หวั่นโลกขาดความมั่นคงทางอาหาร จากผลกระทบโควิด 19 หลังประเทศส่งออกข้าวรายใหญ่อาจระงับการส่งออก

0
525
kinyupen

จากปัญหาการระบาดของโรคโควิด19 ที่กำลังทวีความรุนแรงและขยายไปทั่วทุกภูมิภาคของโลก ทำให้หน่วยงานด้านความมั่นคงทางอาหารของโลก ได้ออกมาแสดงความวิตกกังวลว่าปัญหาเรื่องการขาดแคลนอาหารที่อาจจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เพราะการที่ประชากรของแต่ละประเทศทั่วโลกต้องเผชิญมาตรการล็อกดาวน์จากการต่อสู้กับโรคโควิด19 ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าผู้ส่งออกด้านการเกษตรสำคัญที่เป็นแหล่งอาหารของโลกอาจจะต้องจำกัดการส่งออก

 

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานระบุว่า หลังจากการระบาดของไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ครอบคลุมไปทุกทวีปของโลก ทำให้ประชากรในทุกประเทศต่างแตกตื่น พากันกักตุนสินค้าจำเป็นที่ใช้ในครัวเรือนอย่างตื่นตระหนก ซึ่งเป็นการกักตุนอาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทแป้ง ทำให้สินค้าเหล่านี้เริ่มหาซื้อยากมากขึ้นในหลายประเทศ และสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้มีความกังวลว่า รัฐบาลบางประเทศอาจจะดำเนินการเพื่อเก็บอาหารไว้ภายในประเทศเพื่อความมั่นใจว่าจะมีอาหารเพียงต่อการบริโภคภายในประเทศ ในขณะที่ห่วงโซ่อุปทานได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค โดยเฉพาะหากผู้ส่งออกรายใหญ่เริ่มเก็บตุนพืชเกษตร เช่น ข้าว ที่จะถูกนำมาผลิตเป็นแป้ง และเป็นอาหารหลักของคนทั่วโลกนั่นย่อมจะส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารของโลกอย่างแท้จริง

 

ปัจจุบันมีรายงานว่าเวียดนามซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ ได้เริ่มจำกัด การส่งออกข้าวแล้วเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความพร้อมใช้งานภายในประเทศ ซึ่งหากเวียดนามยังคงห้ามการส่งออก อุปทานของข้าวในตลาดโลกลดลงประมาณ 10-15% ในระยะเวลาอันใกล้นี้ และกลุ่มประเทศในแถบอาจเผชิญกับปัญหาหากเกิดการหยุดชะงักของการส่งออกนี้

 

ขณะที่ในประเทศอินเดียซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวชั้นนำระดับโลกเพิ่งเข้าสู่มาตรการล็อกดาวน์เป็นเวลาสามสัปดาห์ซึ่งทำให้ช่องทางโลจิสติกส์หลายช่องหยุดชะงักนั่นหมายถึงกระบวนการส่งออก หรือขนส่งอาหารจะถูกหยุดตามไปด้วย นอกจากนี้สหภาพผู้ค้าน้ำมันพืชของรัสเซียก็เรียกร้องให้มีการ จำกัด การส่งออกเมล็ดทานตะวันและผลผลิตน้ำมันปาล์มได้ชะลอตัวลง ซึ่งรัสเซียถือเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มเป็นอันดับสองรองจากมาเลเซีย นอกจากนี้รัสเซีย ยูเครนและคาซัคสถาน จะยังส่งออกข้าวสาลีได้หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตของปี 2562 แต่ผู้ค้าสินค้าด้านเกษตรของโลกก็ยังมีความกังวลอยู่ดี โดยเฉพาะการจำกัดการส่งออกของรัสเซียที่เป็นผู้ส่งออกข้าวสาลี และ ธัญพืชชนิดอื่นๆ ไปยังตลาดอาหารต่างๆ ในแถบยุโรป

 

ปัญหาความกังวลเรื่องของการขาดความมั่นคงทางอาหารยังกระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของโลก เนื่องจากในหลายประเทศได้รับผลกระทบจากโรคระบาดนี้ และรัฐบาลบางประเทศก็พยายามที่จะหาวิธีเพื่อกักตุนเสบียงอาหารไว้ให้กับผู้คนในประเทศ รวมถึงยังคงมีความล่าช้าจากการขนส่ง เช่น รัฐบาลอียิปต์ที่ยังต้องรอข้าวสาลีสำหรับทำอาหารให้มาถึงโดยเร็วแต่เกิดการล่าช้าจากการปิดการทำงานของบริษัทขนส่ง ทำให้พวกเขาต้องออกมาระบุว่า อียิปต์มีสต๊อกสินค้าเหล่านี้อยู่ได้เพียงอีก สี่เดือนข้างหน้าเท่านั้น เช่นเดียวกับรัฐบาลอิรักที่ระบุว่า จำเป็นต้องนำเข้าข้าวสาลี 1 ล้านตันและข้าว 250,000 ตันหลังจากที่คณะกรรมการวิกฤติได้แนะนำให้เพิ่มสต๊อกอาหาร ขณะที่รัฐบาลกาตาร์ได้นามข้อตกลงเพื่อเพิ่มปริมาณสำรองด้านอาหารด้วย

 

สำหรับประเทศในภูมิภาคเอเชีย ดูเหมือนว่ายังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก โดยผู้ค้ารายหนึ่งในสิงคโปร์กล่าวว่า จนถึงขณะนี้เขายังไม่ได้รับคำสั่งซื้อข้าวสาลีเพิ่มเติมกว่าปกติแต่อย่างใด ซึ่งจากข้อมูลผลผลิตของกรมวิชาการเกษตรคาดการณ์ว่าผลผลิตข้าวและข้าวสาลีทั่วโลกซึ่งเป็นพืชอาหารที่มีการซื้อขายกันอย่างกว้างขวางทั่วโลกจะสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 1.26 พันล้านตันในปีนี้

 

อย่างไรก็ตามหากพิจารณาจากราคาสินค้าเกษตรในเวลานี้ พบว่าราคาข้าวในตลาดโลกกำลังปรับตัวสูงขึ้น หลังจากเกิดปัญหาเรื่องการขนส่ง โดยเวียดนามหยุดส่งออก อินเดียอยู่ในช่วงปิดทำการและประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศส่งออกข้าวสำคัญก็อาจจะออกมาตรการเช่นเดียวกันนั้นและนั่นหมายถึงราคาข้าวจะสูงขึ้นอย่างแน่นอน

 

ปัจจุบัน ราคาข้าวในประเทศไทยสูงขึ้นกว่า 11% นับตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์สู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2556 ที่ระดับ 492.5 ดอลลาร์ต่อตัน ทั้งนี้ผู้ค้าข้าวของสิงคโปร์รายนี้ระบุว่า ไม่คิดว่าจะมีการขาดแคลนข้าว เพราะมีข้อมูลว่าอินเดียที่สินค้าคงเหลือมีขนาดใหญ่มาก แต่กลับพบว่าสินค้าคงคลังเหล่านั้นไม่ได้กระจายอย่างเท่าเทียมกัน เพราะส่วนใหญ่กระจายอยู่ในจีนและอินเดียเพียงอย่างเดียวเท่านั้น นั่นหมายถึงผู้ซื้อข้าวรายใหญ่ เช่นฟิลิปปินส์ผู้นำเข้ารายใหญ่และอื่น ๆ ในเอเชียและแอฟริกาอาจมีความเสี่ยงหากประเทศส่งออกข้าวรายใหญ่จำกัดการส่งออก ก็อาจจะประสบปัญหาเรื่องอาหารไม่เพียงพอได้

kinyupen