การแบ่งระดับโรคระบาดของไทย และ องค์การอนามัยโลก เหมือน หรือแตกต่างตรงไหน?

0
885
kinyupen

องค์การอนามัยโลกประกาศยกระดับการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ให้เป็น ระดับ “การระบาดใหญ่ระดับโลก”หรือ Global Pandemic เป็นที่เรียบร้อยแล้วหลังพบว่ามีการแพร่ระบาดไปในทุกทวีปทั่วโลก

 

สำหรับการแบ่งระดับการระบาดของประเทศไทย และ ตามความหมายขององค์การอนามัยโลก มีรายละเอียดดังนี้

 

 

การแบ่งระดับการระบาดในประเทศไทย

หน่วยงานด้านสาธารณสุขแบ่งระยะของการระบาด ออกเป็น 3 itfy[ ด้วยกัน ซึ่งแต่ละเฟสจะบ่งบอกถึงสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของการแพร่ระบาดในกลุ่มผู้ติดเชื้อไวรัส ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไป ดังนี้

ระยะที่ 1 ผู้ป่วยติดเชื้อที่พบล้วนเป็นผู้ป่วยนำเข้าจากต่างประเทศ และไม่พบการติดเชื้อที่เกิดขึ้นในประเทศ ซึ่งคล้ายกับสถานการณ์ในประเทศไทย ในช่วงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งผู้ติดเชื้อล้วนเป็นชาวต่างชาติที่มีประวัติเดินทางมาจากประเทศเสี่ยง

ระยะที่ 2  จะพบว่า เริ่มมีคนไทยติดเชื้อในประเทศจากนักท่องเที่ยวหรือคนไทยที่คาดว่าติดเชื้อจากการเดินทางไปยังกลุ่มประเทศเสี่ยง เช่น กรณีผู้ติดเชื้อชาวไทยที่ทำอาชีพขับรถรับส่งนักท่องเที่ยวจีน แต่ยังไม่พบการติดต่อในกลุ่มคนในประเทศจากคนในประเทศด้วยกันที่­ไม่เคยมีประวัติเดินทางไปยังกลุ่มประเทศเสี่ยง

ระยะที่ 3 การระบาดในระยะ 3 จะเป็นช่วงที่มีการระบาดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยจะพบว่ามีการติดเชื้อระหว่างคนในประเทศด้วยกัน ระหว่างผู้ที่ไม่เคยมีประวัติเดินทางไปยังต่างประเทศ โดยพบเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คล้ายกับกรณีที่เกิดขึ้นในเกาหลีใต้ หลังจากที่ผู้มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศได้แพร่กระจายต่อชุมชนในลัทธิแห่งหนึ่ง ทำให้เกิดการแพร่กระจายต่อในชุมชนต่างๆ เป็นวงกว้าง

 

 

การแบ่งระดับการระบาดขององค์การอนามัยโลก

แบ่งการระบาดของโรคระบาดทั่วไปคือ

  1. Sporadic หมายถึงโรคที่เกิดขึ้นไม่บ่อยหรือไม่สม่ำเสมอ  3 เชื้อโรคที่เกิดจากอาหาร เช่น เชื้อ Salmonella หรือ Coli มักจะทำให้เกิดการระบาดของโรคประปราย
  2. Cluster หมายถึงโรคที่เกิดขึ้นในจำนวนที่มากขึ้น แม้ว่าจำนวนหรือสาเหตุที่แท้จริงอาจไม่แน่นอน ตัวอย่างคือ กลุ่มผู้ป่วยมะเร็ง มักรายงานหลังเกิดภัยพิบัติทางเคมีหรือนิวเคลียร์ ที่ 4
  3. Endemic หมายถึงการมีอยู่อย่างต่อเนื่องและ หรือความชุกของโรคในประชากรทางภูมิศาสตร์
  4. Hyperendemic หมายถึงโรคระดับสูงถาวรเหนือสิ่งอื่นที่เห็นในประชากรอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น เอชไอวีเป็นภาวะเลือดคั่งเกินในส่วนของแอฟริกาในขณะที่ผู้ใหญ่จำนวนมากถึง 1 ใน 5 มีโรค และเป็นโรคประจำถิ่นในสหรัฐอเมริกาโดยประมาณ 1 ใน 300 ติดเชื้อ
  5. Epidemic หมายถึงการเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันของจำนวนผู้ป่วยโรคที่สูงกว่าที่คาดไว้
  6. Outbreak การแพร่ระบาด มีคำจำกัดความเดียวกับการระบาด แต่มักใช้เพื่ออธิบายเหตุการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่ จำกัด มากขึ้น
  7. Pandemic หมายถึงโรคระบาดที่แพร่กระจายไปทั่วหลายประเทศหรือหลายทวีปซึ่งมักส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก
kinyupen