปถึงตามสิทธิจะมีพึงมี พึงได้หรือไม่ โดยเฉพาะสิทธิด้านสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล

หากอย่างน้อย การผ่านร่างครั้งนี้ กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี 

kinyupen

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here