10 เรื่องจริงของ “ถุงพลาสติก” ต้นกำเนิดที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

0
794
10-เรื่องจริงของ-ถุงพลาสติก-ต้นกำเนิดที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม_web
kinyupen

เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจาก “ถุงพลาสติก” ประชาชนบางส่วนอาจจะยังไม่ทราบว่า “ถุงพลาสติก” เป็นต้นกำเนิดของมลพิษและส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมของโลก “กินอยู่เป็น” จึงได้รวบรวม 10 เรื่องจริงของ “ถุงพลาสติก” ที่เป็นต้นกำเนิดแห่งมลพิษของสิ่งแวดล้อม

กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต พาไปติดตามเรื่องราวของ “ถุงพลาสติก” หนึ่งสิ่งที่มีตามร้านค้า ร้านขายของชำ รวมไปถึงห้างสรรพสินค้า อำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าผู้ที่มาใช้บริการ ในการหิ้วสินค้าจำนวนมาก ๆ กลับบ้าน ข้อดีของถุงพลาสติก คือ สามารถพับเก็บและพกพาไปได้ หยิบขึ้นมาใช้ในยามจำเป็นได้ทุกเมื่อ แต่จะรู้หรือไม่ ในทางกลับกัน “ถุงพลาสติก” เป็นตัวการสำคัญในการทำลายสิ่งแวดล้อม เพราะกว่าจะย่อยสลายได้ต้องใช้เวลานานหลายร้อยปี และยิ่งหากนำถุงพลาสติกมาเผาไฟ ก๊าซพิษที่เผาไหม้จะสะสมและทำลายในชั้นบรรยากาศ ทำให้รังสียูวีไม่สามารถสะท้อนกลับได้ จึงทำให้เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้น

จากข้อมูลพบว่า ประเทศไทยติดหนึ่งในประเทศที่ปล่อยขยะพลาสติกลงสู่ทะเล หนึ่งในนั้นคือถุงพลาสติกใส่สินค้าที่คนทั่วไปนิยมใช้เป็นจำนวนมาก เมื่อถุงพลาสติกดังกล่าวถูกทิ้งลงไปในแม่น้ำ กระทั่งไหลผ่านลงสู่ท้องทะเล ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลรวมไปถึงสิ่งแวดล้อมในระยะยาวอย่างมาก เนื่องจากถุงพลาสติก 1 ใบ ใช้เวลาในการย่อยสลายนานถึง 450 ปี

ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจาก “ถุงพลาสติก” ประชาชนบางส่วนอาจจะยังไม่ทราบเรื่องจริงของ “ถุงพลาสติก” ที่เป็นต้นกำเนิดของมลพิษและส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมของโลก กินอยู่เป็น 360 องศา แห่งการใช้ชีวิต จึงได้รวบรวม 10 เรื่องจริงของ “ถุงพลาสติก” ที่เป็นต้นกำเนิดแห่งมลพิษของสิ่งแวดล้อม

1. ถุงพลาสติกเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีน้ำหนักเบา พับเก็บได้ พกพาได้ง่าย พัฒนาและขยายผลมาจาก “เซลลูลอยด์” ที่สังเคราะห์ขึ้นจากความต้องการหาวัสดุทดแทนงาช้าง ในการผลิตลูกบิลเลียดในช่วงปี 1868

2. ถุงพลาสติกเป็นหนึ่งในของใช้ยอดนิยมของคนทั่วโลก ปัจจุบันมียอดการใช้งานถุงพลาสติกจำนวน 5 แสนล้าน – 1 ล้านล้านใบต่อปี เฉลี่ยทุก ๆ 1 นาที มีการใช้ถุงหิ้วอย่างน้อย 1 ล้านใบ

3. ถุงพลาสติกจำนวน 5 แสนล้านใบ ต้องใช้พลังงานการผลิตจากน้ำมันจำนวน 9,000 ล้านลิตร

4. ถุงพลาสติกเป็นของใช้ที่มีอายุการใช้งานสั้น จะแปรสภาพเป็นขยะทันทีหลังจากการใช้งานหรือเกิดการชำรุด ซึ่งใช้เวลาในการย่อยสลายนานถึงกว่า 450 ปี

5. ถุงพลาสติกประเภทหูหิ้ว แม้จะเป็นชนิดที่นำไปรีไซเคิลได้ แต่ปัจจุบันมีการนำกลับไปรีไซเคิลน้อยมาก จากการสำรวจพบว่าทุกตารางกิโลเมตรทั่วโลกจะมีขยะพลาสติกราว 46,000 ชิ้น

6. ทุก ๆ ปี ประชาชนทั่วโลกจับจ่ายซื้อของโดยใช้ถุงพลาสติก 10,000 ล้านใบต่อปี ซึ่งจะต้องใช้เวลาย่อยสลายนานกว่า 1,000 ปี

7. ถุงพลาสติก 1.6 ล้านใบ นำไปเรียงเป็นเส้นรอบวงโลกได้ 1 รอบ

8. ทุก ๆ 1 ตารางไมล์ จะพบถุงพลาสติก 46,000 ใบ ลอยในมหาสมุทร ส่งผลให้แต่ละปีมีนกทะเลตาย 1 ล้านตัว และสัตว์ทะเลอื่น ๆ จำนวน 100,000 ตัว และปลาอีกจำนวนนับไม่ถ้วน

9. แต่ละปีจะมีเต่าทะเลและสัตว์น้ำจำนวนมากต้องตายจากการกินพลาสติก โดยเฉพาะถุงพลาสติก เนื่องจากมันคิดว่าเป็นอาหาร

10. ถุงพลาสติกที่คนไทยใช้งานกันตลอด 1 ปีนั้น หากเอามาต่อ ๆ กัน จะได้เป็นระยะทางเท่ากับการเดินทางไป-กลับ ดวงจันทร์ ถึง 7 รอบเลยทีเดียว

แล้วเราจะลดการใช้ “ถุงพลาสติก” ได้อย่างไร วิธีการง่าย ๆ เพียงแค่นำ “ถุงผ้า” หรือ “ตะกร้า” ไปใส่ของแทน ตอนซื้อของก็บอกกับคนขายว่า “ไม่ต้องถุงนะครับ/คะ” , “ใช้ถุงกระดาษ” บางร้านค้าใช้ถุงในรูปแบบของกระดาษแทนถุงที่เป็นพลาสติก เนื่องจากถุงพลาสติกย่อยสลายยาก และ “ใช้ถุงพลาสติกแบบย่อยสลายได้” ถุงประเภทนี้จะผสมสารย่อยสลายที่แทรกตัวอยู่ในโมเลกุลของเม็ดพลาสติก สารย่อยสลายดังกล่าวเมื่อเจอกับแสดงแดดก็จะทำปฏิกิริยากับเม็ดพลาสติกให้โมเลกุลแตกสลาย ใช้เวลาประมาณ 1 ปีในการย่อยสลาย

อย่างไรก็ตาม หลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนต่างให้ความสำคัญและมีการรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงผลเสียของการใช้ถุงพลาสติก จะว่าไปปัญหาจากขยะพลาสติกสามารถแก้ปัญหาได้ เริ่มต้นที่ตัวเราเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการใช้ถุงพลาสติก แค่นี้ก็สามารถเพิ่มความน่าอยู่ของโลกใบนี้ได้อย่างมาก สุดท้ายแล้วสิ่งแวดล้อมบนโลกของเราจะพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นหรือแย่ลงขึ้นตัวที่เราเอง และนี่คือหนึ่งในวิถีแห่ง กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต

 

ขอขอบคุณ : เนื้อหาจาก sanook.com

kinyupen