5 นิสัยการใช้เงิน ช่วยทำนายอนาคต

0
1714
kinyupen

ฉันเงินเดือนเยอะมาก แต่ทำไมเงินเก็บถึงไม่มีเลย, ดีจังเลย เขาเงินเดือนเป็นแสน ต้องรวยแน่ๆ แต่หารู้ไม่ว่าเขามีภาระค่าใช้จ่ายมากมาย จนเงินที่เหลือใช้ได้จริงๆ ก็พอๆ กับเรานี่แหละ

 

มีเงินเท่าไหร่ก็ไม่สำคัญ แต่สำคัญที่ใช้เท่าไหร่ต่างหาก เพราะเงินออมที่แท้จริง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับรายรับ แต่ขึ้นอยู่กับรายจ่าย (ตามสมการ รายได้ – รายจ่าย = เงินออม) “นิสัยการใช้เงิน” จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้รวยหรือจน ไม่ใช่เงินเดือน

 

กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตชวนคุณมาทำนายอนาคต ว่าสุดท้ายคุณจะมั่งคั่งได้หรือไม่ ด้วยนิสัยการใช้เงิน

 

5 นิสัยใช้เงิน กำหนดชะตาชีวิต

David Bach (เดวิด บาค) ได้แบ่งนิสัยการใช้เงินที่แสดงสถานภาพทางการเงินของแต่ละบุคคลได้เป็นอย่างดี สามารถกำหนดชะตาชีวิตคุณได้อย่างแม่นยำ โดยเขาได้แบ่งตามหลักเศรษฐศาสตร์ นั่นคือ แบบ Poor แบบ Bankruptcy แบบ Middle class แบบ Rich และแบบ Millionaire

 

 

มี 100 ใช้ 120 แล้วยังหยิบยืมชาวบ้าน : ล้มละลายแน่นอน เป็นหนี้ตลอดชีวิต

มี 100 ใช้ 100 ไม่มีเก็บ: จน ไม่มั่นคง แต่ไม่เป็นหนี้

มี 100 ใช้ 90 อีก 10 เป็นเงินออม: ชนชั้นกลาง

มี 100 ใช้ 80 อีก 20 เป็นเงินออม: รวย มีความมั่นคง

มี 100 ใช้ 50 อีก 20 เป็นเงินออม อีก 30 นำไปลงทุน: เศรษฐีเงินล้าน

 

สมมติคนคนหนึ่งมีรายได้เท่ากัน แต่มีนิสัยการใช้เงินต่างกัน ปลายทางสุดท้ายของชีวิตย่อมต่างกัน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

 

 

พฤติกรรมใช้เงินที่ทำให้จน

หนึ่งในสาเหตุปัญหาการเงินคือ ค่านิยมเกินตัว เมื่อการเข้าสังคมเป็นสิ่งสำคัญที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำอย่างไรก็ได้ให้คนรอบข้างรู้สึกประทับใจ ยอมใช้ “เงิน” ในการแก้ปัญหา เสียเงินไม่ว่า เสียหน้าไม่ได้

จนสุดท้าย “เงิน” กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่สุด ที่คนจะนำมาใช้สำหรับการมีหน้ามีตาในสังคม ซื้อตัวท็อปไปเลย Full Option ต้องมีแบรนด์ดัง ใครเห็นต้องว้าว

 

รายได้ต่ำรสนิยมสูง อยากกิน Starbucks ทุกเช้า

เงินเดือน 2 หมื่น ออก iPhone ตัวใหม่ ทั้งที่วันๆ ใช้แต่ไลน์

งานบวชงานแต่ง จัดใหญ่จัดเต็ม มีโต๊ะจีน กินเลี้ยง

เงินพาลูกไปทัศนศึกษายังไม่พอ แต่แต่งรถกันได้แพงๆ

 

วันหนึ่ง..รถเสียแล้วไม่มีเงินซ่อม ป่วยฉุกเฉินแล้วเงินหมด วิกฤติเศรษฐกิจโลกแล้วเงินเก็บสำรองไม่พอ ตกงานแล้วจ่ายหนี้ไม่ทัน เราติดกับ “ค่านิยมดูดีสำเร็จรูป” แล้วก็เครียด มันคือปัญหาค่านิยมความเกินตัว

 

หากคุณใช้เงินในการสร้างภาพลักษณ์ สักวันเงินคุณก็จะต้องหมดไป ไม่เหลือความมั่นคงในชีวิต ถามตัวเองสักครั้งว่าความมีหน้ามีตาในสังคมที่ได้มา แลกกับหนี้สิน มันคุ้มไหมกับการลงทุน

 

ลองอ่านดูแล้ว คิดว่า “คุณเป็นคนกลุ่มไหน?”

kinyupen