ข่าวดีสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่ชอบเปิดแอร์นอน หรือใช้ไฟเฉพาะวันหยุด กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต
จะมาแนะนำวิธีใช้ไฟแบบถูกแสนถูก และเหมาะกับวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่
ปกติค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านและกิจการขนาดเล็ก เป็นแบบ Progressive rate (อัตราก้าวหน้า) คือ ยิ่งใช้ไฟฟ้ามากก็ยิ่งเสียค่าไฟฟ้ามาก ทำให้รู้สึกว่าค่าไฟแพงเกินไป แต่หากเรามีไลฟ์สไตล์การใช้ไฟฟ้าน้อยในช่วงกลางวัน (On Peak) แต่ใช้ไฟฟ้ามากในช่วงกลางคืน (Off Peak) หรือใช้ไฟฟ้ามากในวันเสาร์ – อาทิตย์ กฟน. มีอัตราค่าไฟฟ้าแบบ TOU ให้เลือก ซึ่งช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากโขทีเดียว
อัตราค่าไฟฟ้า TOU (Time of Use Tariff) คิดค่าไฟฟ้าที่คิดตามช่วงเวลา โดยการไฟฟ้าฯจะแบ่งการคิดค่าไฟฟ้าตามอัตราที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้า ดังนี้คือ
- ช่วงความต้องการไฟฟ้าสูง (On Peak) ระหว่างเวลา 00-22.00 น. ของวันทำงาน (จันทร์-ศุกร์) อัตราค่าไฟฟ้า 5.2674 บาท ต่อหน่วย
- ช่วงความต้องการไฟฟ้าต่ำ (Off Peak) ระหว่างเวลา 00-09.00 น.ของวันทำงาน (จันทร์-ศุกร์) และช่วงเวลาระหว่าง 00.00-24.00 ของวันเสาร์-อาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ วันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันพืชมงคลและวันหยุดชดเชย) อัตราค่าไฟฟ้า 2.1827 บาท ต่อหน่วย
ถือเป็นการคิดค่าไฟที่เหมาะสำหรับคนทำงาน ที่ไม่มีใครอยู่บ้าน เช้าๆ ออกไปทำงาน ค่อยกลับมาใช้ไฟช่วงดึก ดังนั้น ถ้าจะรีดผ้า เปิดแอร์ หรือทำอะไรที่กินไฟเยอะๆ ควรทำในช่วง Off Peak จะคุ้มสุดๆ
แม้อัตราค่าไฟต่อหน่วยในช่วง Off Peak จะถูกกว่า แต่หากใช้ไฟฟ้าผิดช่วงเวลาจะถูกคิดค่าไฟแพงมาก ทั้งนี้ควรพิจารณาการใช้ชีวิตก่อนตัดสินใจเลือกมิเตอร์ไฟดังกล่าว เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้ไฟฟ้าที่มองหาทางเลือกที่คุ้มค่าที่สุด
ที่มา : การไฟฟ้านครหลวง www.mea.or.th/profile/110/266