วิธีรับมือคนหัวโบราณ สติไม่พัง ฟังแน่นอน!!!!

0
980
kinyupen

ทุกวันนี้ประชากรผู้สูงอายุในไทยเฉลี่ย 30 ล้านคน ต่อประชากรทั้งหมด เรียกได้ว่าเป็นอัตราส่วนที่มากที่สุดในประเทศไทยเลยก็ว่าได้ จึงทำให้เรามองเห็นว่าทุกวันนี้ เราจะต้องใช้ชีวิตส่วนมากรับมือกับกลุ่มคนที่มีความคิดแบบเก่าหรือเรียกว่า “หัวโบราณ” นั่นเอง เพราะฉะนั้นคนที่อยู่นานกว่ามักจะเป็นผู้ให้กำเนิด วัฒนธรรม ค่านิยม และวิถีปฏิบัติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะหล่อหลอมมาเป็นกฎและการปฏิบัติตัวในสังคมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ครอบครัว สถานศึกษา หรือที่ทำงาน สิ่งเหล่านี้ก็ล้วนถูกกำหนดมาจาก คนรุ่นเก่าทั้งสิ้น

สำหรับการเป็นคนรุ่นใหม่ หรือเป็นคนที่ยอมรับความคิดเห็นสมัยใหม่ ในสังคมที่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกวันนั้นไม่ง่ายเลย ยิ่งในสังคมการทำงาน และการศึกษา คนรุ่นใหม่ต้องใช้ทักษะในการอยู่ร่วมกันกับคนต่างวัยให้ดีที่สุดเพราะจะได้ไม่เกิดความขัดแย้ง เพราะช่องว่างระหว่างวัยใครๆ ก็รู้ว่าคือเชื้อเพลิงชั้นดีของความขัดแย้งในทุกวันนี้

  กินอยู่เป็น จึงมีวิธีการ “ทำตัว” ให้อยู่ร่วมกับคนรุ่นเก่าอย่างสบายใจมาฝากทุกคนกัน จะมีวิธีใดบ้างไปเช็กกันได้เลย

  1. ฟังอย่างตั้งใจ ไม่เชื่ออะไรเก็บไว้ในใจก่อน

มาตรฐานมารยาทสังคมไม่ว่าจะเก่าหรือใหม่ การเป็นผู้ฟังที่ดีควรอยู่ในพื้นฐานของทุกคน รวมไปถึงการรับฟังในสิ่งที่ผู้อวุโส พูดหรือเล่าให้ฟังไว้ก่อน ถึงแม้สิ่งนั้นจะดูไม่เข้าหู และไม่ตรงกับใจเราคิด เราคงรู้สึกไม่ดีเมื่อมีคนมาขัดและไม่ตั้งใจฟังกับสิ่งที่เราต้องการจะสื่อสาร เมื่อฟังแล้วเราค่อยเก็บสิ่งที่ได้ฟังนั้นมาวิเคราะห์และมองหาเหตุผลว่ามีอะไรบ้าง และกลั่นกรองมาเป็นบทสนทนาดีๆ ที่เมื่อเขาได้ฟังเขาจะรู้สึกว่าเราไม่ได้เถียงหรือคัดค้าน

  1. มองให้กว้าง สิ่งที่มีมานานก็ไม่ได้แย่เสมอไป

เมื่อได้รับรู้เคล็ดลับ หรือเรื่องราวเก่าๆ ที่ผู้อวุโสพูดถึงนั้น บอกตัวเองไว้ว่าจงมองให้กว้าง เพราะสิ่งเหล่านั้นอาจกลายเป็นเทรนด์ในยุคใหม่ก็ได้ ความเก่า ความคลาสสิค มันมีเสน่ห์ในตัวมันเสมอ ไม่งั้นคุณคงจะไม่พบ เสื้อผ้าวินเทจ เพลงยุค 90 ร้านกาแฟสไตล์วินเทจ รถเก่า กล้องฟิล์ม ที่ช่วงนี้ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเหมือนเครื่องเตือนจิตใจ ความเป็นตัวตนของเราที่เคยมี และตอนนี้มันหายไปแล้ว เราจึงอยากได้เสน่ห์นั้นกลับมาเพื่อย้ำเตือนให้นึกถึงยุคสมัยนั้นๆ

  1. ยื่นมือ เข้าไปช่วยเหลือ

แม้จะมีอายุที่มากขึ้นแต่พละกำลังเขาจะลดลง บางอย่างเขาอาจจะทำไม่ได้หรือเรียนรู้ไม่ทัน เมื่อโลกก้าวหน้าไปทุกวัน เพราะฉะนั้นการยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ จะทำให้เขารู้สึกว่าเราไม่ได้ต่อต้าน หรือขัดแย้งเขาเสมอไป จะทำให้เขายอมเปิดรับบางส่วนในสิ่งที่เขาไม่เข้าใจตั้งแต่ต้นเสียอีก แล้วเขาก็จะเห็นว่าสิ่งใหม่ๆ ก็ไม่ได้แย่และเลวร้ายเสมอไปผู้ใหญ่บางคนถึงกับเปลี่ยนความคิดเลยก็มี

  1. ก้าว ไปพร้อมกัน

การที่คิดจะเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่างถ้าหากเราเดินไปเป็นกลุ่มเล็กหรือส่วนน้อย สิ่งนั้นจะกลายเป็นความหวังลมๆ แล้งๆ ทันที การเปลี่ยนแปลงจะต้องได้รับแรงสนับสนุนจากรากฐาน ซึ่งเป็นสิ่งที่มั่นคงและเปรียบเหมือนแรงส่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเรื่องต่างๆ แต่จะทำอย่างไรเมื่อเขาไม่ยอม? เราก็ต้องค่อยๆ นำสิ่งใหม่เหล่านั้นปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวิถีการปฏิบัติที่เขาเคยทำและเคยเป็น จะทำให้เห็นว่าสิ่งที่เขาเคยทำและยึดถือมามันไม่ได้หายไปไหน

  1. ใช้ความประหลาดให้เกิดประโยชน์

รากฐานอีกอย่างหนึ่งของมนุษย์ที่น่าสนใจคือ การเรียนรู้ ทุกคนคงเคยได้ยินคำว่า “ไม่แก่เกินเรียน” แน่นอนว่าหากเราสันหาสิ่งใหม่ๆ หรือสิ่งที่เขาไม่เคยได้รับรู้ไปนำเสนอในรูปแบบที่เขามองว่า สิ่งนั้นจะปรับเปลี่ยนชีวิต หรือทำให้เขารู้สึกว่าใช้ชีวิตให้สะดวกมากขึ้น แต่สิ่งนั้นจะเกิดขึ้นได้เราก็จะต้องเปิดใจให้โอกาส พูดคุยถึงประโยชน์และความเปลี่ยนแปลง ให้เขาได้ลองใช้ ลองทำ เขาก็จะพบและเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ว่าสิ่งนั้นจำเป็นต่อเขามากแค่ไหน

  1. ค้านด้วยหลักฐานและสติ

ถึงแม้ผู้ใหญ่บางคนจะไม่ฟังความคิดและไม่สนใจความถูกต้อง แต่การมีหลักฐานและเหตุผลจะทำให้เกิดการคิดทบทวนอีกรอบเสมอ แต่จะต้องไม่ใช้อารมณ์ในการคัดค้านเรื่องเรื่อง นั้นจะทำให้เขารู้สึกว่าเราก้าวร้าวและเขาก็เลือกที่จะไม่ฟังเพราะพื้นฐานของเขาที่ถูกปลูกฝังในชีวิตมาคือเด็กต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่ และไม่ก้าวร้าวเพราะเราต้องเคารพผู้ที่มีอายุสูงกว่าเพราะเขาผ่านอะไรมามากกว่าเราเยอะ การใช้อารมณ์คุยจะถูกมองว่าเราไม่เคารพและเชื่อฟัง เพราะฉะนั้นเราจึงต้องนำหลักฐานที่แน่ชัดที่เขาจะมองเห็นว่าสิ่งนั้นมันเป็นจริงอย่างที่เราพูด เพราะเขาก็ถูกสอนมาอีกเหมือนกันว่า “สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น”

 

ไม่ว่าจะคนรุ่นใหม่ หรือคนรุ่นเก่า ทุกคนก็ย่อมมีความคิดที่เชื่อว่าสิ่งที่ตนเชื่อนั้นดีที่สุด อยู่ที่ว่าสิ่งที่เชื่อจะสร้างความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีมากหรือน้อยแค่ไหน บางอย่างเก่าไปก็จะทำให้พบปัญหาอีกมากมายต่อการปรับปรุงเพราะใช้กับคนรุ่นใหม่ไม่ได้ บางอย่างใหม่ไปก็ทำให้ไม่มั่นใจว่าข้างหน้าจะต้องเจอกับอะไรกลัวว่าจะถูกหลอก แต่ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับตัวพวกคุณเองว่าจะเลือกปรับปรุง ซ่อมแซมกับสิ่งเดิมๆ หรือจะเผชิญกับสิ่งใหม่ๆข้างหน้า

สุดท้ายเราก็มนุษย์ไม่ต่างกัน คนหัวโบราณวันนี้ก็เคยเป็นคนรุ่นใหม่เมื่อสมัยก่อน คนหัวสมัยใหม่ตอนนี้ ก็จะกลายเป็นคนเก่าคนแก่ในวันหน้า การหาทางออกร่วมกัน ปรับเข้าหากัน ยอมรับความต่างซึ่งกันและกัน เป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่จะช่วยถม “ช่องว่างระหว่างวัย” ได้

 

 

kinyupen