ล้า เหนื่อย อาจไม่ใช่ ขี้เกียจ? เช็กต่อมไทรอยด์ ปรับพฤติกรรม

0
571
kinyupen

หลายครั้งที่รู้สึก ล้า เหนื่อยเพลีย มักจะคิดว่านอนเร็วตื่นมาก็หาย แต่ถ้าอาการนี้เป็นติดๆ กัน กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตเสนอว่าควรหาสาเหตุที่มาและหาวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น

 

ความเหนื่อยล้าของร่างกายส่วนใหญ่เกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก

  1. ภาวะต่อมหมวกไตล้า เกิดจากทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ โดยเฉพาะนอนหลัง 00 น. อาการสำคัญ จากภาวะดังกล่าว คือ อ่อนเพลียตอนเช้าไม่อยากตื่น กลางวันตาสว่าง  อาการนี้หากไม่แก้ไขนานไปจะกลายเป็นโรคนอนไม่หลับ โรคปวดศีรษะ อารมณ์แปรปรวน และโรคซึมเศร้า
  2. ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ไม่ว่าทำงานมากเกินไป หรือน้อยเกินไป ก็จะส่งผลให้เกิดการเหนื่อยล้าทั้งนี้เพราะต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนควบคุมการเผาผลาญอาหารและมีอิทธิพลต่อการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ให้ทำงานสอดคล้องกัน

 

สาเหตุเหนื่อยล้าที่มาจากความบกพร่องของต่อมไทรอยด์ มักจะมีอาการง่วงซึม  ปวดกล้ามเนื้อและข้อ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกายและน้ำหนักที่คุมได้ยาก โดยความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ที่ทำงานมากเกินจะมีอาการหัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น มือสั่น วิตกกังวลง่าย เหงื่อออกมาก  ส่วนที่ทำงานน้อยเกินไปร่างกายจะทำงานช้าลง เผาผลาญอาหารได้น้อย  น้ำหนักเกิน ง่วงซึม ผมร่วง หงุดหงิดง่าย และความต้องการทางเพศลดลง

 

ทางแก้ปัญหาเบื้องต้นที่ทำได้ด้วยตนเองของทั้งสองสาเหตุคือปรับพฤติกรรม

  1. ลดความเครียด ด้วยการเล่นโยคะ หรือทำสมาธิ
  2. กินอาหารให้ครบทุกหมู่
  3. ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 45 นาที
  4. นอนหลับให้สนิท ควรเข้านอนช่วง 4 ทุ่มเพราะช่วงเวลา 24 .00 น. – 01.30 น. ควรเป็นช่วงหลับสนิทเพื่อให้ระบบต่อมไร้ท่อที่ผลิตฮอร์โมนทำงานปกติ เท่านี้ก็ช่วยให้ร่างกายสร้างสมดุลได้ขึ้นในระดับหนึ่ง

 

 

kinyupen