ผลสำรวจดับฝัน! หมดยุคเสื่อผืนหมอนใบ คนรวย รวยแล้วรวยอีก คนจนก็จนซ้ำซาก

0
141
kinyupen

Key Point

  • ในอนาคตคนไทยจะเกิดความเหลื่อมล้ำทางรายได้มากขึ้น คนที่รายได้ต่ำ รายได้ปานกลางจะขยับฐานะยากขึ้น แต่กลุ่มคน Top1% ที่รวยอยู่แล้วจะรวยยิ่งขึ้นไปอีก
  • คนไทยกว่า 64.3% ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • Gen Y เป็นกลุ่มที่ยื่นภาษีมากสุด ส่วน Gen X Gen Y และ Baby Boomer ที่อยู่ในเกณฑ์ต้องยื่นแบบฯ แต่ไม่ยื่นคิดเป็นในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน โดย 31.3% ของกลุ่มนี้มีรายจ่ายสูงกว่ารายได้

เหนื่อย เบื่อ ท้อ เมื่อไรจะรวย…..คงเป็นคำที่หลายๆ คน โดยเฉพาะกลุ่มเดอะแบกวัยทำงาน ครุ่นคิดอยู่บ่อยๆ แต่เพราะพื้นฐานแต่ละบุคคลต่างกัน คำตอบจึงไม่มีสูตรสำเร็จ คำสอนของไลฟ์โค้ชคนหนึ่ง ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน วันนี้ กินอยู่เป็น 360องศาแห่งการใช้ชีวิต จึงอยากนำข้อมูลวิจัยดีๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มาฝากกัน เพื่อเป็นแนวทางศึกษาทำความเข้าใจ หรือ ปรับใช้กับชีวิต

บทความชิ้นนี้สรุปรวบรวมมาจากข้อมูลงานวิจัยของ  รศ.ดร.อธิภัทร มุทิตาเจริญ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ โดยมีเนื้อหาที่น่าสนใจและตรงกับปัญหาสังคม คือ โอกาสที่คนเดินถนนอย่างเราๆ จะมีโอกาสลืมตาอ้าปากเลื่อนฐานะทางสังคมขึ้นไป โดยไม่ต้องเอาขาข้างหนึ่งไปเกี่ยวกับคุก หรือ โอกาสเสี่ยงมีหนี้สิน

บทวิจัยชี้โดยสรุปแบบรวบรัดว่า คนจะไม่มีโอกาสขยับฐานะ ด้วยวิธีแบบสุภาษิตความเชื่อเดิม ที่ว่า “ก่อร่างสร้างตัวจากเสื่อผืนหมอนใบ” แต่จะกลายเป็นว่ายังคงอยู่ที่เดิม คนจนจะจนอย่างเดิม รวยไม่จบแบบเดิม โดยงานวิจัยมาจากการศึกษาข้อมูลผู้มีรายได้ที่ต้องยื่นภาษีในระบบที่แบ่งช่วงตามฐานรายได้ 10 กลุ่ม ดังนั้นอาจคลาดเคลื่อนกรณีบุคคลที่ไม่ได้อยู่ในระบบการยื่นภาษี กระจายรายได้ และความเหลื่อมล้ำในสังคม ช่วงปี 2552-2561 มีความไม่เท่าเทียมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 

อัตราภาษีรายได้บุคคลธรรมดา จำแนกตามรายได้สุทธิ

กรณีนี้ กินอยู่เป็น 360องศาแห่งการใช้ชีวิต อยากให้ใส่หมายเหตุไว้ด้วยว่าการเลื่อนขึ้นลงของฐานะ ในที่นี้ต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับทางลัดอย่างการพนัน ปั่นสลอต ธุรกิจสีเทา หรือ แม้กระทั่งการถูกต้มตุ๋นจนทรัพย์สินเสียหาย โดยกลุ่มที่จะอยู่ที่เดิมเหนียวแน่นสุด คือ “กลุ่มที่รวยสุดมีรายได้เยอะ”

ส่วน “กลุ่มรายได้ปานกลาง พวกผู้บริหารระดับกลาง” ก็มีโอกาสขยับรายได้อาจเกิดจากเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง หรือ หารายได้เสริม แต่เมื่อนำส่วนล่าง “รายได้” ของคนฐานะปานกลางกับฐานะค่อนข้างยากจนมาเปรียบเทียบกัน และนำส่วนบน “การกระจายรายได้” ของคนรวยและคนฐานะปานกลางมาเปรียบเทียบ พบว่าความเหลื่อมล้ำที่ส่วนล่างนั้นไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก

อธิบายง่ายๆ คือ ในอนาคตคนไทย รายได้ต่ำ หรือ ฐานะปานกลาง จะขยับฐานะยากขึ้น แต่คนที่รวยอยู่แล้วก็จะรวยขึ้นไปอีก เกิดช่องว่างความเหลื่อมล้ำที่มากขึ้น โดยกลุ่ม Top1% มีส่วนแบ่งของรายได้เพิ่มอย่างเห็นได้ชัด จากราว 9% ในปี 2552 เป็น 11% ในปี 2561

ช่วงวัยไหนมีโอกาสได้ไปต่อ

ที่น่าสนใจ คือ กลุ่มที่มีอายุน้อย ช่วง 25-30 ปี มีโอกาสขยับฐานะสูงสุดถึง 75% ส่วนกลุ่มอายุที่สูงขึ้นจะมีโอกาสขยับฐานะยากขึ้น รวมถึง ปัจจุบันองค์กรขนาดใหญ่หลายแห่ง จะมีการใช้แพคเกจ early retire หรือ ใช้วิธีจ้างออกเพราะเปลี่ยนนโยบาย หรือ ใช้เหตุผลข้อจำกัดทางด้านเศรษฐกิจ สำหรับกลุ่มคนอายุงานสูง

ขณะที่ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า คนไทยสูงกว่า 64.3% ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยในปี 2565 มีสัดส่วนของผู้ที่ยื่นแบบฯ เพียง 35.7% จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ขณะที่กลุ่มที่ไม่ได้ยื่นแบบฯ แบ่งเป็นผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ต้องยื่นมากถึง 50.5% และ ขณะที่อีก 13.8% ที่ไม่ต้องยื่นแบบภาษีนั้น มาจากกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม หรือ เป็นผู้ว่างงาน/อยู่ระหว่างการศึกษาที่ไม่มีเงินได้ 

ซึ่งกลุ่มที่ยื่นแบบฯ ในปี 2565 60% มาจากกลุ่ม Gen Y (กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ.2523-2540) ขณะที่กลุ่มที่เข้าข่ายอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องยื่นแบบฯ แต่ไม่ยื่นกระจายในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันในกลุ่ม Gen X Gen Y และ Baby Boomer (กลุ่มคนที่เกิดก่อนปี พ.ศ.2522 เป็นต้นไป)ทั้งหมดเป็นแรงงานนอกระบบ มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มแรก โดยอยู่ที่ 12,115 บาทต่อคนต่อเดือน อีกทั้งยังมีสถานะการเงินที่ไม่มั่นคง โดย 55.5% มีรายได้เท่ากับรายจ่าย และ 31.3% มีรายจ่ายสูงกว่ารายได้

“พบว่าแรงงานไทยมีระดับการเลื่อนชั้นรายได้ต่ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา ทั้งในแง่ของการเลื่อนชั้นโดยรวม และการคงอยู่ในชั้นรายได้เดิมของกลุ่มรายได้สูงสุด 1%” 

Business partners handshake global corporate with technology concept

งานศึกษายังพบว่า ราว 35% ของแรงงานไทยจะยังคงอยู่ในกลุ่ม decile รายได้เดิมในช่วงระยะเวลา 10 ปี ซึ่งระดับความน่าจะเป็นของการคงอยู่ในชั้นรายได้เดิมนี้จะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง สำหรับกลุ่มรายได้ต่ำสุด และกลุ่มรายได้สูงสุด (ราว 51% และ 69% ตามลำดับ) ทั้งนี้ ความน่าจะเป็นของการคงอยู่ในชั้นรายได้เดิมที่สูง หมายถึง โอกาสการเลื่อนชั้นรายได้ที่ต่ำนั่นเอง

อ่านจบแล้ว เศร้า ท้อจนไม่อยากขยับร่างกายเลย

ขอบคุณที่มาข้อมูลจาก

https://www.pier.or.th/abridged/2024/04/

https://www.dailynews.co.th/articles/3493809/

kinyupen

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here