รู้จัก “ท่าเรืออู่ชาง” ศูนย์กลางส่งออกเรือดำน้ำสุดล้ำของจีน ณ เมืองอู่ฮั่น

0
956
kinyupen

หลังการเดินทางกลับอย่างปลอดภัยไร้การติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ จากเมืองอู่ฮั่น ใน มณฑลหูเป่ย  ของทหารเรือ 20 นาย จนกลายเป็นดราม่าถูกตั้งคำถามจากสังคมว่าเหตุใด ทหารทั้ง 20  นายจึงเดินทางกลับได้อย่างรวดเร็วในขณะที่คนไทยจำนวนหนึ่งยังคงไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้ จนกองทัพเรือต้องออกมาชี้แจงว่าสาเหตุที่กลับได้เร็วเนื่องจากทหารเรือซึ่งทำงานอยู่ที่อู่ต่อเรือในเมืองอู่ฮั่น อยู่ระหว่างหยุดตรุษจีน และเดินทางท่องเที่ยวตามเมืองต่างๆ กระทั่งทางการจีนประกาศปิดเมืองอู่ฮั่น จึงไม่สามารถกลับได้ จึงได้ขออนุญาตกองทัพเดินทางกลับประเทศนั่นเอง

 

ทั้งนี้นอกจากเมืองอู่ฮั่นจะเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ที่ใหญ่เป็น อันดับ 4 ของจีน  ทำให้มีชาวต่างชาติเข้าไปทำงานจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่นที่มีไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ อยู่ราว 600 คน จนล่าสุดทำให้ญี่ปุ่นต้องส่งเครื่องบินไปอพยพพลเมืองของตนกลับประเทศแล้ว อู่ฮั่น ยังนับเป็นเมืองที่มีอู่ต่อเรือใหญ่ที่ทันสมัยหลายแห่ง โดยเฉพาะ อู่ต่อเรืออู่ชาง (Wuchang) ที่มีอู่ต่อเรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ตั้งอยู่อีกด้วย โดยอู่ต่อเรือแห่งนี้ เป็นอู่ต่อเรือหลักที่สร้างเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบให้กับกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนในปัจจุบัน เช่น เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Type 039 Song และ Type 041 Yuan รวมถึงเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า Type 032 Qing ซึ่งเป็นเรือดำน้ำตามแบบติดขีปนาวุธที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกด้วย

 

ดำเนินการผลิตอุตสาหกรรมด้านการต่อเรือ ทั้งเรือที่ใช้ในการทหารและการค้า, เรือพลเรือน, อุปกรณ์สะพาน, อุปกรณ์วิศวกรรมสมุทรศาสตร์, โรงงานโครงสร้างเหล็กอื่นๆ  นอกจากนี้ยังมี การวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการผลิตอาวุธแห่งชาติของจีน  รวมทั้งยังเป็นฐานการผลิตเรือดำน้ำและเรือพื้นผิวที่ทันสมัยโดยผลิตอุปกรณ์ทางเรือและการป้องกันทางการทหารที่ใช้ภายในจีนเอง และยังส่งออกไปยังหลายประเทศ เช่นแอฟริกา เอเชียใต้และตะวันออก ยุโรปตะวันตกเช่นกรีกและนอร์เวย์

 

ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ ท่าเรืออู่ชาง  เคยตกเป็นข่าวไปทั่วโลก เมื่อมีข่าวการเผยแพร่ภาพถ่ายดาวเทียมของ DigitalGlobe ซึ่งเผยแพร่ใน Google Earth ที่ถ่ายภาพเหนืออู่ต่อเรือ Wuchang ในเมืองอู่ชาง ที่มีการพบภาพเรือดำน้ำขนาดเล็ก (Midget Submarine) ลึกลับ โดยถูกนำไปเปรียบเทียบกับภาพถ่ายดาวเทียมเหนือบริเวณเดียวกันในเดือนมกราคม 2015 พบว่ามีเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า Type 041 Yuan มาจอดเทียบท่าแทน ซึ่งเชื่อว่าเป็นความพยายามในการพัฒนาการก่อสร้างเรือดำน้ำในขนาดต่างๆ ของจีนเพื่อใช้ทั้งในการทหารของจีนเอง รวมถึงเพื่อการส่งออกด้วย

 

 

สำหรับประเทศไทย กองทัพเรือไทย ได้มีการอนุมัติให้มีการสั่งซื้อเรือดำน้ำ  S26T  ราคาประมาณ 430 ล้านดอลลาร์ จากอู่ต่อเรือ Wuchang Shipbuilding Industry Group เมืองอู่ฮั่น โดยได้มีการทำพิธีไปเมื่อวันที่ 4 ก.ย.61 คาดว่าการสร้างเรือจะใช้เวลาประมาณ 5 ปี และมีกำหนดส่งมอบเรือในปลายปี 2566

kinyupen